อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์

นักแสดงและนักการเมืองชาวออสเตรีย-อเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1947)

อาร์โนลด์ อลอยส์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ (เยอรมัน: Arnold Alois Schwarzenegger) เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 เป็นนักแสดงชาวออสเตรีย-อเมริกัน, นักการเมือง, ผู้สร้างภาพยนตร์, นักธุรกิจ, นักเขียนและอดีตนักเพาะกายมืออาชีพ[1] เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐคนที่ 38 ช่วงปี 2003 - 2011

อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์
Photograph of the shoulders and head of Arnold Schwarzenegger with a blurry background
ชวาร์เซเน็กเกอร์ ในปีค.ศ. 2019
ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 38
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน 2546 – 3 มกราคม 2554
รักษาการแทน
ก่อนหน้าเกรย์ เดวิส
ถัดไปเจอร์รี่ บราวน์
ประธานที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐ
งานกีฬา, โภชนาการและกายบริหาร
ดำรงตำแหน่ง
22 มกราคม 2533 – 27 พฤษภาคม 2536
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าดิ๊ก คาซไมเออร์
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Arnold Alois Schwarzenegger อาร์โนลด์ อลอยส์ ชวาร์เซเน็กเกอร์

(1947-07-30) 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 (77 ปี)
ทาล รัฐสตีเรีย ประเทศออสเตรีย
พรรคการเมืองริพับลิกัน
คู่สมรสMaria Shriver
(สมรส 1986; หย่า 2021)
บุตร5 รวมถึง แคทเธอรีน, แพทริก และ โจเซฟ เบนา
บุพการี
ที่อยู่อาศัยสหรัฐอเมริกา
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์schwarzenegger.com
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย
สังกัดกองทัพออสเตรีย
ประจำการ2508

ประวัติ

แก้

อาร์โนลด์ เกิดในเมือง ทาล ประเทศออสเตรีย ในปี 1947 เขาเริ่มยกน้ำหนักตั้งแต่อายุ 14 ปี ทั้ง ๆ ที่พ่อของเขาเห็นว่าฟุตบอลน่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น อาร์โนลด์เข้าเป็นทหารเกณฑ์ในกองทัพออสเตรีย แม้ว่าเขาจะชอบทหารมาก แต่ก็ไม่ชอบกองทัพสักเท่าไร อยู่ได้ 1 เดือน จึงหนีทหารเข้าร่วมแข่งขันยกน้ำหนัก และได้ตำแหน่ง มิสเตอร์ ยุโรป จูเนียร์ แต่เขาก็ต้องติดคุกเสีย 1 สัปดาห์ พอออกจากคุก เขาได้รับอนุญาตให้ใช้เวลาช่วงที่เป็นทหาร ไปกับการฝึกการยกน้ำหนักได้ เพื่อจะเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติหลังจากรับใช้กองทัพ หลังจากออกจากทหาร เขาได้ร่วมแข่งขันเพาะกายและยกน้ำหนักในระดับนานาชาติ ได้รับตำแหน่ง มิสเตอร์ยุโรป และตำแหน่ง ชายรูปร่างดีที่สุดในยุโรป ไปครอง จนอายุ 20 ปีได้รับตำแหน่งมิสเตอร์ยูนิเวิร์ส

เมื่อเขามาอเมริกา เขาใช้เงินรางวัลที่เขาได้รับรางวัลลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และขายอุปกรณ์เพาะกายทางไปรษณีย์ ธุรกิจของเขาเป็นไปได้ด้วยดี เขาทำงานการแสดงไปด้วย และเขายังได้ปริญญาทางด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแห่งวิสคอนซิน เขาคว้าตำแหน่ง มิสเตอร์ยูนิเวิร์ส อีกถึง 4 สมัย และได้ตำแหน่ง มิสเตอร์โอลิมเปีย อีก 6 ครั้งติดต่อกัน

ในปี 1960 เขาแสดงเรื่อง Hercules in New York จากนั้นเขามีงานแสดงอีก 2-3 บท จากนั้นมารับบท โคแนน ของดิโน เดอ ลอเรนติส หนังเรื่องนี้ถูกนักวิจารณ์สับเละ แต่ว่าประสบความสำเร็จในด้านความนิยม และทำให้เขาได้รับบทต่อเนื่องอีก และยังได้รับบทใน The Terminator (คนเหล็ก 2029) ของ เจมส์ คาเมรอน ด้วย และได้แสดงในหนังแอ็คชั่น อีกหลายเรื่องอย่าง Commando, Predator (คนไม่ใช่คน) และ Total Recall (คนทะลุโลก) ซึ่งล้วนแต่ทำเงินทั้งสิ้น และยังมารับบทชายร่างใหญ่ใจดีในเรื่อง Kindergarten Cop (ตำรวจเหล็ก ปราบเด็กแสบ) และ Twins (แฝดผิดฝา ซ่าส์ผิดกัน)

ในปี 1986 เขาได้แต่งงานกับ มาเรีย ไชรเวอร์ ซึ่งเป็นหลานสาวของอดีตประธานาธิบดี เคนเนดี้ ปีถัดมา มีลูกด้วยกัน 4 คนคือ แคทเธอรีน (เกิดปี 1989), คริสติน่า (เกิดปี 1991), แพทริก (เกิดปี 1993) และ คริสโตเฟอร์ (เกิดปี 1997) แต่ปัจจุบันทั้งคู่ได้หย่าร้างกันในปี 2021 โดยอ้างถึงความแตกต่างไม่เข้ากัน และรวมถึงเขาแอบนอกใจ ขณะสมรสอยู่

ในปี 1986 หนังเรื่อง Terminator 2 (คนเหล็ก 2029 ภาค 2) ของเขากวาดรายได้ถึงกว่า 314 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 30 เรื่องที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล และยังได้แสดง The Last Action Hero (คนเหล็กทะลุมิติ) หรือ Jingle All the Way (คนเหล็กคุณพ่อต้นแบบ) ที่ไม่ประสบความสำเร็จสูงขนาดที่ผู้สร้างหวังไว้ ส่วนที่ประเทศออสเตรีย มีการฉลองความสำเร็จให้เขา ด้วยการตั้งชื่อสนามฟุตบอลแห่งหนึ่งตามชื่อของเขาเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ อาร์โนลด์ยังคงมีเข้ามาเรื่อย ๆ เช่น The Sixth Day (วันล่าฅนเหล็กอหังการ) ในปี 2002 ก็มีผลงานเรื่อง Collateral Damage (คนเหล็กทวงแค้น วินาศกรรมทมิฬ) และ Terminator 3: Rise of the Machines (คนเหล็ก 3 กำเนิดใหม่เครื่องจักรสังหาร)

หลังจากนั้นอาร์โนลด์เข้าสู่บทบาททางการเมือง เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคริพับลิกัน และได้เป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 38

ในปี 2011 Lost Angels Time ได้เปิดเผยว่าชวาร์เซเน็กเดอร์มีลูกอีกคนซึ่งเป็นลูกชายหนึ่งคนชื่อ โจเซฟ (เกิดปี 1997; หลังจากลูกชายคนที่ 4 เกิดไม่นาน) ซึ่งเกิดกับหญิงสาวนอกวงการชื่อ มิลเดร็ด แพทริเซีย "แพทตี้" เบนา เป็นลูกจ้างในครัวเรือนของเขา ขณะที่เขาสมรสกับไชร์เวอร์อยู่ แต่เหินห่างกัน

ภาพยนตร์ที่แสดง

แก้
ปี ภาพยนตร์ บท ผู้กำกับ หมายเหตุ
1970 Hercules in New York Hercules Arthur Allan Seidelman Credited as Arnold Strong[2]
1973 The Long Goodbye Hood in Augustine's office Robert Altman
1974 Happy Anniversary and Goodbye Rico Jack Donohue
1976 Stay Hungry Joe Santo Bob Rafelson
1977 Pumping Iron Himself George Butler/Robert Fiore
1979 The Villain/Cactus Jack Handsome Stranger Hal Needham
Scavenger Hunt Lars Michael Schultz
1982 Conan the Barbarian Conan John Milius
1984 Conan the Destroyer Conan Richard Fleischer
ฅนเหล็ก 2029 (The Terminator) T-800
Model 101
James Cameron
1985 Red Sonja Kalidor Richard Fleischer
Commando John Matrix Mark L. Lester
1986 Raw Deal Mark Kaminsky, aka Joseph P. Brenner John Irvin
1987 คนไม่ใช่คน (Predator) Major Alan 'Dutch' Schaeffer John McTiernan
The Running Man Ben Richards Paul Michael Glaser
1988 Red Heat Captain Ivan Danko Walter Hill
Twins Julius Benedict Ivan Reitman
Total Rebuild Himself Andrew Lesnie
1990 Total Recall Douglas Quaid/Hauser Paul Verhoeven
Kindergarten Cop Detective John Kimble Ivan Reitman
1991 Terminator 2: Judgment Day T-800
Model 101
James Cameron
1992 Christmas in Connecticut Man in chair in front of Media Truck Arnold Schwarzenegger Also the director[3]
Feed Himself Kevin Rafferty/James Ridgeway Cameo
1993 Dave Himself Ivan Reitman Cameo
Last Action Hero Jack Slater/Himself John McTiernan Also executive producer[4]
1994 True Lies Harry Tasker James Cameron
Junior Dr. Alex Hesse Ivan Reitman
Beretta's Island Himself Michael Preece
1996 Eraser U.S. Marshal John 'The Eraser' Kruger Chuck Russell
Jingle All the Way Howard Langston Brian Levant
T2 3-D: Battle Across Time The Terminator John Bruno, James Cameron, Stan Winston
1997 Batman and Robin Mr. Freeze Joel Schumacher Razzie Award for Worst Supporting Actor
1999 End of Days Jericho Cane Peter Hyams Razzie Award for Worst Actor
2000 The 6th Day Adam Gibson/Adam Gibson Clone Roger Spottiswoode Also a producer[5]
2001 Dr. Dolittle 2 White Wolf Steve Carr Voice only; uncredited[6]
2002 Collateral Damage Gordy Brewer Andrew Davis
2003 Terminator 3: Rise of the Machines T-850
Model 101
Jonathan Mostow
The Rundown Bar Patron Peter Berg Uncredited Cameo[7]
2004 Around the World in 80 Days Prince Hapi Frank Coraci
2005 The Kid & I Himself Penelope Spheeris Cameo[8]
2006 Cars Sven John Lasseter Voice only; uncredited
2009 Terminator Salvation T-850
Model 101
McG
2010 The Expendables Trench Mauser Sylvester Stallone Cameo
2012 The Expendables 2 Trench Mauser Sylvester Stallone Cameo
2013 The Last Stand Sheriff Ray Owens Lionsgate
2013 แหกคุกมหาประลัย (Escape Plan) Emil Rottmayer/Victor Mannheim Summit Entertainment
2014 Sabotage John 'Breacher' Wharton Open Road Films
2014 The Expendables 3 Trench Mauser Lionsgate
2015 Maggie Wade Lionsgate In post-production as of December 2014
2015 Terminator Genisys The Terminator Paramount Pictures In post-production as of December 2014
2017 Aftermath Roman Melnyk Lionsgate Premiere Limited release; also producer
2017 Wonders of the Sea 3D Himself - Narrator Fathom Events Documentary film; also producer
2017 Killing Gunther Robert "Gunther" Bendik Limited release; also executive producer
2018 The Game Changers Himself Saban Films and Lionsgate Documentary film; also executive producer
2019 Viy 2: Journey to China James Hook Universal Pictures Also executive producer
2019 Terminator: Dark Fate T-800 / Carl Paramount Pictures
2022 Kung Fury 2 "The President" KatzSmith Productions Post-production

อ้างอิง

แก้
  1. Gentilcore, Tony (March 2, 2018). "Lift Heavy To Build Muscle Like Arnold Schwarzenegger". Powerlifting.com. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  2. Arnold, Thomas K. (August 18, 2003). "At the DVD polls, Arnold is the candidate to watch". USA Today. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. Weinraub, Bernard (March 4, 1993). "On the Set With — Arnold Schwarzenegger; Big Guy. Big Star. Big Deal, Baby". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. Grover, Ronald (April 12, 1993). "Last Action Hero—Or First $60 Million Commercial?". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Turan, Kenneth (November 16, 2000). "The 6th Day". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. Goode, Gretchen-Marie (October 25, 2001). "Dr Dolittle 2". The Hartford Courant. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. Neal, Rome (September 30, 2003). "The Rock's Movie Smackdown". CBS News. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. Keck, William (July 13, 2005). "'Happy Endings' could be Tom Arnold's story". USA Today. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ผู้ว่าการรัฐ

แก้

การสัมภาษณ์

แก้

ภาพยนตร์

แก้