เจมส์ แคเมอรอน
เจมส์ แฟรนซิส แคเมอรอน (อังกฤษ: James Francis Cameron;[1] เกิด 16 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนาดา[2][3] หลังจากทำงานด้านเทคนิคพิเศษ เขาก็ประสบความสำเร็จหลังกำกับและเขียนบทภาพยนตร์แนวโลดโผนบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์เรื่อง ฅนเหล็ก 2029 (1984) เขากลายเป็นผู้กำกับยอดนิยมในฮอลลีวูดและถูกว่าจ้างให้เขียนบทและกำกับ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) สามปีต่อมาก็กำกับภาพยนตร์เรื่อง ดิ่งขั้วมฤตยู (1989) เขาได้รับคำชมจากการใช้เทคนิคพิเศษใน ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (1991) หลังภาพยนตร์ คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ (1994) แคเมอรอนถ่ายทำภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในเวลานั้นก็คือ ไททานิค (1997) ซึ่งทำให้เขาได้รับ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และลำดับภาพยอดเยี่ยม
เจมส์ แคเมอรอน | |
---|---|
แคเมอรอนใน ค.ศ. 2016 | |
เกิด | เจมส์ แฟรนซิส แคเมอรอน สิงหาคม 16, 1954 คาพุสคาซิง รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยฟูลเลอร์ตัน |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1978–ปัจจุบัน |
คู่สมรส |
|
บุตร | 4 คน |
หลังจาก ไททานิค แคเมอรอนเริ่มโครงการที่ต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการสร้าง นั้นก็คือภาพยนตร์แนวมหากาพย์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์เรื่อง อวตาร (2009) โดยถือเป็นหลักสำคัญของเทคโนโลยีสามมิติและเขาได้รับการเสนอชื่อรางวัลออสการ์สามสาขาเดิม ถึงแม้ว่า อวตาร จะเป็นภาพยนตร์เดียวของเขาที่ถ่ายทำในระบบสามมิติ แต่ก็ทำให้แคเมอรอนเป็นผู้สร้างภาพยนตร์สามมิติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศ[4] ในช่วงเวลาระหว่างการสร้าง ไททานิค และ อวตาร แคเมอรอนใช้เวลาหลายปี สร้างภาพยนตร์สารคดีมากมาย (โดยเฉพาะสารคดีใต้น้ำ) และร่วมพัฒนา ระบบกล้องฟิวชัน ดิจิทัลสามมิติ นักเขียนชีวประวัติกล่าวว่า แคเมอรอนเป็นกึ่งนักวิทยาศาสตร์และกึ่งศิลปิน[5] แคเมอรอนยังให้การสนับสนุนเทคโนโลยี การถ่ายทำใต้น้ำ และการควบคุมยานพาหนะจากระยะไกล[2][3][6] เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2012 แคเมอรอนดำน้ำลงไปถึงจุดที่ลึกที่สุดของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ด้วยเรือดำน้ำ ดีพซีชาลเลนเจอร์[7][8][9] เขาเป็นคนแรกที่ทำได้ในการดำลงไปคนเดียวและเป็นคนที่สามจากการดำทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2010 นิตยสาร ไทม์ ได้ยกให้แคเมอรอนเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก[10] แคเมอรอนกลายเป็นผู้กำกับคนแรกในประวัติศาสตร์ที่มีภาพยนตร์สามเรื่องทำเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ได้แก่ ไททานิค, อวตาร และ อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ) ทั้งยังเป็นผู้กำกับคนแรกที่เงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงเป็นผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ภาคต่อที่ทำเงินสูงสุดในประวัติศาสตร์ (อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ)
ผลงานภาพยนตร์
แก้ปี | เรื่อง | สตูดิโอ |
---|---|---|
1982 | ปิรันย่า 2: ปลาปีศาจพันธุ์สยอง (Piranha II: The Spawning) | โคลัมเบีย พิกเจอส์ |
1984 | ฅนเหล็ก 2029 (The Terminator) | โอไรออน พิกเจอส์ |
1986 | เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก (Aliens) | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ |
1989 | ดิ่งขั้วมฤตยู (The Abyss) | |
1991 | ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (Terminator 2: Judgment Day) | ไตรสตาร์ พิกเจอส์ |
1994 | คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ (True Lies) | ยูนิเวอร์แซล พิกเจอส์ / ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ |
1997 | ไททานิก (Titanic) | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ / พาราเมาต์ พิกเจอส์ |
2009 | อวตาร (Avatar) | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ |
2022 | อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (Avatar: The Way of Water) | ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ |
2025 | อวตาร 3 (Avatar 3) | |
2029 | อวตาร 4 (Avatar 4) |
ผลตอบรับ
แก้ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 9 เรื่องของ เจมส์ แคเมอรอน
ปี | เรื่อง | รอตเทนโทเมโทส์[11] | เมทาคริติก[12] | ไอเอ็มดีบี[13] | ทุนสร้าง | รายได้ทั่วโลก | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1982 | ปิรันย่า 2: ปลาปีศาจพันธุ์สยอง | 5% (3.30/10) (19 รีวิว) | 15 (5 รีวิว) | 3.8 (9,329) | $145,786 | $389,106 | |
1984 | ฅนเหล็ก 2029 | 100% (8.80/10) (67 รีวิว) | 84 (21 รีวิว) | 8.1 (889,988) | $6,400,000 | $78,680,331 | |
1986 | เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก | 98% (9.10/10) (82 รีวิว) | 84 (22 รีวิว) | 8.4 (735,520) | $18,500,000 | $183,300,764 | |
1989 | ดิ่งขั้วมฤตยู | 88% (7.30/10) (51 รีวิว) | 62 (14 รีวิว) | 7.5 (184,427) | $70,000,000 | $90,000,098 | |
1991 | ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 | 91% (8.40/10) (85 รีวิว) | 75 (22 รีวิว) | 8.6 (1,128,617) | $102,000,000 | $520,884,847 | |
1994 | คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ | 70% (6.60/10) (54 รีวิว) | 63 (17 รีวิว) | 7.3 (270,912) | $115,000,000 | $378,882,411 | |
1997 | ไททานิก | 88% (8.00/10) (253 รีวิว) | 75 (35 รีวิว) | 7.9 (1,227,851) | $200,000,000 | $2,257,844,554 | |
2009 | อวตาร | 82% (7.50/10) (336 รีวิว) | 83 (38 รีวิว) | 7.9 (1,350,828) | $237,000,000 | $2,923,706,026 | |
2022 | อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | 76% (7.10/10) (437 รีวิว) | 67 (68 รีวิว) | 7.6 (425,226) | $350,000,000 | $2,320,250,281 | |
เฉลี่ย และ รวม | 78% (7.34/10) | 68 | 7.5 | $1.099 พันล้าน | $8,753,938,418 |
0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ 60–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ
สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก
$ ดอลลาร์สหรัฐ
รางวัล
แก้จำนวนรางวัลที่เข้าชิงและได้รับจากภาพยนตร์ของ เจมส์ แคเมอรอน
ปี | เรื่อง | รางวัลออสการ์ | รางวัลแบฟตา | รางวัลลูกโลกทองคำ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | ||
1986 | เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก | 7 | 2 | 4 | 1 | 1 | |
1989 | ดิ่งขั้วมฤตยู | 4 | 1 | ||||
1991 | ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 | 6 | 4 | 3 | 2 | ||
1994 | คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ | 1 | 1 | 1 | 1 | ||
1997 | ไททานิก | 14 | 11 | 10 | 8 | 4 | |
2009 | อวตาร | 9 | 3 | 8 | 2 | 4 | 2 |
2022 | อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | 4 | 1 | 2 | 1 | 2 | |
ทั้งหมด | 45 | 22 | 28 | 6 | 16 | 7 |
อ้างอิง
แก้- ↑ Space Foundation. (n.d.). America's vision: The case for space exploration, p. 42. Retrieved December 12, 2009.
- ↑ 2.0 2.1 Sony (2009). James Cameron returns to the abyss with Reality Camera System. Retrieved December 25, 2009.
- ↑ 3.0 3.1 Thompson A (2009). "The innovative new 3D tech behind James Cameron's Avatar". Fox News. Retrieved December 25, 2009.
- ↑ Glenday, Craig (2013). Guinness Book of Records. p. 204. ISBN 978-1-908843-15-9.
- ↑ Milian, Mark; Rebecca Keegan (December 10, 2009). "James Cameron biographer says the 'Avatar' director is half scientist, half artist[Updated]". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ January 5, 2010.
- ↑ Parisi P (1998). Titanic and the making of James Cameron: The inside story of the three-year adventure that rewrote motion picture history. New York: Newmarket. Partial text. Retrieved January 5, 2010.
- ↑ Than, Ker (March 25, 2012). "James Cameron Completes Record-Breaking Mariana Trench Dive". National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ Broad, William J. (March 25, 2012). "Filmmaker in Submarine Voyages to Bottom of Sea". New York Times. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ AP Staff (March 25, 2012). "James Cameron has reached deepest spot on Earth". MSNBC. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ "The 2010 TIME 100". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 2018-05-08.
- ↑ "เจมส์ แคเมอรอน". รอตเทนโทเมโทส์.
- ↑ "เจมส์ แคเมอรอน". เมทาคริติก.
- ↑ "เจมส์ แคเมอรอน". ไอเอ็มดีบี.