คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: The National Broadcasting and Telecommunication Commission) หรือ กสทช. (NBTC) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
National Broadcasting and Telecommunication Commission | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (14 ปี) |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
สำนักงานใหญ่ | 87 ซอยพหลโยธิน 8 (สายลม) ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | https://www.nbtc.go.th/ |
เชิงอรรถ | |
เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
สำนักงาน กสทช. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
ประวัติ
แก้กรมไปรษณีย์โทรเลข
แก้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ การจัดตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกันการสื่อสารทางโทรเลขเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมโทรเลขขึ้นด้วย โดยได้รับช่วงงานโทรศัพท์จากกรมกลาโหม ต่อมากิจการไปรษณีย์และโทรเลขต้องอาศัยซึ่งกันและกัน มีความสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมทั้งสองเข้าด้วยกันเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีพระองค์แรก[1]
นับแต่นั้นมากิจการไปรษณีย์โทรเลขทั้งในและต่างประเทศได้เจริญพัฒนามาเป็นลำดับ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของการติดต่อสื่อสารทั่วราชอาณาจักร หลังจากที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ (UPU) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ทำให้มีการประสานงานเชื่อมต่อการให้บริการระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีบริการหลัก 3 ด้าน ได้แก่ บริการไปรษณีย์ บริการการเงิน และบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะส่วนงานด้านโทรคมนาคมมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารหลายฉบับ แต่ฉบับหลักคือพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ. 2477 ส่งผลให้มีการปรับองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพการณ์หลายครั้ง และมีการแยกงานสำคัญ ๆ ออกไปจัดตั้งเป็นหน่วยบริการหลายหน่วย เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นมีโอกาสพัฒนาสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์กรและสนองตอบความต้องการของประชานชนได้อย่างเพียงพอ ได้แก่
- งานวิทยุกระจายเสียงในประเทศ โอนไปขึ้นกับกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ขึ้นกับกรมประชาสัมพันธ์) เมื่อปี พ.ศ. 2482
- กิจการของกองคลังออมสิน แยกออกไปจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน เมื่อปี พ.ศ. 2489
- กิจการวิทยุการบินพลเรือน แยกออกไปจัดตั้งเป็น บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2491[2]
- กิจการโทรศัพท์ในประเทศ แยกออกไปจัดตั้งเป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ต่อมาคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และได้ควบรวมกิจการกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564) เมื่อปี พ.ศ. 2497[3]
ต่อมาเมื่อมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 จึงมีการแยกส่วนงานของกรมไปรษณีย์โทรเลขอีกครั้ง คือ[1]
- งานระดับปฏิบัติการทางด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม แยกไปขึ้นอยู่กับรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ซึ่งต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ได้แยกออกเป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ควบรวมกิจการกับทีโอที จัดตั้งเป็น บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564)) ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการด้านการสื่อสารแก่สาธารณะ ทั้งบริการไปรษณีย์ โทรคมนาคม และบริการการเงิน
- กรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบงานนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ งานนโยบาย งานวิชาการ งานวิจัยพัฒนา และงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศ
กทช. และ กสช.
แก้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 (พ.ร.บ. กสท. 2543) จึงมีการโอนกิจการของกรมไปรษณีย์โทรเลขไปสู่สำนักงานคณะกรรมการจำนวน 2 องค์กร ดังต่อไปนี้
- 19 มกราคม พ.ศ. 2545 มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พุทธศักราช 2545 กรมฯ จึงโอนถ่ายบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานทั้งหมด ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช.) ส่วนในด้านกิจการไปรษณีย์ และเงินงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในมาตรา 82, 83, 84
- ส่วนในด้านของกรมประชาสัมพันธ์ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ งบประมาณ การปฏิบัติงานทั้งหมด ในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (สำนักงาน กสช.) ส่วนในด้านงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ให้ยังคงไว้กับกรมประชาสัมพันธ์อยู่เช่นเดิม ในมาตรา 85, 86
ทั้งนี้ หลังจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ถูกยุบเลิกเป็น สำนักงาน กทช. ตามพระราชกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้มีการโอนกิจการไปรษณีย์ทั้งหมดที่เหลืออยู่ไปขึ้นกับ บจก.ไปรษณีย์ไทยในทันที หลังวันเปลี่ยนผ่านไปสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นต้นไป (ทั้งนี้ การแปรสภาพโดยสมบูรณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) ส่วนงานโทรเลขก็ได้ดำเนินการจนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 โดย กสท โทรคมนาคม ได้ว่าจ้างไปรษณีย์ไทยให้เป็นผู้ดำเนินการ[4]
กสทช.
แก้แต่ต่อมา พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ. กสทช. 2553) มีการประกาศบังคับใช้ ทำให้มีการรวมคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด คือ กทช. และ กสช. ไปจัดตั้งใหม่เป็น กสทช. แทน และในวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้บังคับใช้ พ.ร.บ. กสทช. 2553 จึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงสำนักงาน กทช. มาเป็นสำนักงาน กสทช. ขึ้นมาดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน[5]
ในปีเดือนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้ง นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 13/2564 เรื่องการจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6)
องค์กรและหน่วยงานในกำกับปัจจุบัน
แก้- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of National Broadcasting and Telecommunications Commission) หรือ สำนักงาน กสทช. - เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเป็นสำนักงานเลขานุการของ กสทช. ที่มีชื่อเดิมคือ กรมไปรษณีย์โทรเลข และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช.) ตามลำดับ ซึ่ง พ.ร.บ. กสท. 2543 บัญญัติให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปเป็นของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ชื่อในขณะนั้น) รวมทั้งข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข ปัจจุบันสำนักงาน กสทช. มีเลขาธิการ กสทช. เป็นผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน และรายงานขึ้นตรงต่อ ประธาน กสทช.[6]
- สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. - เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ขึ้นตรงกับ สำนักงาน กสทช. ซึ่งมีสถานีวิทยุในบางจังหวัดของประเทศ สำหรับสถานีส่วนกลางที่กรุงเทพมหานครนั้น ส่งกระจายเสียงในระบบวีเอชเอฟ ภาค เอฟ เอ็ม ความถี่ 98.5 MHz และ 106.5 MHz ภาค เอ เอ็ม ความถี่ 1035 KHz และ 1089 KHZ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้จนถึงปริมณฑล และบริเวณที่ใกล้เคียงแต่ในขณะนี้ทางสถานีฯได้ให้เอกชนเช่าคลื่นความถี่และสัมปทานอยู่
องค์กรและหน่วยงานในกำกับที่ถูกยกเลิก (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2553)
แก้- สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (อังกฤษ: Telecommunications Research and Industrial Development Institute) หรือ สพท. - จัดตั้งขึ้นโดย กทช. ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของ สำนักงาน กทช. เพื่อดำเนินการตามภารกิจของอำนาจหน้าที่ใน พ.ร.บ. กสท. 2543 มาตรา 51 (15) และ (16) กล่าวคือ การส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง[7]
- สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (อังกฤษ: Telecommunications Consumer Protection Institute) หรือ สบท. - จัดตั้งขึ้นโดย กทช. ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2[8] (ได้โอนย้ายพนักงานเข้าส่วนงานต่างๆ ในฐานะพนักงานสัญญาจ้าง)
คณะกรรมการ
แก้รายนามประธานกรรมการและคณะกรรมการในอดีต
แก้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
แก้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติมีทั้งหมด 7 คน ดำรงตำแหน่งได้วาระเดียวนาน 6 ปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปี ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวนสามคนโดยวิธีจับสลาก [ต้องการอ้างอิง]
- พลเอก ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ - อดีตประธานกรรมการ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 28 กันยายน พ.ศ. 2550)
- ศาสตราจารย์ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 28 กันยายน พ.ศ. 2550)
- เหรียญชัย เรียววิไลสุข (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 28 กันยายน พ.ศ. 2550)
- ศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- สุชาติ สุชาติเวชภูมิ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- อาทร จันทวิมล (24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) - ลาออก
- สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร (พ.ศ. 2553 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- รองศาสตราจารย์ ดร.พนา ทองมีอาคม (พ.ศ. 2553 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- พันเอก นที ศุกลรัตน์ (พ.ศ. 2553 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- บัณฑูร สุภัควณิช (พ.ศ. 2553 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
แก้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554[9]
- ศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
- สุชาติ สุชาติเวชภูมิ
- รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม
- สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร
- รองศาสตราจารย์ ดร.พนา ทองมีอาคม
- พันเอก นที ศุกลรัตน์
- บัณฑูร สุภัควณิช
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
แก้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีชื่อเรียกในอดีตว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต่อมาเมื่อมีการตรากฎหมาย พ.ร.บ. กสทช. 2553 ขึ้นทูลเกล้าและโปรดเกล้าฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนเรียกว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553[10]
ตาม พ.ร.บ. กสทช. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการอีก 2 ชุด ภายใต้โครงสร้างของ กสทช. คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการกระกอบกิจการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนั้น ให้แต่งตั้งจากคณะกรรมการ กสทช. โดยให้รองประธาน กสทช. คนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กสท. และรองประธาน กสทช. อีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน กทค. โดยให้กรรมการ กสทช. ที่มิได้เป็นประธานและรองประธาน กสทช. ที่เหลืออีก 8 คน ทำหน้าที่เป็นกรรมการ กสท. 4 คน และอีก 4 คน ทำหน้าที่กรรมการ กทค. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้คณะกรรมการ กสทช. มีเพียงชุดเดียว คณะกรรมการ2 ชุดเดิม ได้เปลี่ยนเป็นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯแทน
รายนามประธานกรรมการและคณะกรรมการ กสทช. (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557)
แก้- พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี - ประธาน กสทช.
- พันเอก นที ศุกลรัตน์ - รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.
- พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ - รองประธาน กสทช. และประธาน กทค.
- พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร - กสทช. และ กทค.
- พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ งามสง่า - กสทช. และ กสท.
- พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ - กสทช. และ กสท.
- รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ - กสทช. และ กทค.
- นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา - กสทช. และ กทค.
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ - กสทช. และ กสท.
- สุทธิพล ทวีชัยการ - กสทช. และ กทค. ได้ลาออก
- นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา - กสทช. และ กทค.
- สุภิญญา กลางณรงค์ - กสทช. และ กสท.
รายนามประธานกรรมการและคณะกรรมการ กสทช. (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560)
แก้- พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร- ประธาน กสทช.[11]
- พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ - รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.
- พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ - รองประธาน กสทช. และประธาน กทค.
- พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ - กสทช. และ กสท.
- รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ - กสทช. และ กทค.
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ - กสทช. และ กสท.
- นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา - กสทช. และ กทค.
- สุภิญญา กลางณรงค์ - กสทช. และ กสท. ได้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560
รายนามประธานกรรมการและคณะกรรมการ กสทช. (10 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2566)
แก้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2561[12] ส่งผลให้รายนามประธานกรรมการและคณะกรรมการ กสทช.เป็นดังต่อไปนี้ ต่อมา วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ลาออกจากตำแหน่งรองประธาน กสทช. และประธาน กทค.[13]
- พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร- ประธาน กสทช.
- พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ - รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.
- พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ - กสทช. และ กสท.
- รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ - กสทช. และ กทค.
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ - กสทช. และ กสท.
- นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา - กสทช. และ กทค.
ผู้บริหาร สำนักงาน กสทช. พ.ศ. 2566
แก้- ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.[14]
- พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. (ด้านกิจการกระจายเสียง)
- ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. (ด้านกิจการโทรทัศน์)
- ต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ กสทช. (ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ กสทช. (ด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.(ข) ด้านเศรษฐศาสตร์)
- พลตำรวจเอก ดร. ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการ กสทช. (ด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.(ก) ด้านกฎหมาย)
- รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กรรมการ กสทช. (สายงานกิจการโทรคมนาคม)
กทปส.
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (เมษายน 2024) |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติกิจการไปรษณีย์ไทย". ไปรษณีย์ไทย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. "ประวัติความเป็นมา". สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อดีตถึงปัจจุบัน". ทีโอที. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปิดตำนานบริการโทรเลข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "ประกาศ กสทช. เรื่อง เปลี่ยนแปลงสำนักงาน กทช. เป็น สำนักงาน กสทช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
- ↑ ""ประวัติสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ "". สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-03. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม - ความเป็นมา"". สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ""ระเบียบการจัดตั้งสถาบัน"". สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ http://www.nbtc.go.th/phocadownload/notification/notification-onbtc001.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.nbtc.go.th/phocadownload/notification/notification-onbtc001.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ บอร์ด กสทช.เลือก 'สุกิจ'นั่งประธาน
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/093/11.PDF
- ↑ http://www.thansettakij.com/content/330469
- ↑ บอร์ด กสทช. ตั้ง “ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ” นั่งรักษาการเลขาธิการ