นพพร อินสีลอย (กิ่งซาง)
นพพร อินสีลอย หรือที่รู้จักกันในนาม กิ่งซ่าง ก.ศักดิ์ลำพูน ต่อมาเปลี่ยนเป็น กิ่งซาง มาโนโปรวิช กะเหรี่ยงทมิฬ แชมป์มวยไทย 7 สี[1][2] อดีตยอดนักมวยไทยชื่อดังเป็นอีกหนึ่งนักชกที่แฟนมวยให้ความศรัทธานิยมชมชอบเพราะชกสนุกคุ้มค่าตัวไม่เคยทำให้ใครๆต้องผิดหวัง หลังจากที่เลิกราสังเวียนชีวิตของเขาก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้าโดยปัจจุบันรับราชการเป็นครูนับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักชกรุ่นหลังควรจะศึกษาเรียนรู้
นพพร อินสีลอย | |
---|---|
เกิด | นพพร อินสีลอย 24 มิถุนายน พ.ศ. 2526 |
ประวัติ
แก้กิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน หรือกิ่งซาง มาโนโปรวิช เชื้อสายกะเหรี่ยง มีชื่อจริงว่า นพพร อินสีลอย เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2526 ที่บ้านแม่ปันเดง ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของคุณพ่อบุญธรรม คุณแม่นฤมล อินสีลอย ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปสำหรับจุดเริ่มต้นที่มาชกมวยก็เนื่องจากเห็นเพื่อนเป็นนักมวยจึงอยากเป็นเช่นนั้นบ้างก่อนที่จะเริ่มต้นฝึกปรือเพลงยุทธ์นานร่วมปีจากนั้นก็ได้มีโอกาสขึ้นชกภายใต้ชื่อ "กิ่งซาง ลูกปันเด็ง" ปรากฏว่าพ่ายแพ้ได้ค่าตัว 120 บาท ช่วงนั้นเรียนอยู่ม.1ครับซึ่งน้องชายครูได้นำมาฝาก หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสขึ้นชกอีกประมาณ14ครั้ง ต่อมาทาง "หนานกู้" กู้เกียรติ ประภัสสรกุล ไปเห็นผมชกแล้วเกิดชอบใจที่เป็นมวยที่ชกสนุกจึงพาเข้ามาชกที่เวทีเมืองกรุง ซึ่งครั้งแรกก็ได้มีโอกาสชกรอบเสาร์บ่ายก่อน จากนั้นป๋าชุ้น เกียรติเพชร ก็ให้การสนับสนุนจัดผมชกเรื่อยมาจนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ริ่มสตาร์ทจากค่าตัว 2 พันบาทจากนั้นกิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน ก็เริ่มสร้างฟอร์มไต่เต้าจากมวยโนเนมจนกระทั่งกลายเป็นบิ้กเนม โดยมวยดังร่วมสมัยที่เคยปะทะฝีมือกันมาก็มี เพชรทวี ส.กิตติชัย,ดวงพิชิต อ.ศิริพร, "ไอ้ตาดุ" นฤนาท เซ็งซิมอิ้วยิ้ม,วันฉลอง ศิษย์ซ้อน้องหรือพีเคแสนชัยฯในปัจจุบัน,วิสันต์เล้ก ส.ทศพลฯลฯโดยค่าตัวสูงสุดที่ได้รับคือ 7.5 หมื่นบาท ได้มีโอกาสชิงแชมป์ถึง 3 ครั้งครับคือรุ่น 115 และ 118 ปอนด์ช่อง 7 สีแต่ปรากฏว่ากินแห้วไม่เคยสมหวังเลยสักครั้งเดียว ...แต่อย่างไรก็ตามผมมาประสบความสำเร็จได้คู่มวยดุเดือดแห่งปีตอนชกกับอาวุธเล้ก ว.สุนทรนนท์ ได้รับเงินสด 1 ล้านบาทแบ่งกันคนละครึ่งกับอาวุธเล็ก หลังจากที่กรำศึกมาอย่างโชกโชนมาถึงปี 55 ทางด้านกิ่งซาง ก็ประกาศอำลาสังเวียนแบบถาวรโดยไฟท์สุดท้ายเป็นฝ่ายปราชัยให้กับวังจั่นน้อย ศิษย์อุ๊อุบล "เหตุที่ต้องเลิกมวยเป็นเพราะสภาพร่างกายเริ่มไม่ไหว อีกอย่างช่วงนั้นก็สามารถสอบบรรจุครูได้ด้วย ปัจจุบันกิ่งซาง เป็นครูระดับ 6 สอนอยู่ที่ ร.ร.บ้านแม่จ๊าง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การศึกษา
แก้- ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
- มัธยมศึกษา โรงเรียนทุ่งหัวช้างพิทยาคม ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
- ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
- ปริญญาโท มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1291996
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๓๖, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔