จังหวัดยูเทรกต์
ยูเทรกต์ (อังกฤษและดัตช์: Utrecht, อ่านออกเสียงว่า อือเตร็คต์ ในภาษาดัตช์) เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศ มีเขตแดนทางทิศเหนือจรดทะเลสาบเอมเมร์ ทางทิศตะวันออกจรดจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ ทางทิศใต้จรดแม่น้ำไรน์ ทางทิศตะวันตกจรดจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 มีประชากร 1,353,596 คน[1] นอกจากเมืองหลวงยูเทรกต์ประจำจังหวัดแล้ว ยังมีเมืองใหญ่อีกหลายเมือง เช่น อาเมอร์สโฟร์ต เวเนนดาล เฮาเทิน นิวเวอเกน ไอส์เซิลสเตน และเซสท์ สถานีกลางยูเทรกต์ยังเป็นสถานีรถไฟใหญ่ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในเนเธอร์แลนด์อีกด้วย[2]
ยูเทรกต์ | |
---|---|
เพลง: Langs de Vecht en d'oude Rijnstroom | |
ที่ตั้งของจังหวัดยูเทรกต์ในเนเธอร์แลนด์ | |
พิกัด: 52°6′12″N 5°10′45″E / 52.10333°N 5.17917°E | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
เมืองหลัก | ยูเทรกต์ |
การปกครอง | |
• King's Commissioner | รุล โรบเบิร์ตเซิน |
พื้นที่ | |
• พื้นดิน | 1,386 ตร.กม. (535 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 63 ตร.กม. (24 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 12 |
ประชากร (2006) | |
• พื้นดิน | 1,180,039 คน |
• อันดับ | ที่ 5 |
• ความหนาแน่น | 850 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 3 |
รหัส ISO 3166 | NL-UT |
เว็บไซต์ | www.provincie-utrecht.nl |
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อปี ค.ศ. 695 สมเด็จพระสันตะปาปาเซอร์จิอุสที่ 1 แต่งตั้งนักบุญวิลลิบรอร์ดขึ้นเป็นบาทหลวงแห่งดินแดนฟรีเชีย จึงได้มีการสถาปนามุขมณฑลยูเทรกต์ (Bishopric of Utrecht) ขึ้น และได้สร้างป้อมปราการขึ้นที่เมืองยูเทรกต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองท้องถิ่นของราชอาณาจักรแฟรงก์ แต่พอนักบุญเสียชีวิต ยูเทรกต์ถูกรุกรานจากชาวไวกิงบ่อยครั้ง แต่กลับมาสงบและเรืองอำนาจขึ้นในสมัยที่ราชวงศ์อ็อทโทปกครอง โดยยูเทรกต์เริ่มมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมสภา จากนั้น บาทหลวงประจำถิ่นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชาย มุขมณฑลจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมุขนายก (Prince-Bishopric) ใน ค.ศ. 1024
ต่อมาเมื่อมีการทำสัญญาข้อตกลงแห่งเวิร์มขึ้นใน ค.ศ. 1122 ยูเทรกต์มีสิทธิ์เลือกตั้งพระสังฆราชประจำมณฑลเอง แต่เคาน์ตีฮอลแลนด์และเกลเดอร์สที่อยู่รอบข้างยูเทรกต์ที่ขึ้นตรงกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นพยายามเข้ามามีอิทธิพลในการเลือกตั้งสังฆราชา ทำให้สันตะสำนักจากกรุงโรมต้องเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง จนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 14 พระสันตปาปาทรงเปลี่ยนมาแต่งตั้งพระสังฆราชเองโดยไม่ฟังเสียงจากคณะสงฆ์ยูเทรกต์
เมื่อเกิดสงครามฮุกและคอด อันเป็นสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างพ่อค้าและผู้ปกครอง ยูเทรกต์กลายเป็นสมรภูมิรบ ดยุกแห่งบูร์กอญนำกำลังเข้าทำสงคราม ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองสองครั้ง ในช่วง ค.ศ. 1470 ถึง 1474 และช่วง ค.ศ. 1481 ถึง 1483
เมื่อ ค.ศ. 1527 พระสังฆราชได้ขายที่ดินให้กับจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยูเทรกต์จึงสิ้นอำนาจทางสงฆ์และตกเป็นพื้นที่ทางโลกภายใต้การบริหารของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คซึ่งในขณะนั้นได้ปกครองดินแดนดัตช์ส่วนอื่นๆด้วย คณะสงฆ์ได้ส่งมอบอำนาจการเลือกสังฆราชให้กับจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 โดยได้รับความยินยอมจากสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 แต่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คปกครองได้เพียงไม่นาน เพราะในเวลาต่อมา ยูเทรกต์ได้เข้าร่วมกับจังหวัดอื่นๆในเนเธอร์แลนด์ทำการปฏิวัติต่อการปกครองของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐดัตช์เมื่อปี ค.ศ. 1579
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยูเทรกต์ถูกกองทัพเยอรมนีเข้ายึดครอง และได้อิสรภาพเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ต่อมามีการแบ่งเขตการปกครองกันใหม่ ทำให้หลายเขตของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ถูกโอนมาอยู่กับจังหวัดยูเทรกต์
ภูมิศาสตร์
แก้จังหวัดยูเทรกต์มีพื้นที่ 1,449 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นผืนน้ำ 69 ตารางกิโลเมตร นับว่าเล็กที่สุดในบรรดา 12 จังหวัดของเนเธอร์แลนด์ พื้นดินเป็นดินทรายที่ไม่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ต้นไม้จึงเป็นพุ่มไม้เตี้ย จึงได้มีการปลูกป่าสนขึ้นทางตะวันออกของจังหวัด ส่วนทางใต้มีแม่น้ำอยู่หลายสาย จึงมีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวแม่น้ำ ส่วนทางตะวันตกเป็นภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้า
ยูเทรกต์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 เทศบาล ได้แก่
- อาเมอร์สโฟร์ต
- บาร์น
- บุนนิก
- บุนสโคเทิน
- เดอบิลท์
- เดอรอนเดอเวเนน
- เอมเนิส
- เฮาเทน
- ไอส์เซิลสเตน
- เลิสเดน
- โลปิก
- มงต์โฟร์ต
- นิวเวอเกน
- เอาเดอวาเทอร์
- เรนสเวาเดอ
- เรเนน
- ซูสท์
- สติชท์เวชท์
- ยูเทรกต์
- ยูเทรกซ์ เฮอเฟลรุก
- เวเนนดาล
- ไฟฟ์เฮเรินลันเดิน
- ไวค์ไบดูร์สเตด
- วูร์เดิน
- เวาเดินแบร์ก
- เซสท์
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดยูเทรกต์