เกษตร โรจนนิล
พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ บิ๊กเต้ (27 สิงหาคม พ.ศ. 2476 – 3 เมษายน พ.ศ. 2567) เป็นนายทหารอากาศและนักการเมืองชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตประธานกรรมการ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัดและอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
เกษตร โรจนนิล | |
---|---|
เกษตร โรจนนิล ในปี พ.ศ. 2535 | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (2 ปี 303 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี |
ถัดไป | พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์ |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 116 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ถัดไป | พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476 |
เสียชีวิต | 3 เมษายน พ.ศ. 2567 (90 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงวันทนา โรจนนิล (เสียชีวิต) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย (จนถึงปี 2535) กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ประจำการ | พ.ศ. 2501 – 2536 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย (จนถึงปีพ.ศ. 2535) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ประวัติ
แก้พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476 พลอากาศเอก เกษตรจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 1 โรงเรียนการบิน รุ่นที่ น.25 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 18 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศรุ่นที่ 15 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร [1]
การทำงาน
แก้รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อครั้งอยู่ในยศ "นาวาอากาศเอก" ได้เป็นเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
จากนั้นหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2519 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2520
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ในปี พ.ศ. 2532
ในการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 พล.อ.อ. เกษตร นับเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทอย่างยิ่ง ด้วยการเป็นสมาชิกของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าคณะ และมีบทบาทในฐานะผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ต้องบัญชาการการควบคุมตัว พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สนามบินกองทัพอากาศ เพื่อให้การก่อการสำเร็จได้ด้วยดี
ราชการสงคราม
แก้ในปี พ.ศ. 2507 เมื่อครั้งยังครองยศเป็น"เรืออากาศเอก" ได้ปฏิบัติราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ในหน่วยบินวิคตอรี่ ชุดที่ 2 ผลัดที่ 1 ประจำการที่ฐานทัพอากาศเตินเซินเญิ้ตและซึ่งเป็นกองบัญชาการกองทัพอากาศสาธารณรัฐเวียดนาม[2]
การเมือง
แก้หลังจากนั้นมา พล.อ.อ. เกษตร ก็ได้มีบทบาทในทางการเมืองอย่างสูงผู้หนึ่ง โดยถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ให้การก่อตั้งและสนับสนุนพรรคสามัคคีธรรม ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นพรรคที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. อีกทั้งเป็นบุคคลที่ถูกมองว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป นับจากอานันท์ ปันยารชุน หาก พล.อ. สุจินดา คราประยูร ไม่รับตำแหน่ง ซึ่งเป็นความเชื่อที่อ้างอิงมาจากคำพูดของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ประธาณคณะ รสช.เองที่เคยกล่าวว่า
ถ้าสุไม่เอาก็ให้เต้
[3]และคำแถลงข่าวของ พล.อ. สุจินดา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2534 ที่กล่าวว่า
และที่พูดกันว่า พล.อ. สุจินดา จะเป็นนายกฯ มั่ง พล.อ.อ. เกษตร จะเป็นนายกฯ มั่ง ก็ขอยืนยันว่าทั้ง พล.อ. สุจินดา และพล.อ.อ. เกษตรนั้น จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี
[4]ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ได้บานปลายต่อมาจนกลายเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ในที่สุด
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.อ. เกษตร ถูกปลดจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารอากาศ ไปเป็นจเรทหารทั่วไป[5] และได้ยุติบทบาททางการเมืองไป และไม่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองอีกเลย
ทางด้านชีวิตครอบครัว พล.อ.อ. เกษตร สมรสกับ คุณหญิงวันทนา โรจนนิล (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ
- ผศ.เกศินี บูชาชาติ
- ดร.กษมา โรจนนิล ยุกตะทัต
- กนิษฐา กอวัฒนา
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 22.51 น. ของวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 สิริอายุ 90 ปี ตั้งบําเพ็ญกุศล ณ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[15]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ:
- พ.ศ. 2533 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[16]
- อินโดนีเซีย:
- พ.ศ. 2534 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราสวภูวนปักษะ ชั้นอุตมา[17]
- เกาหลีใต้ :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ Aindravudh (2024-04-04). "ประวัติ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ตำนาน ผบ.ทบ". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ เกร็ดประวัติศาสตร์ สงครามเวียดนาม ตอน หน่วยบินวิคตอรี่. นาทีที่ 1:39
- ↑ ย้อนคำ'สุไม่เอาก็ให้เต้' บุญยอดขอดเกล็ดสนั่น แขวะ'พรรคร่วม'อยู่นิ่งๆ 'เป็นไก่ตาย-รอโดนจิก'
- ↑ จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 31 (ISBN 974-88799-9-2)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ สิ้น “บิ๊กเต้” อดีต ผบ.ทอ.-สมาชิก รสช. สิริอายุ 91 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑ ง หน้า ๒๒, ๑ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 107 ตอนที่ 101 หน้า 4611, 14 มิถุนายน 2533
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 108 ตอนที่ 91 ฉบับพิเศษ หน้า 2, 22 พฤษภาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2238, 25 กุมภาพันธ์ 2535
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เส้นทาง สู่ อำนาจ เส้นทาง สุจินดา คราประยูร เส้นทาง "เจ้ากรม" คอลัมน์ หักทองขวาง[ลิงก์เสีย]จากโอเคเนชั่น
ก่อนหน้า | เกษตร โรจนนิล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535) |
พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์ |