อาร์เอช (รถดีเซลราง)

อาร์เอช (RH) หรือ รถดีเซลรางฮิตาชิ (อังกฤษ: Hitachi Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถท้องถิ่น สั่งซื้อจากบริษัทฮิตาชิ, ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510[1][2] มีต้นแบบมาจาก อาร์ที (RT) ที่สั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 [3]

Diesel-Railcar Hitachi / RH
รถดีเซลรางอาร์เอช ที่สถานีรถไฟขอนแก่น
ประจำการพ.ศ. 2510 - ปัจจุบัน
ผู้ผลิตฮิตาชิ
เข้าประจำการพ.ศ. 2510
จำนวนที่ผลิต20 คัน (รถกำลัง 10 คัน / รถพ่วง 10 คัน)
รูปแบบการจัดขบวน[พซข.]+[กซข.]
หมายเลขตัวรถพซข.11 - 20 ,
กซข.1011 - 1020
ความจุผู้โดยสาร80 ที่นั่ง/คัน (พซข.11 - 20)
74 ที่นั่ง/คัน (กซข.1011 - 1020)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงซ่อมบำรุงโรงรถจักรนครราชสีมา
สายที่ให้บริการสายตะวันออกเฉียงเหนือ
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังเหล็กกล้า
ความยาว20.800 เมตร
ความกว้าง2.815 เมตร
ความสูง3.596 เมตร
ความสูงชานชาลา0.50 เมตร / 1.10 เมตร
จำนวนประตู4 (ข้างละ 2)
รูปแบบการจัดวางล้อ1A-A1
ความเร็วสูงสุด85 กม./ชม.(เดิม)
90 กม./ชม.
น้ำหนัก36 ตัน (รถพ่วง)
37.45 ตัน (รถกำลัง)
น้ำหนักกดเพลา9ตัน (รถพ่วง)
9.36 ตัน (รถกำลัง)
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
เครื่องยนต์Cummins NHH 220 B1 (เดิม)
Cummins N855-R2
กำลังขับเคลื่อน220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (เดิม)
235 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (ปัจจุบัน)
ระบบปรับอากาศพัดลม
ระบบเบรกลมอัด (2 สูบ)
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร

ประวัติ

แก้

หลังจากการใช้งานเอ็นไอไอ (NII) และ อาร์ที (RT) เป็นที่น่าพอใจ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงสั่งซื้อ อาร์เอช (RH) มาเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510[4]

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้รถดีเซลรางรุ่นนี้ทำขบวนรถชานเมือง และ รถธรรมดา เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งานมากกว่าการใช้รถจักรลากตู้โดยสาร โดยประจำการที่โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ เป็นกำลังหลัก และยังเป็นรถต้นแบบให้กับ อาร์เอชเอ็น (RHN) อีกด้วย

ภายหลังจากการสั่งซื้อ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF) ช่วงปี พ.ศ.2526 - 2528 อาร์เอช (RH) ก็ได้ถูกลดบทบาทลง และมีการถยอยย้ายไปประจำการที่โรงรถจักรนครราชสีมา และ ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลอง

โดยปัจจุบัน อาร์เอช (RH) ได้ประจำการที่โรงรถจักรนครราชสีมา โดยทำขบวนรถท้องถิ่นสายตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก ทำขบวนร่วมกับ อาร์เอชเอ็น (RHN) เช่น เส้นทาง นครราชสีมา-หนองคาย, นครราชสีมา-อุบลราชธานี, แก่งคอย-บัวใหญ่, แก่งคอย-ขอนแก่น และ มักจะมีการนำไปเสริมขบวนรถด่วนในช่วงเทศกาลโดยทำขบวนร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอ็นเคเอฟ (NKF)

ข้อมูลทั่วไป

แก้
  • ประเภท : รถดีเซลราง
  • ชื่อรุ่น : RH (Diesel-Railcar Hitachi)
  • รุ่นเลขที่:
    • พซข.11 - 20 (รถพ่วงดีเซลราง) จำนวน 10 คัน
    • กซข.1011 - 1020 (รถกำลังดีเซลราง) จำนวน 10 คัน
  • เครื่องยนต์  : Cummins NHH 220 B1 (เดิม)
    Cummins N855-R2 (ปัจจุบัน)
  • กำลังขับเคลื่อน : 220 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (เดิม)
    235 x 2 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (ปัจจุบัน)
  • ระบบขับเคลื่อน : ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Converter)
  • ความเร็วสูงสุด : 85 กม./ชม.(เดิม)
    90 กม./ชม.
  • น้ำหนักตัวรถ : 36 ตัน (รถพ่วง)
    37.45 ตัน (รถกำลัง)
  • น้ำหนักกดเพลา : 9ตัน (รถพ่วง)
    9.36 ตัน (รถกำลัง)
  • ประตูขึ้น-ลงรถ : ประตูอัตโนมัติ 4 ประตู ข้างละ 2 ประตู
  • จำนวนที่นั่ง : 80 ที่นั่ง/คัน (พซข.11 - 20)
    74 ที่นั่ง/คัน (กซข.1011 - 1020)
  • ผู้ผลิต : Hitachi, Ltd. , ประเทศญี่ปุ่น
  • ปีที่เข้าประจำการ: พ.ศ. 2510

ขบวนรถที่ให้บริการ

แก้
ปัจจุบัน
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 นครราชสีมา - หนองคาย - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา - อุดรธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/422 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/426 ลำชี - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา - บัวใหญ่ - นครราชสีมา
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย - ขอนแก่น - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพอภิวัฒน์ - อุบลราชธานี - กรุงเทพอภิวัฒน์ (เสริมเฉพาะช่วงเทศกาล)
  • ขบวนรถด่วนที่ 75/76 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หนองคาย - กรุงเทพอภิวัฒน์ (เสริมเฉพาะช่วงเทศกาล)

อ้างอิง

แก้
  1. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 120.
  2. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วง การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2554, หน้า 77. ISBN 978-974-9848-99-9.
  3. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 119.
  4. การรถไฟแห่งประเทศไทย. รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย. , พ.ศ.2533, หน้า 114.