อำเภอพรหมบุรี

อำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย

พรหมบุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 6 อำเภอของจังหวัดสิงห์บุรี

อำเภอพรหมบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phrom Buri
คำขวัญ: 
ประเพณีกำฟ้า หัวป่าต้นตำรับอาหารไทยรสเด็ด
คูค่ายเป็นเพชรประวัติศาสตร์ นารีพิลาสสาวบ้านแป้ง
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอพรหมบุรี
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอพรหมบุรี
พิกัด: 14°47′28″N 100°27′13″E / 14.79111°N 100.45361°E / 14.79111; 100.45361
ประเทศ ไทย
จังหวัดสิงห์บุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด82.505 ตร.กม. (31.855 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด22,571 คน
 • ความหนาแน่น273.57 คน/ตร.กม. (708.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 16120
รหัสภูมิศาสตร์1704
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพรหมบุรี หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอพรหมบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

เมืองพรหมบุรีนั้นสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานกันว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าพรหม (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้นขนานนามว่า เมืองพรหมบุรี ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ 5 ตำบลพรหมบุรีในปัจจุบัน ตามหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนนั้น มีเมืองพรหมบุรีตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว และได้ตั้งเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นในหน้าด่านทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่าเมืองพรหมบุรีมีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองพรหมบุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองจัตวา และในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมืองพรหมบุรีขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองพรหมบุรียกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกสุ่มกำลังยกลงไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ เมืองพรหมบุรีอยู่ในอำนาจปกครองของสมุหนายก โดยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เมืองพรหมบุรีคงมีฐานะเป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักพาบทหนึ่งเรียกชื่อว่า "พระพรหมนคร" แต่ในทางการปกครองได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา มีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากปางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมบุรี) และได้ย้ายไปที่จวนหัวป่าเหนือวัดพรหมเทพาวาส

ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี เรียกว่า อำเภอพรหมบุรี โดยได้ทำการสร้างที่ว่าการอำเภอที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งโรงเรียนพรหมวิทยาคารในปัจจุบัน) หมู่ที่ 3 ตำบลพรหมบุรี

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2488 นายอนันต์ โพธิพันธ์ นายอำเภอพรหมบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่เหนือวัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว เนื่องจากที่ตั้งอำเภอเดิมใกล้ตัวเมืองสิงห์บุรี แต่ห่างไกลจากตำบลอื่น ๆ และประกอบกับมีราษฎรในพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวได้บริจาคที่ดินในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เวลา 08.19-09.30 น.ประกอบด้วยภูมิปาโลแห่งฤกษ์ นายพนม นันทวิสิทธิ์ นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นายพิจิตร วงษ์จินดา นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการปรับปรุง นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ประธานวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เนื่องจากอำเภอเดิมมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบ โดยได้รับงบประมาณจากกรมการปกครองและมีราษฎรในพื้นที่ร่วมบริจาคในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างบริเวณตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอหลังเดิม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว และใช้เป็นที่ว่าการอำเภอจนถึงปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 26 ธันวาคม 2481 ยุบตำบลไผ่ดำ แล้วโอนท้องที่ที่ยุบไปรวมกับตำบลโรงช้าง และยุบตำบลบ้านพลู แล้วโอนท้องที่ที่ยุบไปรวมกับตำบลพระงาม[2]
  • วันที่ 12 มิถุนายน 2482 รวมท้องที่ตำบลบางหมื่นหาญ ตำบลบางประทุน กับตำบลพรหมบุรี และจัดตั้งเป็น ตำบลพรหมบุรี[3]
  • วันที่ 25 กันยายน 2488 ย้ายที่ว่าการอำเภอพรหมบุรีเดิม ไปตั้งที่ตำบลบางน้ำเชี่ยว[4] ท้องที่อำเภอเดียวกัน
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน 2488 โอนพื้นที่หมู่ 1,8,9 และหมู่ 7 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี ไปขึ้นกับตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโรงช้าง แยกออกจากตำบลบ้านแป้ง ตั้งตำบลบางน้ำเชี่ยว แยกออกจากตำบลบ้านหม้อ และตำบลบ้านแป้ง ตั้งตำบลวิหารขาว แยกออกจากตำบลโพประจักษ์ ตั้งตำบลหัวป่า แยกออกจากตำบลพรหมบุรี[6]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางน้ำเชี่ยว ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางน้ำเชี่ยว[7]
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2503 แยกพื้นที่ตำบลถอนสมอ ตำบลโพประจักษ์ และตำบลวิหารขาว อำเภอพรหมบุรี มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าช้าง[8] ขึ้นการปกครองกับอำเภอพรหมบุรี
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะกิ่งอำเภอท่าช้าง อำเภอพรหมบุรี เป็น อำเภอท่าช้าง[9]
  • วันที่ 7 มกราคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลปากบาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลพรหมบุรี[10]
  • วันที่ 18 มกราคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางน้ำเชี่ยว[11] ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวทั้งตำบล
  • วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลปากบาง[12] ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมบุรีทั้งตำบล
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบางน้ำเชี่ยว และสุขาภิบาลปากบาง เป็นเทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว และเทศบาลตำบลปากบาง[13] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 รวมองค์การบริหารส่วนตำบลหัวป่า กับองค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเรียกชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง[14]
  • วันที่ 27 สิงหาคม 2558 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลปากบาง อำเภอพรหมบุรี เป็นเทศบาลตำบลพรหมบุรี[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอพรหมบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[16]
1. พระงาม Phra Ngam
3,605
2. พรหมบุรี Phrom Buri
3,123
3. บางน้ำเชี่ยว Bang Nam Chiao
3,392
4. บ้านหม้อ Ban Mo
5,881
5. บ้านแป้ง Ban Paeng
2,132
6. หัวป่า Hua Pa
1,573
7. โรงช้าง Rong Chang
3,123

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอพรหมบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพรหมบุรี [17] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมบุรีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหม้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแป้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างและตำบลหัวป่าทั้งตำบล

เศรษฐกิจ

แก้
  • 1. อาชีพหลัก ได้แก่
    • 1.1 เกษตรกรรม
    • 1.2 รับจ้าง
  • 2.อาชีพเสริม ได้แก่
    • 2.1 กลุ่มแปรรูปผลิตผลการเกษตร
    • 2.2 ทำที่นอน หมอนหนุน หมอนข้าง
    • 2.3 ทำขนมหวาน ข้าวหลาม
  • 3.จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง ได้แก่

สถานที่สำคัญ

แก้

สถานที่สำคัญ ๆ ในอำเภอได้แก่

คูค่ายพม่า

แก้

คูค่ายพม่า ตั้งอยู่บริเวณวัดหลังคู หมู่ที่ 1 บ้านเจดีย์หัก ตำบลบ้านแป้ง ลักษณะเป็นเนินดินยาว รูปร่างคล้ายตัวแอล กว้างประมาณ 5-ไ115 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งของแนวค่ายมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตัดผ่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัฤยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พม่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2127 เมื่อครั้งพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาที่เมืองชัยนาท และให้กองทัพหน้าลงมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา แขวงเมืองพรหม โดยจะมาสมทบกับเจ้าเมืองพะสิมซึ่งยกฤไ-มาทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อรวมกำลังกันเข้าตีกรุง7 กองทัพไทยได้ต่อสู้จนกองทัพพม่าที่ปากน้ำบางพุทราต้องถอยร่นไปที่เมืองชัยนา_ท พระเจ้าเชียงใหม่จึงได้โปรดถอยทัพกลับและทิ้งร่องรอยคูค่ายให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับไผักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

วัดกุฏีทอง

แก้

วัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒธรรมชาวไทยพวน ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ชาวไทยพวน เครื่องมือจับปลา เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยวดยานพาหนะ ฯลฯ งานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยพวนจะจัดขึ้นที่วัดกุฎีทองแห่งนี้

วัดอัมพวัน

แก้

วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี)เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้นมีต้นไม้ประมาณ 300 ต้น เป็นไม้ดอกไม้ใบที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนและคูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น

หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. 2175 การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ 3 ครั้งที่ 2 นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2513

ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวันเป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับชาวฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำเดือน 3 ปีจอ เวลา 09.45 น. ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 12 เวลา 10.00 น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน 101 มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน 4 วัน

เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 วางศิลาฤกษ์ 14-15 มีนาคม พ.ศ. 2512 สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2513 รวมเวลาการก่อสร้าง 1 ปี 4 เดือน 15 วัน ผูกพัทธสีมาวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2513

วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. 2513 กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

ปัจจุบันวัดอัมพวันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑ ประจำจังหวัดสิงห์บุรี ที่รู้จักอย่างกว้างขวางในด้านการปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐาน ๔ (พอง-ยุบ) ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)เป็นผู้นำในการก่อตั้ง มีผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปปฏิบัติตลอดทั้งปีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

เจ้าอาวาสวัดอัมพวันคนปัจจุบัน พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์ ได้รับแต่งตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันนี้

ประเพณีกำฟ้า

แก้

ประเพณีกำฟ้าเป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่หมู่บ้านน้ำเชี่ยวและหมู่บ้านโภคาวิวัฒน์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ พิธีกรรมจะกระทำเช่นเดียวกับประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอื่น ๆ

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติอำเภอพรหมบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอต่าง ๆ จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3237–3238. 26 ธันวาคม 2481.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 649–650. 12 มิถุนายน 2482.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (53 ง): 1431. 25 กันยายน 2488.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (65 ง): 1674. 6 พฤศจิกายน 2488.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 16-17. 3 สิงหาคม 2499.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. 27 ธันวาคม 2503. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากบาง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (2 ง): 30–31. 7 มกราคม 2507.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (10 ง): 95–96. 18 มกราคม 2515.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลปากบาง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (30 ง): 404–405. 29 กุมภาพันธ์ 2515. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (102 ง): 17–20. 15 กันยายน 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลปากบาง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นเทศบาลตำบลพรหมบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (ตอนพิเศษ 197 ง): 5. 27 สิงหาคม 2558.
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  17. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลปากบาง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็น เทศบาลตำบลพรหมบุรี เล่ม 132 ตอน 197 ง พิเศษ หน้า 5 27 สิงหาคม 2558