อัลอุซซา (อาหรับ: العزى al-ʻUzzā [al ʕuzzaː]) เป็นหนึ่งในสามเทพีหลักของศาสนาในอาระเบียก่อนการมาของอิสลาม และถูกบูชาโดยชาวอาหรับก่อนศาสนาอิสลามคู่กับอัลลาตกับมะนาต โดยมีลูกบาศก์หินเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิในเมืองอัฏฏออิฟ (ใกล้มักกะฮ์) พระองค์ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 53:19 ในฐานะหนึ่งในเทพีที่ผู้คนบูชากัน

อัลอุซซา
เทพีแห่งความยิ่งใหญ่, การป้องกัน และความรัก
ศูนย์กลางของลัทธิมักกะฮ์
สัญลักษณ์ต้นไม้สามต้น
เป็นที่นับถือในอาระเบีย
ข้อมูลส่วนบุคคล
พี่น้องอัลลาต, มะนาต
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกแอโฟรไดที
เทียบเท่าในโรมันวีนัส

เหมือนกับฮุบัล อัลอุซซาถูกเรียกไว้เพื่อป้องกันตัวเองโดยเผ่ากุเรช "ใน ค.ศ. 624 ณ 'ยุทธการที่อุฮุด' มีการกล่าาวขวัญแก่พวกกุเรชว่า "โอ้ประชาชนแห่งอุซซา, ประชาชนแห่งฮุบัล!"[1] อัลอุซซายังปรากฏในโองการชัยฏอนตามรายงานของอิบน์อิสฮักที่ยังเป็นข้อโต้เถียงอยู่[2]

วิหารสำหรับอัลอุซซาและเทวรูปของพระองค์ถูกทำลายโดยคอลิด อิบน์ อัลวะลีดที่นัคละฮ์ในปีค.ศ. 630[3][4]

การทำลายวิหาร

แก้

หลังจากเหตุการณ์พิชิตมักกะฮ์ ได้ไม่นาน ศาสดามุฮัมมัดเริ่มลงมือทำลายสิ่งที่ทำไว้ก่อนที่ศาสนาอิสลามมาให้หมดสิ้น

ท่านส่งคอลิด อิบน์ อัลวะลีดไปที่นัคละฮ์ในช่วงเดือนเราะมะฎอน ค.ศ. 630 (ฮ.ศ. 8) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทพีอัลอุซซาที่ถูกบูชาโดนชนเผ่ากุเรชและกินานะฮ์ ซึ่งเป็นเทพีที่สำคัญที่สุดของแคว้นนี้

คอลิดจึงส่งทหารม้า 30 นายไปทำลายเทวสถาน ปรากฏว่าที่นั่นมีเทวรูปอัลอุซซาอยู่สององค์ โดยอันหนึ่งคือของจริง ส่วนอีกอันคือของปลอม คอลิดจึงไปทำลายของปลอม แล้วกลับไปหาท่านศาสดาเพื่อรายงานว่าเขาทำภารกิจเสร็จสิ้น "ท่านเห็นอะไรผิดปกติไหม?" ท่านศาสดาถาม "ไม่" คอลิดตอบ "ถ้าอย่างนั้นเจ้าก็ไม่ได้ทำลายอัลอุซซา" ท่านศาสดากล่าว "ไปที่นั่นใหม่"

คอลิดรู้สึกโกรธต่อความผิดพลาดของตนเอง แล้วไปที่นัคละฮ์อีกรอบ และครั้งนี้เขาได้พบกับวิหารของอัลอุซซาของจริง ผู้เฝ้าวิหารหนีออกไปจากวิหารแล้ว แต่ก่อนที่จะละทิ้งนั้น เขาได้แขวนดาบบนคอของเธอ โดยหวังว่ามันสามารถป้องกันเธอได้ ในตอนที่คอลิดเข้าไปในวิหาร เขาได้พบกับหญิงอบิสซิเนียที่ไม่ปกติแก้ผ้าร้องไห้ต่อหน้าเขา แต่คอลิดไม่หยุดเดินหน้าต่อเพื่อตัดสินใจว่า เธอมาที่นี่เพื่อหยุดเขาหรือปกป้องภาพของวิหาร ดังนั้นเขาจึงชูดาบในพระนามของอัลลอฮ์ โดยการฟันครั้งเดียวทำให้หญิงคนนั้นถูกผ่าออกเป็นสองซีก แล้วทำลายภาพนั้น และกลับไปที่มักกะฮ์ พร้อมกับบอกท่านศาสดาในสิ่งที่เขาเห็นและทำลงไป จากนั้นท่านศาสดาบอกว่า "ใช่ นั่นคืออัลอุซซา; และเธอจะไม่ถูกบูชาในดินแดนนี้อีกต่อไป"[3][4]

ลัทธิของอัลอุซซา

แก้

รายงานจาก กิตาบ อัลอัศนาม ของฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี[5]

... [ชาวอาหรับ] ได้สร้างบ้านที่เรียกว่า บุสส์ เป็นที่ซึ่งผู้คนรับคำพยากรณ์ เช่นเดียวกันกับเผ่ากุเรช ชาวอาหรับได้ตั้งชื่อลูกตนเองว่า "‘อับดุลอุซซา" ที่มากไปกว่านั้น อัลอุซซาเป็นเทวรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวกุเรช พวกเขาเดินทางไปหาพระองค์ ให้ของขวัญแก่พระองค์ และแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์ผ่านการบูชายัญ[6]

พวกกุเรชกล่าวประโยคนี้ตอนเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ว่า

แด่อัลลาตและอัลอุซซา
และมะนาต สามเทวรูปเคียงคู่กัน
แท้จริงสามองค์นั้นคือ อัลเฆาะรอนีก
ซึ่งการขอร้องจะต้องแสวงหา

ประโยคสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นรายงานในโองการชัยฏอนที่ยังเป็นข้อโต้แย้ง; โดยในภาษาอาหรับแปลได้เป็น "สตรีที่ยกย่องที่สุด" โดยฟาริสในกิตาบ อัลอัศนาม แต่ถูกโต้เถียงในหมายเหตุว่า "แปลตรงตัวคือ นกกระเรียนนูมีเดีย."

เทพีทั้งสามพระองค์ถูกตั้งห่างกันใกล้มักกะฮ์ โดยวิหารของอัลอุซซาที่สำคัญที่สุดอยู่ที่นัคละฮ์ ใกล้กับกุดัยด์ ทางตะวันออกของมักกะฮ์ อยู่บนเส้นทางไปยังอัฏฏออิฟ; โดยมีต้นไม้สามต้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (รายงานจากอัลอะนาซี อบูอะลี ใน กิตาบ อัลอัศนาม)

อับดุลอุซซา ["ผู้รับใช้ผู้ยิ่งใหญ่"] เป็นชื่อที่นิยมใช้กันก่อนการมาของอิสลาม[7]

รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาสว่า อัฏเฏาะบะรีกล่าวว่า อัลอุซซา มาจากคำว่า อัลอะซีซ แปลว่า "ผู้ยิ่งใหญ่" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 99 "พระนามของอัลลอฮ์" ในคำอธิบายบนกุรอานซูเราะฮ์ที่ 7:180.[8]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Tawil (1993).
  2. Ibn Ishaq Sirat Rasul Allah, pp. 165–167.
  3. 3.0 3.1 S.R. Al-Mubarakpuri. The sealed nectar. p. 256. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  4. 4.0 4.1 "He sent Khalid bin Al-Waleed in Ramadan 8 A.H", Witness-Pioneer.com เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Ibn al-Kalbi, trans. Faris (1952), pp. 16–23.
  6. Jawad Ali, Al-Mufassal Fi Tarikh al-Arab Qabl al-Islam (Beirut), 6:238-9
  7. Hitti (1937), pp. 96–101.
  8. Ibn al-Kalbi, Book of Idols, 25.

สารานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้