อิกา ชฟียอนแต็ก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อิกา นาตาเลีย ชฟียอนแต็ก (โปแลนด์: Iga Natalia Świątek, ออกเสียง: [ˈiɡa ˈɕfʲɔntɛk];[1] เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวโปแลนด์ เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในสิบอันดับแรกโดยการจัดอันดับของสมาคมเทนนิสอาชีพหญิง (WTA) และมีอันดับสูงสุดอันดับ 1 ของโลก ชฟียอนแต็กเป็นแชมป์ในการแข่งขันเฟรนช์โอเพน ค.ศ. 2020 เป็นผู้เล่นชาวโปแลนด์คนแรกที่คว้าแชมป์รายการแกรนด์สแลม เป็นแชมป์รายการเฟรนช์โอเพนที่อายุน้อยที่สุดตั้งแต่ ราฟาเอล นาดัล ในค.ศ. 2005 และเป็นแชมป์หญิงเดี่ยวที่อายุน้อยที่สุดในรายการแกรนด์สแลม นับตั้งแต่มาเรีย ซาราโปวา ที่วิลเบิลดัน ค.ศ. 2004 เธอขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในวันที่ 4 เมษายน 2022 หลังจากจากประกาศเลิกเล่นเทนนิสของแอชลี่ห์ บาร์ตี้ อดีตนักเทนนิสมือ 1 ของโลก ชาวออสเตรเลีย อิกา ชฟียอนแต็กจะกลายเป็นนักเทนนิสชาวโปแลนด์คนแรกที่ขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกในประเภทเดี่ยว และเป็นนักเทนนิสชาวโปแลนด์คนที่สองที่ขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกในประเภทเดี่ยวและประเภทคู่[2][3]
ชฟียอนแต็กที่รายการเฟรนช์โอเพนปีค.ศ. 2019 | |||||||||||||||
ประเทศ (กีฬา) | โปแลนด์ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ถิ่นพำนัก | ราชึน โปแลนด์ | ||||||||||||||
วันเกิด | วอร์ซอ โปแลนด์ | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.76 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว) | ||||||||||||||
เทิร์นโปร | ตุลาคม 2016 | ||||||||||||||
การเล่น | ขวา; แบ็กแฮนด์สองมือ | ||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | Tomasz Wiktorowski | ||||||||||||||
เงินรางวัล | 7,192,718 ดอลลาร์สหรัฐ | ||||||||||||||
เดี่ยว | |||||||||||||||
สถิติอาชีพ | 166–49 (77.2%) | ||||||||||||||
รายการอาชีพที่ชนะ | 5 | ||||||||||||||
อันดับสูงสุด | No. 1 (4 เมษายน 2022) | ||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | No. 1 (4 เมษายน 2022) | ||||||||||||||
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |||||||||||||||
ออสเตรเลียนโอเพน | SF (2022) | ||||||||||||||
เฟรนช์โอเพน | W (2020,2022) | ||||||||||||||
วิมเบิลดัน | 4R (2021) | ||||||||||||||
ยูเอสโอเพน | W (2022) | ||||||||||||||
การแข่งขันอื่น ๆ | |||||||||||||||
Tour Finals | RR (2021) | ||||||||||||||
Olympic Games | 2R (2021) | ||||||||||||||
คู่ | |||||||||||||||
สถิติอาชีพ | 27–14 (65.9%) | ||||||||||||||
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 | ||||||||||||||
อันดับสูงสุด | No. 29 (14 กุมภาพันธ์ 2022) | ||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | No. 30 (21 กุมภาพันธ์ 2022) | ||||||||||||||
ผลแกรนด์สแลมคู่ | |||||||||||||||
เฟรนช์โอเพน | F (2021) | ||||||||||||||
ยูเอสโอเพน | 2R (2019) | ||||||||||||||
คู่ผสม | |||||||||||||||
สถิติอาชีพ | 5–4 (55.6%) | ||||||||||||||
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 | ||||||||||||||
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม | |||||||||||||||
Australian Open | QF (2020) | ||||||||||||||
การแข่งขันคู่ผสมอื่น ๆ | |||||||||||||||
Olympic Games | QF (2020) | ||||||||||||||
การแข่งขันแบบทีม | |||||||||||||||
BJK Cup | PO (2020) | ||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 21 มีนาคม 2022 |
ชีวิตในวัยเด็ก
แก้อิกา ชฟียอนแต็ก เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 ในกรุงวอร์ซอ[1] ตอมัช พ่อของเธอ เป็นอดีตนักพายเรือที่เข้าร่วมการแข่งขันเรือกรรเชียงสี่ส่วนชายในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล ค.ศ. 1988[4] ดอรอตา แม่ของเธอ เป็นทันตแพทย์จัดฟัน เธอมีพี่สาวคนหนึ่งชื่ออกาตา ซึ่งมีอายุมากกว่าสามปีและเป็นนักศึกษาสาขาทันตกรรมที่มหาวิทยาลัยแพทย์ลูบลิน[5] พ่อของชฟียอนแต็กต้องการให้ลูกสาวเป็นนักกีฬาอาชีพ และต้องการให้เล่นกีฬาเป็นรายบุคคลมากกว่าที่จะเล่นกีฬาเป็นทีมเพื่อควบคุมโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น อกาตาเริ่มต้นจากการเป็นนักว่ายน้ำ แต่เปลี่ยนมาเล่นเทนนิสหลังจากที่เธอมีปัญหากับการว่ายน้ำ อิกาเล่นเทนนิสตามพี่สาวเพราะต้องการเอาชนะเธอและอยากเป็นเหมือนเธอ อกาตาลงแข่งขัน ITF Junior Circuit ใน ค.ศ. 2013 เมื่ออายุได้ 15 ปี แต่หยุดเล่นเนื่องจากอาการบาดเจ็บ[6][7][8] อิกาฝึกซ้อมที่แมราวาร์ชาวาเมื่ออายุ 14 ปี ก่อนที่จะย้ายไปที่แลเกียวาร์ชาวาในเวลาต่อมา[9][10]
ระดับเยาวชน
แก้ชฟียอนแต็กเคยขึ้นถึงอันดับ 5 ของโลกในระดับเยาชน เธอเริ่มแข่งในรายการ ITF Junior Circuit ในปี 2015 และสามารถคว้าแชมป์ระดับ 4 ติดกันสองรายการในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ขณะอายุ 13 ก่อนสิ้นปีเธอขยับไปเล่นในรายการระดับ 2 และได้รองชนะเลิศทั้งประเภทคู่และประเภทเดี่ยว ในรายการ Czech Junior Open เธอเข้าร่วมการแข่งขันแกรนด์สแลมระดับเยาวชนครั้งแรกในปี 2016 ในรายการเฟรนช์โอเพน เข้าถึงรอบ 16 คนสุดท้ายทั้งในประเภทเดี่ยวและคู่ ตามด้วยการคว้าแชมป์รายการ เกรด 1 ที่ Canadian Open Junior Championships โดยการชนะ Olga Danilović ในรอบชิง[11][12]
ชฟียอนแต็กเริ่มต้นปี 2017 ได้อย่างแข็งแกร่ง เธอคว้าแชมป์ทั้งประเภทเดี่ยวและคู่ในรายการระดับ 1 ที่ Traralgon Junior International แม้ว่าเธอจะตกรอบแรกในออสเตรเลียนโอเพน แต่ในประเภทคู่ เธอสามรรถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศจากการจับคู่กับ Maja Chwalińska โดยแพ้ให้กับคู่ของ Bianca Andreescu และ Carson Branstine[11][12] หลังจากนั้นเธอได้เข้าชิงรายการระดับ A ที่ Trofeo Bonfiglio แพ้ให้กับ Elena Rybakina[13] เธอจบฤดูการด้วยการเข้าถึงรอบ 16 คนสุดท้ายในรายการ เฟรนช์โอเพน[12] และต้องหยุดยาว 7 เดือนหลังจากการผ่าตัดข้อเท้าขวา[14][15]
สถิติการแข่งขันอาชีพ
แก้การแข่งขันแกรนด์สแลม รอบชิงชนะเลิศ
แก้ประเภทเดี่ยว: 1 (ชนะเลิศ)
แก้ผลลัพธ์ | ปี | การแข่งขัน | พื้นผิว | ฝ่ายตรงข้าม | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
ชนะ | 2020 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | โซเฟีย เคนิน | 6–4, 6–1 |
ประเภทคู่: 1 (รองชนะเลิศ)
แก้ผลลัพธ์ | ปี | การแข่งขัน | พื้นผิว | คู่กับ | ฝ่ายตรงข้าม | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|
รองชนะเลิศ | 2020 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | Bethanie Mattek-Sand | Barbora Krejčíková | 4–6, 2–6 |
รางวัล
แก้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Iga Swiatek". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
- ↑ "From Grand Slam champ to World No.1, the rise of Iga Swiatek". WTA Tour. March 25, 2022.
- ↑ Listopad, Shannon (26 March 2022). "Iga Świątek seals world No. 1 spot, becoming first Pole to top tennis rankings". Notes from Poland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022.
In doubles, however, Poland’s Łukasz Kubot was ranked number one for men’s doubles in 2018.
- ↑ Imhoff, Dan (26 January 2020). "Swiatek follows father's footsteps 38 years later". Australian Open. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ "Iga Świątek Matka Ojciec: Kim są rodzice Igi Świątek? Ojciec i matka Igi Świątek" [Iga Świątek Mother Father: Who are Iga Świątek's parents? Father and mother of Iga Świątek]. Super Express (ภาษาโปแลนด์). 10 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ Nguyen, Courtney (2 June 2019). "Insider Q&A: Iga Swiatek shines on in breakout Roland Garros run". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ Chojecki, Michał (21 July 2018). "Tomasz Świątek, ojciec mistrzyni juniorskiego Wimbledonu: Iga sama dobrze wie, czego chce" [Tomasz Świątek, father of the Wimbledon junior champion: Iga knows exactly what she wants]. Super Express (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ "Agata Swiatek Junior Singles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ Ciastoń, Jakub (26 August 2015). "Najmłodsza, najlepsza, Iga! 14-latka z Raszyna ograła na kortach Legii starsze od siebie tenisistki" [The youngest, the best, Iga! The 14-year-old from Raszyn outplayed the older tennis players on the Legia courts]. Sport.pl (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ Petruczenko, Maciej (18 July 2018). "Kobiecy wdzięk i męski serwis" [Feminine charm and masculine service]. Passa (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ 11.0 11.1 "Iga Swiatek Junior Singles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "Iga Swiatek Junior Doubles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
- ↑ "Popyrin e Rybakina vincono il Trofeo Bonfiglio 2017" [Popyrin and Rybakina win the Bonfiglio Trophy 2017]. Spazio Tennis (ภาษาอิตาลี). 28 May 2017. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- ↑ Macpherson, Alex (11 January 2019). "Getting to know you: Introducing Melbourne 2019's Grand Slam debutantes". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
- ↑ Pearce, Linda (14 July 2018). "Swiatek wins girls' singles title". Wimbledon. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ "Fan Favorite Shot of the Year". wtatennis.com. 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Most Improved Player". tennis.com. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Fan Favorite Singles Player of the Year". baseline.tennis.com. 12 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.