เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารชาวไทยและนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก, รองผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 | |
เสนาธิการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี |
ถัดไป | พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2506 อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี |
ศิษย์เก่า | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองบัญชาการกองทัพไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา |
การศึกษา
แก้การศึกษาก่อนเข้ารับราชการทหาร
แก้- โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 32
การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว
แก้หลักสูตรทางทหาร
แก้- หลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 128
- หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 73
- หลักสูตรปฐมนิเทศนายทหารใหม่ (จปร.) รุ่นที่ 7
- หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 2
- หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 33
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 72
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 59
การรับราชการทหาร
แก้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ท่านมีส่วนในการเขียนแผน “จักรพงษ์ภูวนาถ” ในการศึกเขาพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2554 เคยเข้ารับการฝึกหลักสูตรนายทหารสัญญาบัตรหน่วยทหารรักษาพระองค์เป็นระยะเวลา 3 เดือน และได้เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904 ในตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904
พล.อ. เฉลิมพล รับราชการช่วงแรก ๆ พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ "ร้อยตรี"ในปี พ.ศ. 2528 และได้รับตำแหน่ง ผู้บังคับหมวด กองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 22 และพล.อ. เฉลิมพล เคยได้รับตำแหน่ง
- ผู้บังคับการทหารม้า
- ผู้บังคับการกองร้อยลาดตระเวน
- นายทหารยุทธการและการฝึก
ในขณะที่ได้ยศร้อยโท และร้อยเอก ตอนที่ พล.อ. เฉลิมพลได้ยศ"พันตรี"ในปี พ.ศ. 2541 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่ง
- ฝ่ายอำนวยการที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 27
- อาจารย์ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง ฝ่ายอากาศ ฝ่ายยุทธการ กองพลทหารม้าที่ 2
- รองผู้บังคับการ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
ตอนที่ พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พันโท"ในปี พ.ศ. 2547 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่ง
- หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารม้าที่ 2
- ผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 25 รักษาพระองค์
- หัวหน้ากองกรมยุทธการทหารบก (พล.อ. เฉลิมพล เริ่มดำรงตำแหน่งในกรมยุทธการทหารบกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งตำแหน่งนั้นก็คือหัวหน้ากอง)
และในปี พ.ศ. 2547 พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พันเอก"และได้รับตำแหน่ง
- ฝ่ายเสนาธิการ ประจำกรมยุทธการทหารบก
- นายทหารปฏิบัติการ ประจำกรมยุทธการทหารบก
- ผู้อำนวยการกอง กรมยุทธการทหารบก
- เสนาธิการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
- รองผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
และในปี พ.ศ. 2558 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายพลและได้ยศ"พลตรี"ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และในปี พ.ศ. 2560 พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พลโท"และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบกและในปี 2561 ก็ได้ย้ายไปเป็นรองเสนาธิการทหารบกและตอนกลางปี 2562 พล.อ. เฉลิมพล ได้จากรองเสนาธิการทหารบกไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกและได้รับยศเป็นพลเอก ที่ย้ายจากรองเสนาธิการทหารบกไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒินั้นเพื่อที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารใน ตุลาคม 2562 จนกระทั่งในปี 2563 มีพระบรมราชโอการโปรดเกล้า ฯ ให้ พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 35 ของไทย อีกทั้งพลเอกเฉลิมพลยังได้รับราชการพิเศษด้วยเช่นราชองครักษ์เวร, ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ, นายทหารพิเศษประจำหน่วย กองพันทหารม้าที่ 27 รักษาพระองค์
ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. เฉลิมพล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ดำรงตำแหน่งกรรมการ ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด–19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ยศทางทหาร
แก้- พ.ศ. 2528 : ร้อยตรี | คำสั่ง กห ที่ 109/28 ลง 15 ก.พ. 28
- พ.ศ. 2528 : ร้อยโท[1]
- พ.ศ. 2531 : ร้อยเอก[2]
- พ.ศ. 2534 : พันตรี[3]
- พ.ศ. 2541 : พันโท[4]
- พ.ศ. 2547 : พันเอก[5]
- พ.ศ. 2550 : พันเอก (พิเศษ) | คำสั่ง ทบ. (ฉ) ที่ 349/50 ลง 30 มี.ค. 50
- พ.ศ. 2558 : พลตรี[6]
- พ.ศ. 2560 : พลโท[7]
- พ.ศ. 2562 : พลเอก[8]
- พ.ศ. 2564 : พลเรือเอก, พลอากาศเอก[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[14]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2566 – เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[15]
- บรูไน :
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เคอเบอเรเนียน ไลลา เทอร์บิลัง ชั้นที่ 1[16]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2567 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[17][18]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร หน้า ๑๙๙ เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๖๕, ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๘๗ เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๙๓, ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร หน้า ๑๕๐ เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑, ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นต่ำกว่านายพล เก็บถาวร 2018-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๘๔ เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๔ข, ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นต่ำกว่านายพล หน้า ๖๑ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๗ข, ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๓๓๕ หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๒ข, ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๑๕๖ หน้า ๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๒ข, ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๒๒ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖ข, ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ หน้า ๓ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๖ ข, ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ หน้า ๒๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ "'บิ๊กแก้ว' รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ MINDEF Singapore. Top Military Award Conferred on Thai Chief of Defence Forces เก็บถาวร 2023-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เมื่อ 5 กรกฏาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฏาคม 2566
- ↑ วาสนา นาน่วม ผบ.ทหารสูงสุด ร่วมพิธีสวนสนามรักษาพระองค์ ของกองทัพบรูไนเฉลิมพระเกียรติ 77 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน. เมื่อ 17 กรกฎาคม 2566. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2566
- ↑ กองบัญชาการกองทัพไทย, พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ Legion of Merit (Degree of Commander) จาก พล.ร.อ. จอห์น ซี อากีลีโน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด – แปซิฟิก
- ↑ U.S. INDOPACOM Commander Presents Legion of Merit to Royal Thai Armed Forces Gen. Chalermphon
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รู้จัก! 'บิ๊กแก้ว' ทหารม้า ครบเครื่อง ‘บู๊-บุ๋น’ เก็บถาวร 2020-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ผบ.ทสส. รับ-ส่งหน้าที่ “บิ๊กแก้ว” ให้คำมั่น จะทำให้ทัพไทยเป็นหลักประกันให้ปท.ชาติ เก็บถาวร 2021-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566) |
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี |