ทีเอชเอ็น (รถดีเซลราง)

ทีเอชเอ็น (อังกฤษ: Tokyu car, Hitachi, Nippon sharyo railcar) เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถชานเมือง สั่งซื้อจากบริษัท Tokyu Car Corporation (หมายเลข 1101-1114) , Hitachi, Ltd. (หมายเลข 1115-1127) และ Nippon Sharyo Ltd. (หมายเลข 1128-1140) ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2526 มีต้นแบบมาจากรุ่นอาร์ทีเอส ที่สั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514

Railcar THN
รถดีเซลรางทีเอชเอ็น ที่สถานีรถไฟสีคิ้ว
ประจำการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ผลิตโทกีวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ฮิตาชิ และนิปปอน ชาเรียว
เข้าประจำการพ.ศ. 2526
จำนวนที่ผลิต40 คัน
จำนวนในประจำการ38 คัน
จำนวนที่ปลดระวาง2 คัน
หมายเลขตัวรถกซข.1101 - 1140
ความจุผู้โดยสาร74 ที่นั่ง/คัน
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว20.800 m (68 ft 2.9 in)
ความกว้าง2.815 m (9 ft 2.8 in)
ความสูง3.730 m (12 ft 2.9 in)
จำนวนประตู4 ประตู
รูปแบบการจัดวางล้อ1A-2
ความเร็วสูงสุด105 km/h (65 mph)
น้ำหนัก33.50 ตัน
น้ำหนักกดเพลา8.83 ตัน
เครื่องยนต์Cummins N855-R2
กำลังขับเคลื่อน235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
แรงฉุดลากไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211R
ระบบเบรกลมอัด 2 สูบ
มาตรฐานทางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
รถดีเซลรางทีเอชเอ็น ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

ประวัติ

แก้
 
รถดีเซลรางอาร์ทีเอส

หลังจากการใช้งานรถดีเซลรางรุ่นต่าง ๆ ในการทำขบวนรถโดยสารต่าง ๆ เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้มีการริเริ่มสั่งซื้อรถดีเซลรางอาร์ทีเอส ซึ่งเป็นรถดีเซลรางที่มีตัวถังเป็นสแตนเลสสตีล มาใช้งานบนทางรถไฟสายแม่กลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 เพื่อแก้ปัญหาการผุกร่อนของรถดีเซลรางที่มีตัวถังทำจากเหล็กกล้าธรรมดา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความชื้นจากไอทะเลสูง หลังจากนำมาใช้งานแล้ว มีผลการใช้งานเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับการโดยสารด้วยรถดีเซลรางเองก็เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น

ราวปี พ.ศ.2520 - 2521 การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ทดลองนำอาร์ทีเอส มาทดลองใช้งานบนเส้นทางสายหลัก เพื่อวิ่งประเมินผลต่าง ๆ สำหรับการจัดหารถดีเซลรางรุ่นใหม่สำหรับวิ่งทางไกล ให้บริการระหว่างเมือง ที่ระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร แบบรถ อินเตอร์-ซิตี้ ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคลองกับความนิยมของผู้โดยสารที่มากขึ้น

จนได้มาเป็นต้นแบบให้รถดีเซลรางทีเอชเอ็นในเวลาต่อมา ปัจจุบันทีเอชเอ็น ใช้ทำขบวนรถด่วนในสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมไปถึงรถชานเมือง รถท้องถิ่นสายเหนือ รถธรรมดา และขบวนรถนำเที่ยวเป็นหลัก โดยจะใช้งานร่วมกับเอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์

การใช้งาน

แก้
 
รถดีเซลรางเอทีอาร์ ใช้งานร่วมกับทีเอชเอ็น

ทีเอชเอ็น เป็นรถดีเซลรางที่มีรูปแบบการใช้งานได้หลายรูปแบบ และใช้งานร่วมกับรุ่นอื่น ๆ ได้หลายรุ่น ไม่จำกัดวิธีการพ่วงรถเหมือนอาร์เอชเอ็น ที่ต้องใช้งานเป็นคู่ โดยทั่วไปทีเอชเอ็นจะใช้งานร่วมกับ เอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์ แต่ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับอาร์เอชและอาร์เอชเอ็นได้อีกด้วย

สายชานเมืองแม่กลอง

แก้

ทีเอชเอ็น ถูกส่งไปใช้งานในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย เพื่อทดแทนเอ็นเคเอฟ ที่ชำรุดและหมดสภาพการใช้งาน ช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 ได้แก่หมายเลข

  • กซช.1102 กซช.1121 กซช.1125 และ กซช.1140

รถดีเซลรางทีเอชเอ็น ที่ตัดบัญชี

แก้
หมายเลข ลักษณะอุบัติเหตุ ขบวนที่ทำ เวลา สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน
1112 ถูกรถบรรทุกชนขณะทำขบวน ขบวนรถชานเมืองที่ 356 สุพรรณบุรี - กรุงเทพ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จุดตัดทางรถไฟกับถนนสายทุ่งบัว-พนมทวน ม.2 ต.ทุ่งบัว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ตัวรถได้รับความเสียหายตัวถังและโครงประธานบิดผิดรูป ตัดบัญชี
1127 ไฟไหม้รถขณะกำลังทำขบวน ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 76 หนองคาย - กรุงเทพ - - ตัวรถได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ ตัดบัญชี

รายละเอียดเพิ่มเติม

แก้
  • หมายเลข 1101 1102 1104 1105 1106 1107 1108 1109 1110 1111 1113 1114 1115 1116 1117 1118 1119 1120 1121 1122 1123 1124 1125 1126 1128 1129 1130 1131 1132 1133 1134 1135 1137 1138 1139 และ 1140 เป็นรถดีเซลรางที่มีการติดตั้งหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA
  • หมายเลข 1103-ข เป็นรถดีเซลรางมีห้องขับแต่ห้องขับรถคันนั้นใข้การไม่ได้ แต่ยังเป็นรถพ่วงดีเซลรางที่มีกำลังขับเคลื่อน (อยู่ระหว่างการทำวาระหนักที่โรงงานมักกะสัน)

ขบวนรถที่ให้บริการ

แก้
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 75/76 กรุงเทพอภิวัฒน์–หนองคาย–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 77/78 กรุงเทพอภิวัฒน์–หนองคาย–กรุงเทพอภิวัฒน์[a] (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพอภิวัฒน์–ศิลาอาสน์–กรุงเทพอภิวัฒน์ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ–บ้านตาคลี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ–หัวหิน–กรุงเทพ (วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ใช้หัวรถจักรลากตู้ บชส. ทำขบวน)
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ–ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ–กบินทร์บุรี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 283/284 กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ (สลับกับหัวรถจักรลากตู้ บชส. เฉพาะวันหยุดนักขัตฤกษ์)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 311/376/378 กรุงเทพ–รังสิต–หัวตะเข้–กรุงเทพ[b] (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ[c]
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ–ชุมทางหนองปลาดุก–กรุงเทพ (วันอาทิตย์ปลายทางสุพรรณบุรี, วันจันทร์ต้นทางสุพรรณบุรี)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 383/384 และ 389/390 กรุงเทพ–ชุมทางฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี–พิษณุโลก–ลพบุรี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก–ศิลาอาสน์–พิษณุโลก
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์–เชียงใหม่–นครสวรรค์
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา–ลพบุรี[d] (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ–น้ำตกไทรโยคน้อย–กรุงเทพ[e]
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ–สวนสนประดิพัทธ์–กรุงเทพ[f]
  • ขบวนรถพิเศษชานเมืองเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ธนบุรี-นครปฐม-ธนบุรี
  • ขบวนรถชานเมืองในสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย (หมายเลข กซช.1102 กซช.1125 ย้ายมาเข้าประจำการในคืนวันที่14 ธันวาคม พ.ศ.2564) และ (กซช.1121 และ กซช.1140 ย้ายมาเข้าประจำการในคืนวันที่25 พฤศจิกายน พ.ศ.2565)

เชิงอรรถ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ขบวนที่ 77/78 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย–นครราชสีมา–ชุมทางบัวใหญ่ โดยปกติจะใช้ชุดขบวนรถสลับกับ ขบวนที่ 75/76
  2. ขบวนที่ 311/376/378 เดินเฉพาะวันทำงาน
  3. ขบวนที่ 317/318 เดินเฉพาะวันทำงาน
  4. ขบวนที่ 409 เดินเฉพาะวันหยุด
  5. ขบวนที่ 909/910 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  6. ขบวนที่ 911/912 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้