เครื่องบินสกัดกั้น

เครื่องบินสกัดกั้น (ภาษาอังกฤษ Interceptor) เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ออกแบบมาเพื่อทำการสกัดกั้นและทำลายอากาศยานของข้าศึกโดยเฉพาะเครื่องบินทิ้งระเบิด กับ เครื่องบินสอดแนม โดยปกติแล้วมักมีจุดเด่นเป็นความเร็วสูง การไต่ระดับเพดานบินที่สูงและรวดเร็ว เครื่องบินแบบนี้จำนวนมากเริ่มผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและสิ้นสุดลงในปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อพวกมันมีความสำคัญน้อยลงเพราะมีการนำขีปนาวุธข้ามทวีปมาทำหน้าการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ และ จรวดพื้นสู่อากาศ ที่ทำหน้าที่ได้ดีกว่าเครื่องบินสกัดกั้นที่ใช้เชื้อเพลิงนํ้ามันมากและมีความเร็วที่ช้ากว่า

มิก-25 'ฟอกซ์แบท'เป็นเครื่องบินสกัดกั้นของรัสเซียซึ่งเป็นเสาหลักในการป้องกันทางอากาศของโซเวียต

การออกแบบ

แก้
 
I.Ae. 37

เครื่องบินสกัดกั้นนั้นมีอยู่สองประเภทโดยแบ่งออกตามการทำงาน แบบแรกคือเครื่องบินสกัดกั้นป้องกันเฉพาะบริเวณซึ่งออกแบบมาเพื่อวิ่งขึ้นและไต่ระดับไปถึงความสูงของเครื่องบินเป้าหมายได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สิ่งนี้คือความจำเป็นในสมัยที่เรดาร์มีระยะที่จำกัด ซึ่งหมายความว่าฝ่ายป้องกันมีเวลาที่จำกัดก่อนที่จะเข้าโจมตีศัตรู แบบที่สองคือเครื่องบินสกัดกั้นป้องกันพื้นที่เป็นแบบที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อป้องกันพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นแค่ในช่วงสงครามเย็นเมื่อสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตต้องการที่จะสร้างพื้นที่ป้องกันให้ได้มาก

ทั้งสองประเภทลดความสามารถในการครองความได้เปรียบทางอากาศ (กล่าวคือไม่สนในการต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่) ด้วยการเพิ่มความเร็วในการไต่ระดับและความเร็ว ผลที่ได้คือเครื่องบินสกัดกั้นที่มักดูน่าประทับใจในกระดาษ โดยปกติแล้วจะเร็วกว่า ไต่ระดับเร็วกว่า มีกำลังมากกว่าเครื่องบินขับไล่ ถึงกระนั้นพวกมันก็มีแนวโน้มว่าอ่อนแอกว่าในการต่อกรกับเครื่องบินขับไล่เพราะความคล่องตัวของมันนั่นเอง

ในทศวรรษที่ 1970 เครื่องบินสกัดกั้นอเนกประสงค์ได้ลดบทบาทลงจนกลายเป็นเครื่องบินขับไล่ นอกจากนั้นมันเป็นที่โต้เถียงกันว่าการเปลี่ยนแปลงของมหาภัยแห่งยุค คืออาวุธนิวเคลียร์ที่มากับเครื่องบินทิ้งระเบิดได้มาอยู่ในรูปแบบของขีปนาวุธ ทำให้เครื่องบินสกัดกั้นไร้ซึ่งเป้าหมายของมัน ในปัจจุบันภารกิจสกัดกั้นมักทำหน้าที่โดยเครื่องบินขับไล่ ตัวอย่างเช่น เอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนของกองทัพอากาศสหรัฐ ยกเว้นสหภาพโซเวียตที่ยังคงมีเครื่องบินสกัดกั้นจำนวนมากเพื่อป้องกันพื้นที่มหาศาลและชายฝั่งที่น้อยนิด และอาจรวมทั้งสหราชอาณาจักรที่ได้ดัดแปลงกองบินพานาเวีย ทอร์นาโดในทศวรรษที่ 1980 และยังคงใช้พวกมันในขณะที่รอคอยยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูนที่จะมาในปีพ.ศ. 2548 ยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูนได้เข้ามาทำหน้าที่สกัดกั้นและทอร์นาโดก็ทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศและโจมตี

ป้องกันเฉพาะบริเวณ

แก้
 
อิงลิช อิเลคทริก ไลท์นิ่ง

เครื่องบินสกัดกั้นป้องกันเฉพาะจุด โดยเฉพาะในยุโรป ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเป้าหมายเฉพาะจุด พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อวิ่งขึ้นและไต่ระดับให้ได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อเข้าทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดศัตรู

เมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองเครื่องบินขับไล่หนึ่งเครื่องยนต์ส่วนใหญ่นั้นมีเชื้อเพลิงที่น้อยเกินไป พวกมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้น แต่บทบาทคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลนั้นก็ไม่ได้มีการคาดการเอาไว้เช่นกัน สิ่งนี้ได้พิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงสำหรับเครื่องบินขับไล่หนึ่งเครื่องยนต์ของเยอรมนีในยุทธการบริเตน ซึ่งสามารถคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดข้ามช่องแคบอังกฤษได้ แต่มีเชื้อเพลิงไม่มากพอในการต่อสู้และบินกลับฐานในฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้เองฝ่ายอังกฤษจึงไม่ค่อยมีปัญหาในการป้องกันนัก

เมื่อกองบัญชาการกองบินทิ้งระเบิดของอังกฤษเริ่มทำการทิ้งระเบิดใส่เยอรมนี ภารกิจส่วนใหญ่คือการบินในตอนกลางคืน โดยไร้การคุ้มกัน หรือคุ้มกันโดยเครื่องบินขับไล่กลางคืน เมื่อสงครามดำเนินต่อไปกองบัญชาการกองบินทิ้งระเบิดได้ทำการบินมากขึ้นในตอนกลางวัน สปิตไฟร์ถูกใช้ในบทบาทอื่น เครื่องจักรที่เก่ากว่าถูกนำไปทำหน้าที่ขับไล่ทิ้งระเบิด ทำงานในแนวหน้า ในขณะที่เครื่องจักรที่ใหม่กว่าทำหน้าที่ในการสกัดกั้น ต่อมาเครื่องสปิตไฟร์ก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์และทำหน้าที่สกัดกั้น[บจรวด วี1]] และเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมนี แบบที่ใหม่กว่าอย่างฮอว์คเกอร์ เทมเพสท์และพี-51 มัสแตงได้เข้ามาทำหน้าที่เครื่องบินขับไล่พิสัยไกล

เยอรมนีที่สูญเสียความสามารถทางอากาศของพวกเขาอย่างรวดเร็วเหนือเขตแดนของศัตรูในที่สุดก็หมดเครื่องบินขับไล่พิสัยไกลของพวกเขา พวกเขายังคงใช้บีเอฟ 109 ตลอดสงคราม ถึงแม้ว่ามันจะพัฒนามาจากเครื่องบินทิ้งระเบิดก็ตาม เยอรมนีขาดทรพยากรอย่างมากในการสร้างเครื่องบินสกัดกั้นและฝ่ายอเมริกาก็โจมตีพวกเขาทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อการทิ้งระเบิดมากขึ้นโดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2487 กองทัพอากาศเยอรมันได้พยายามใช้การออกแบบใหม่มากมายอย่างเมสเซอร์สมิต เอ็มอี 163 และแม้กระทั่งเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยสั้นอย่างแบกเฮม บีเอ 349 ส่วนใหญ่แล้วพวกมันใช้งานยากและมีผลต่อการทิ้งระเบิดน้อยมาก

 
เช็งยาง เจ-8
 
เอฟ-8 ครูเซเดอร์เข้าสกัดกั้นตูโปเลฟ ตู-95

ในสงครามเย็นเครื่องบินทิ้งระเบิดถูกคาดว่าจะเข้าโจมตีด้วยความสูงและความเร็วเหนือเสียง สิ่งนี้ทำให้การออกแบบเครื่องบินขับไล่เน้นไปที่การเร่งความเร็วและเพดานบินอย่างการผสมเครื่องยนต์จรวดเข้ากับเครื่องยนต์ไอพ่น แม้ว่าพวกมันจะไม่ได้ใช้งานก็ตาม การพัฒนาของเครื่องยนต์ไอพ่นทำให้จรวดหมดประโยชน์ไป และการออกแบบรุ่นใหม่ก็เป็นเครื่องยนต์ไอพ่นล้วนๆ รวมทั้งมิก-21 อิงลิช อิเลคทริก ไลท์นิ่ง และเอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ เครื่องบินชนิดนี้ทำให้เครื่องบินชนืดอื่นๆ เริ่มลดบทบาทมารวมกันเป็นเครื่องบินที่มีหลากบทบาทแทนและนั้นทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องบินเฉพาะทางอีกต่อไป

ตัวอย่างของเครื่องบินสกัดกั้นป้องกันเฉพาะบริเวณ

ป้องกันพื้นที่

แก้
 
ล็อกฮีด วายเอฟ-12

เครื่องบินสกัดกั้นป้องกันพื้นที่มักเป็นของอเมริกาเหนือหรือโซเวียต พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันพื้นที่ขนาดใหญ่จากการถูกโจมตี การออกแบบเน้นไปที่พิสัย ความสามารถในการใช้ขีปนาวุธ แบะเรดาร์ที่มีคุณภาพมากกว่าที่จะเน้นไปที่การเร่งและไต่ระดับ พวกมันมักใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยไกลหรือกลาง และมักไม่มีระเบิด

ในสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ทั้งกองทัพต้องพึ่งพาเครื่องบินชนิดนี้ เครื่องบินในกองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียตนั้นแตกต่างออกไปจากของกองทัพอากาศตรงที่พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับสนามบินเท่านั้น พวกมันไม่สามารถวิ่งขึ้นจากสนามหญ้า ไม่สามารถลากจากสนามบินหนึ่งไปอีกสนามบินหนึ่งผ่านที่โล่งไม่ได้ พวกมันไม่สามารถแยกชิ้นส่วนออกและนำไปซ่อมแซมที่ศูนย์ด้วยการขนส่งทางรถ และพวกมันมันมีเรดาร์ที่ทรงพลัง ในทำนองเดียวกันพวกมันไม่ได้มีการฝึกในแบบการต่อสู้ จึงไม่เหมาะกับการต่อสู้ทางอากาศ แต่จะได้รับการบอกเป้าของศัตรูทางวิทยุ เครื่องบินสกัดกั้นพื้นฐานได้แก่ ซุคฮอย ซู-9 ซุคฮอย ซู-15 และมิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 แบบที่ใหม่และก้าวหน้าที่สุดคือมิโคยัน มิก-31 ตูโปเลฟ ตู-28 ของโซเวียตเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเข้าประจำการมา

กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีเครื่องบินสกัดกั้นเฉพาะทาง แบบมากมายก่อนสงครามมีการทำงานที่จำกัดอย่างเอฟ-86 เซเบอร์และเอฟ-89 สกอร์เปี้ยน ในปลายทศวรรษที่ 1940 สหรัฐฯ เริ่มทำโครงการสร้างเครื่องบินสกัดกั้นที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากเครื่องบินในปีพ.ศ. 2497 ซึ่งในที่สุดก่อให้เกิดเอฟ-106 เดลต้า ดาร์ทหลังจากที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน เอฟ-106 สิ้นสุดการทำงานของมันในทศวรรษที่ 1980 เมื่อการทำงานของเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทอย่างเอฟ-15 อีเกิลนั้นดูจะเหนือกว่า

หลายประเทศยังมีการออกแบบเครื่องบินสกัดกั้นอย่างมากมาย อัฟโร แคนาดาได้ผลิตอัฟโร ซีเอฟ-100 ซึ่งคล้ายกับเอฟ-89 ซึ่งเข้าประจำการเป็นเวลานานในกองทัพอากาศแคนาดา การแทนที่ของอัฟโรคืออัฟโร แอร์โรว์นั้นถูกยกเลิกในทศวรรษที่ 1950 กองทัพอากาศอังกฤษได้ใช้งานกลอสเตอร์ เมเทโอและจากนั้นก็เป็นกลอสเตอร์ จาเวลิน แต่โอเปอร์เรชั่นแนล รีไควเมนท์ เอฟ.155 ที่จะเข้ามนแทนที่นั้นก็ไม่บรรลุผล ในที่สุดทอร์นาโด เอดีวีก็ปรากฏตัวในทศวรรษที่ 1980 และยังคงทำหน้าที่ของมันจนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างของเครื่องบินสกัดกั้นป้องกันพื้นที่

เพิ่มเติม

แก้