คอลิด อิบน์ อัลวะลีด

อะบู สุไลมาน คอลิด อิบน์ อัลวะลีด อิบน์ อัลมุฆีเราะฮ์ อัลมัคซูมี (อาหรับ: أبو سليمان خالد بن الوليد بن المغيرة المخزومي‎; 585–642) รู้จักกันในชื่อ ซัยฟุลลอฮ์ อัลมัสลูล (อาหรับ: سيف الله المسلول; ดาบแห่งแสงอรุณของอัลลอฮ์) เป็นผู้ติดตามของมุฮัมมัด เขาเป็นผู้มีทักษะในการรบและเป็นผู้บัญชาการภายใต้การควบคุมของมุฮัมมัด, อบูบักร์ และอุมัร[1] คอลิดได้สู้รบมากกว่า 100 สนามรบ ในระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์, จักรวรรดิแซสซานิด และกบฏในจักรวรรดิเคาะลีฟะฮ์ในช่วงปี ค.ศ. 632 ถึงปี ค.ศ. 636[2] จนกระทั่งในปีค.ศ. 638 เขาถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหาร ในระหว่างที่คอลิดเป็นผู้บัญชาการนั้น เขาได้ฐานะเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่ไม่เคยแพ้สงครามของโลก[3][4]

คอลิด อิบน์ อัลวะลีด
خالد بن الوليد
เกิด585
มักกะฮ์ คาบสมุทรอาหรับ
เสียชีวิตพฤษภาคม 642 (57 ปี)
ฮอมส์ รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน บิลาด อัช-ชาม ปัจจุบันคือประเทศซีเรีย
สุสาน
รับใช้รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
แผนก/สังกัดRashidun army
ประจำการมิถุนายน 632– 638
ชั้นยศจอมทัพ
หน่วยกองกำลังเคลื่อนที่
บังคับบัญชาจอมทัพ (632–634)
แม่ทัพทหารราบ (634–638)
แม่ทัพของกองกำลังเคลื่อนที่ (634–638)
ผู้บัญชาการทหารประจำเมืองอิรัก (633–634)
ผู้ว่าราชการเมิองกินนัสริน (637–638)

ชีวิตช่วงต้น

แก้

คอลิดเกิดในปี ค.ศ. 585 ในเมืองมักกะฮ์ พ่อของเขาชื่อวะลีด อิบน์ อัลมุฆีรอ ผู้นำของเผ่าบนูมัคซูม[5] แม่ของเขาชื่อลูบาบะฮ์ อัลซุครอ บินต์ อัลฮาริษ[6]

หลังจากที่เขาเกิด รายงานจากประเพณีชาวกุเรช คอลิดถูกส่งไปยังแม่นมชาวเบดูอินกลางทะเลทราย จนกระทั่งอายุ 5 - 6 ปี เขาถูกนำกลับบ้านที่มักกะฮ์ ในขณะที่ยังเป็นเด็กนั้นเขาเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งเขารอดมาได้ แต่ได้ทิ้งร่องรอยบนแก้มซ้ายของเขา[7]

สมัยมุฮัมมัด (ค.ศ. 610–632)

แก้

ก่อนเข้ารับอิสลาม

แก้

ไม่มีใครรู้ว่าคอลิดเป็นอย่างไรก่อนที่จะเข้ารับอิสลาม แต่มีรายงานว่าคอลิดไม่ได้เข้าร่วมสงครามบะดัร หลังจากนั้นเขานำชัยชนะให้กับชาวมักกะฮ์ในสงครามอุฮุด (ค.ศ. 625)[8] และสงครามสุดท้ายที่เข้าร่วมกับชาวกุเรชคือสงครามสนามเพลาะในปี ค.ศ. 627[9]

หลังจากสงครามบะดัรคอลิดและฮาชาม อิบน์ วะลีด ไปที่มะดีนะฮ์เพื่อจ่ายค่าไถ่วะลีด อิบน์ วะลีด แต่หลังจากนั้นวะลีดได้กลับมักกะฮ์แล้ว เขาได้หลบหนีไปยังมะดีนะฮ์เพื่อเข้ารับอิสลาม[10]

เข้ารับอิสลาม

แก้

หลังจากทำสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์ในปีค.ศ. 628 มีรายงานว่าศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับวะลีด อิบน์ วะลีดว่า: "คนอย่างคอลิด ไม่สามารถอยู่ห่างจากอิสลามได้นานแน่"[11] วะลีดได้เขียนจดหมายไปยังคอลิดเพื่อเข้ารับอิสลาม คอลิดตัดสินใจเข้ารับอิสลามและได้พูดเรื่องนี้ให้กับอิกริมะฮ์ อิบน์ อบีญะฮัล คอลิดถูกทำร้ายโดยอบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ แต่ถูกอิกริมะฮ์ขวางและพูดว่า: "ระวังให้ดี โอ้ อบูซุฟยาน! ความโกรธของเจ้าอาจจะนำฉันเข้าร่วมกับมุฮัมมัด คอลิดจะนับศาสนาอะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ"[12]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 629 คอลิดเริ่มเดินทางไปมะดีนะฮ์ แล้วพบกับอัมร์ อิบน์ อัลอาสและอุสมาน อิบน์ ฏอลฮะฮ์ ที่กำลังไปมะดีนะฮ์เพื่อเข้ารับอิสลามด้วย พวกเขามาถึงมะดีนะฮ์ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 629[13]

คอลิดได้ทักทายมูฮัมหมัดและสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อท่าน มุฮัมมัดจึงกล่าวกับคอลิดว่า:

ฉันแน่ใจว่า...ปัญญาและความหวังของเจ้าทำให้วันหนึ่งต้องรับอิสลามเป็นศาสนาของตนเอง[14]

— ศาสดามุฮัมมัด

การทหารในสมัยมุฮัมมัด

แก้

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 629 ได้มีการเคลื่อนทัพไปรบที่คอสซานิด รัฐประเทศราชของจักรวรรดิโรมันตะวันออก โดยก่อสงครามมุตอะฮ์ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาวมุสลิมและกองทัพของจักรวรรดิไบเซนไทน์ มุฮัมมัดได้ให้ซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์เป็นแม่ทัพ ถ้าซัยด์เสียชีวิต ญะฟัร อิบน์ อบีฏอลิบจึงรับหน้าที่ต่อ ถ้าญะฟัรเสียชีวิต อับดุลลอฮ์ อิบน์ รอวาฮะฮ์จึงรับหน้าที่ต่อ ถ้าทั้งสามถูกฆ่าแล้ว ให้เลือกคนที่เหมาะสมเอง[15] ตอนที่สู้รบนั้น แม่ทัพทั้งสามถูกฆ่าหมดแล้ว พวกเขาจึงเลือกคอลิดมารับหน้าที่นี้ต่อ แล้วสู้รบจนชนะ[16]

หลังจากเหตุการณ์ยึดครองมักกะฮ์ในปี ค.ศ. 630 คอลิดได้นำกองทัพไปสู้รบในสงครมฮุนัยน์และฏออิฟ จนชนะการต่อสู้ คอลิดได้รับบาดแผลขนาดใหญ่ในตอนสู้รบ มุฮัมมัดได้มาเยี่ยมเขาแล้วบอกว่าขอให้หายเร็วๆ[17]

เขาได้เข้าร่วมที่ตะบูกภายใต้การนำทัพโดยมุฮัมมัด คอลิดถูกส่งไปที่ดุมาตุลญันดัลพร้อมกับต่อสู้และจับเจ้าชายแห่งดุมาตุลญันดัล พร้อมกับบังคับให้ทำสัญญา[18]

การทหารขณะเป็นผู้บัญชาการ

แก้

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 630 (เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.8)[19]คอลิดถูกส่งให้ไปทำลายเทวรูปอัลอุซซา[20][21] แล้วสังหาร์ผู้หญิงที่มุฮัมมัดบอกว่านั่นคืออัลอุซซา[22]

คอลิดถูกส่งไปที่เผ่าบนูญาดิมะฮ์ให้เข้ารับอิสลาม พวกเขากล่าวว่า ซาบะอฺนา ซาบะอฺนา (เรามาจากสะบาอ์) แต่คอลิดเข้าใจผิด จึงกักขังและทรมานพวกเขาจนอับดุลรอฮ์มาน อิบน์ เอาฟ์ต้องบอกให้หยุด[20][21][23][24][25] มุฮัมมัดรู้สึกเสียใจเกี่ยวกับการกระทำของเขา แล้วจ่ายสินไหมให้กับคนในครอบครัวที่เสียชีวิตและทรัพยสินที่ถูกทำลาย พร้อมกับพูดว่า: "โอ้อัลลอฮ์ ฉันบริสุทธิ์ (ไม่ได้เกี่ยวข้อง) กับสิ่งที่คอลิด อิบน์ วะลีดทำลงไป!"[26][27][28]

มุฮัมมัดได้ส่งคอลิดไปที่ดุมาตุลญันดัลเพื่อโจมตีปราสาทของเจ้าชายอุกัยดิรที่นับถือศาสนาคริสต์ จนยึดได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 631 (เดือนซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.9) โดยคอลิดได้นำตัวประกันและขู่ว่าถ้าไม่เปิดประตูปราสาทแล้วเขาจะฆ่าตัวประกัน หลังจากนั้นศาสดามุฮัมมัดได้จ่ายค่าไถ่โดยมีอูฐ 2000 ตัว, แกะ 800 ตัว, ชุดเกราะ 400 ชุด, หอก 400 อัน และสัญญาว่าจะจ่ายจิซยะฮ์[29][30][31][32]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 631 มุฮัมมัดได้ส่งคอลิดไปที่ดุมาตุลญันดัลอีกรอบเพื่อทำลายเทวรูปวัดด์ คอลิดได้ทำลายเทวรูปพร้อมกับสถานที่บูชาและสังหารทุกคนที่ต่อต้านการทำลายเทวรูป[29][30][31][33]

สมัยอบูบักร์ (ค.ศ. 632–634)

แก้

ครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

แก้
 
แผนที่เส้นทางที่คอลิดครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

หลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต เผ่าอาหรับหลายเผ่าได้ก่อกบฏต่อรัฐเคาะลีฟะฮ์ เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์ได้ส่งทหารไปปราบกบฎและผู้ละทิ้งศาสนา[34] คอลิดจึงเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่อบูบักร์สั่งให้มีการวางแผนในสงครามริดดะฮ์โดยให้คำแนะนำว่าเขาต้องเป็นแม่ทัพนำชาวมุสลิมไปที่คาบสมุทรอาหรับตอนกลาง บริเวณที่เป็นศูนย์กลางของกบฎ และมีความเสี่ยงที่พวกเขาจะโจมตีมะดีนะฮ์ได้ง่าย[35]

ในช่วงกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 632 คอลิดรบชนะตุลัยฮะฮ์[36]หนึ่งในกบฎที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาเพื่อที่จะให้ผู้คนสนับสนุนตนเอง จนอำนาจของตนเองได้หมดลงหลังจากแพ้ในสงครามคอมรา[34] หลังจากนั้นคอลิดได้ไปที่นัคราและกำจัดกบฎจากบนูซาลีมในสงครามนัครา สุดท้ายคอลิดได้ครอบครองทั้งแคว้นหลังจากสงครามซาฟัรโดยสู้รบชนะซัลมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 632[37]

ตอนนี้แคว้นรอบเมืองมะดีนะฮ์เป็นของมุสลิมแล้ว คอลิดจึงนำทัพไปที่แคว้นนัจญ์ ที่มั่นของเผ่าบนูตะมีม. มีหลายพวกที่ยอมพบคอลิดและกฎหมายของเคาะลีฟะฮ์ แต่มาลิก อิบน์ นูวัยเราะฮ์ หัวหน้าเผ่าบนูยัรบูอ์เลี่ยงการติดต่อกับคอลิดและบอกให้ผู้ติดตามแยกย้ายกันหนี โดยที่ครอบครัวของเขาจะหนีไปทางทะเลทราย[38] พร้อมกับประกาศเป็นศัตรูกับรัฐเคาะลีฟะฮ์โดยมีความร่วมมือกับซัจญะฮ์ ผู้หญิงที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดา[39] หลังจากนั้นมาลิกถูกจับพร้อมกับผู้คนของเขา[40] และคอลิดถามว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ เขาได้ตอบว่า: "นายของเจ้าได้พูดอย่างนี้ นายของเจ้าได้พูดอย่างนั้น" คอลิดจึงประกาศว่ามาลิกเป็นกบฎผู้ละทิ้งศาสนาพร้อมกับประหารชีวิต[41]

หลังจากการเสียชีวิตของมาลิกแล้ว คอลิดได้จับลัยลา บินต์ อัลมินฮัล ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง ทหารของเขาซึ่งรวมไปถึงอบูกอตออะฮ์เชื่อว่าคอลิดฆ่ามาลิกเพื่อเอาภรรยามาเป็นของเขา จนเรื่องนี้ถึงหูของอุมัรที่ปรึกษาของอบูบักร์ แล้วอบูบักรได้เรียกคอลิดให้เข้าพบเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้[42]

คอลิดได้รบชนะมุซัยลิมะฮ์ คนที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาในสงครามยะมามะฮ์เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 632 มุซัยลีมะฮ์ถูกฆ่าในสนามรบ และเผ่าที่เป็นกบฏก็ถูกทำลายหมดสิ้น[34]

การรุกรานจักรวรรดิเปอร์เชีย

แก้
 
แผนที่แสดงการพิชิดเมโสโปเตเมียตอนล่าง (อิรัก) ของคอลิด

หลังจากที่ทำลายกบฏหมดแล้วทั้งคาบสมุทรอาหรับจึงอยู่ภายใต้รัฐเคาะลีฟะฮ์ อบูบักร์ต้องการที่จะขยายอาณาจักร[43] จึงส่งคอลิดไปที่อาณาจักรเปอร์เซียพร้อมกับทหาร 18,000 นาย เพื่อยึดครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก)[44] โดยก่อนที่จะสู้รบนั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังฝ่ายเปอร์เซียว่า:

จงยอมรับอิสลามแล้วเจ้าจะปลอดภัย หรือจะยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) คุณและผู้คนของเจ้าจะอยู่ในการป้องกันของเรา ไม่เช่นนั้นเจ้าจะต้องโทษแต่ตนเองสำหรับผลที่ตามมา เนื่องจากฉันจะเป็นผู้ทำให้เจ้าตายสมกับที่เจ้ามีชีวิต[45]

— คอลิด อิบน์ วะลีด

เขาได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วในสี่สมรภูมิ ได้แก่: สงครามโซ่ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามแม่น้ำ ในช่วงสามสัปดาห์ของเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามวาลาจา ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 และสงครามอุลลัยส์ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633[46] ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 อัลฮิราเมืองหลวงประจำแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่างตกเป็นของมุสลิม โดยชาวเมืองยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) และสัญญาว่าจะช่วยฝ่ายมุสลิม[47] หลังจากให้กองทัพพักผ่อนแล้ว คอลิดได้นำกองทัพบุกเมืองอันบาร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 633 แล้วล้อมเมืองจนกระทั่งพวกเขายอมแพ้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[48] แล้วไปทางตอนได้พร้อมกับยึดเมืองอัยนุลตัมร์ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[49]

ตอนนี้เกือบทั้งเมโสโปเตเมียตอนล่าง (แคว้นยูเฟรทีสตอนเหนือ) อยู่ภายใต้การควบคุมของคอลิดแล้ว แต่มีจดหมายถึงคอลิดว่าที่ดุมาตุลญันดัล อิยาด อิบน์ คันม์ ถูกล้อมรอบโดยพวกกบฎ คอลิดจึงต้องลงไปจัดการกับกบฎในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 633[46] ในตอนที่เขาคอลิดกำลังกลับไปที่เมโสโปเตเมีย คอลิดได้บอกว่า เขาแอบไปที่มักกะฮ์เพื่อไปทำ ฮัจญ์[50]

ในตอนที่เขากลับมาจากอารเบีย คอลิดได้รู้จากคนสอดแนมว่ามีกองกำลังทหารเปอร์เซียและชาวอาหรับคริสเตียนขนาดใหญ่[46]ประจำค่ายอยู่สี่ที่ในแคว้นยูเฟรติส ได้แก่เมือง ฮานาฟิซ, ซูมัยล์, ซานิย์ และบริเวณที่ทหารมากที่สุดคือเมืองมูซัยยะฮ์ คอลิดจึงพยายามเลี่ยงสงครามแบบประชันชิดกับกองทัพเปอร์เซียและตัดสินใจบุกทำลายค่ายแต่ละค่ายในเวลากลางคืนโดยการแบ่งทหารเป็นสามหน่วย[51] แล้วจัดการกับกองทัพเปอร์เซียตอนกลางคืน โดยเริ่มที่มูซัยยะฮ์, ซานิย์ และซูมัยล์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 633[52]

ชาวมุสลิมชนะชาวเปอร์เซียในการยึดเมโสโปเตเมียตอนล่างและเมืองทีไซฟอน (Ctesiphon) ที่ไม่มีทหารเฝ้าเมืองอยู่ ก่อนที่จะโจมตีเมืองหลวงของเปอร์เซีย คอลิดตัดสินใจว่าต้องจัดการทหารทางทิศใต้และตะวันตก พร้อมกับเคลื่อนทัพไปที่ชายเมืองฟิราซ แล้วรบชนะกองทหารผสมที่มีทหารเปอร์เซีย, ไบเซนไทน์ และอาหรับคริสเตียนพร้อมกับยึดป้อมปราการในสงครามฟิราซ ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 633[53] นี่จึงเป็นสงครามสุดท้ายเพื่อที่ครอบครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง

ระหว่างที่อยู่ในอิรัก คอลิดได้ตำแหน่งผู้ว่าราชการทหารในบริเวณที่ครอบครอง[54]

การรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์

แก้
 
แผนที่แสดงการรุกของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนที่ลิแวนต์

หลังจากยึดแคว้นในจักรวรรดิเปอร์เซียได้แล้ว เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์จึงมีรับสั่งให้ไปบุกรุกที่ซีเรีย โดยให้มีการแบ่งทหารเป็นสี่ส่วน แต่ละกลุ่มมีจุดหมายที่แตกต่างกัน ส่วนฝั่งไบเซนไทน์ได้รวบรวมทหารจากทุกค่าย[55] สิ่งนี้ทำให้ทหารมุสลิมไม่สามารถเดินแถวไปยึดซีเรียตอนกลางหรือเหนือได้[56]

เส้นทางที่จะไปซีเรียมีสองทาง โดยเส้นทางแรกเป็นทางไปเดามะตุลญันดัล (ปัจจุบันคือ ซะกากา) และอีกทางคือผ่านเมโสโปเตเมียทางเมืองรักกา ตอนนี้ทหารมุสลิมอยู่ที่ซีเรียแล้ว คอลิดจึงเลี่ยงเส้นทางไปเดามะตุลญันดัล เนื่องจากระยะทางไกลและใช้เวลาหลายสัปดาห์ที่จะไปถึงซีเรีย และเลี่ยงเส้นทางผ่านเมโสโปเตเมีย เพราะมีค่ายทหารโรมันอยู่ที่ซีเรียตอนเหนือและเมโสโปเตเมีย[57] คอลิดจึงเลือกทางไปซีเรียโดยผ่านทะเลทรายซีเรีย[58] และสั่งให้เดินขบวนผ่านทะเลทรายโดยไม่ต้องดื่มน้ำเป็นเวลาสองวัน[55] ก่อนที่จะถึงโอเอซิส คอลิดได้บอกให้พวกเขาเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น แล้วให้อูฐดื่มน้ำทันทีหลังจากไม่ได้ดื่มเป็นเวลานาน โดยอูฐจะเก็บน้ำไว้ในท้องของมัน ซึ่งจะทำให้พวกเขาอาจจะต้องฆ่าอูฐเพื่อที่จะเอาน้ำ ถ้าจำเป็น[58]

 
แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรีย

คอลิดเข้าไปที่ซีเรียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 634 แล้วยึดเมืองซาวา อะรัก, ปัลมิยรา, อัลซุคนะฮ์ และสู้รบเพื่อยึดครองเมืองอัลกอรยาตัยน์ และฮุววาริน หลังจากนั้นจึงไปต่อที่บัสรา เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนซีเรีย-อารเบียและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคอสซานิด ประเทศราชของจักรวรรดิไบเซนไทน์ตะวันออก เขาข้ามเมืองดามัสกัสโดยการข้ามทางภูเขาเพื่อจะไปที่มะราจ อัลราฮาต เพื่อสู้กับพวกคอสซานิด[59]

เมื่อข่าวมาถึงคอลิดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงสั่งให้ชูรฮาบิล อิบน์ ฮาซานา หนึ่งในสี่แม่ทัพไปโจมตีเมืองบัสราโดยมีทหาร 4,000 นาย โดยที่ทหารไบเซนไทน์และอาหรับคริสเตียนไม่สามารถต้านทานได้[60] และยึดเมืองได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 634 ทำให้ราชวงศ์คอสซานิดต้องถึงจุดจบ[61] หลังจากยึดเมืองบัสราได้แล้ว คอลิดจึงนำทหารทั้งหมดไปที่อัจนาดัยน์แล้วสู้กับทหารไบเซนไทน์ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 634[62]

หลังจากทหารไบเซนไทน์พ่ายแพ้ในสงครามอัจนาดัยน์ คอลิดตัดสินใจยึดเมืองดามัสกัส ที่ยึดมั่นของทหารไบเซนไทน์ ในขณะเดียวกันที่ดามัสกัส โทมัส ลูกเขยของจักรพรรดิเฮราคลิอุส กำลังเสริมการป้องกันในเมือง[63] รู้ว่าคอลิดกำลังมาที่นี่ เขาจึงเขียนจดหมายไปยังจักรพรรดิเฮราคลิอุสเพื่อต้องการทหารเพิ่ม และที่มากกว่านั้น เขาต้องการที่จะหยุดการเดินทางของคอลิดโดยนำกองทัพออกไปรบ พร้อมกับแบ่งไปที่เมืองยากูซาและมาราจ อัส-ซัฟฟารในวันที่ 19 สิงหาคม.[64] โดยขณะเดียวกัน กองทัพของเฮราคลีอุสได้มาถึงดามัสกัสในวันที่ 20 สิงหาคม คอลิดจึงแยกกองทัพโดยให้ส่วนหนึ่งไปทางตอนใต้ (ทางไปปาเลสไตน์) ,ตอนเหนือ (ทางไปดามัสกัส-เอมีซา) และกองทัพเล็กๆ ไปที่ดามัสกัส ทหารของจักรพรรดิเฮราคลิอุสได้รู้เรื่องนี้แล้วเดินทางไปทางของคอลิดแล้วก่อสงครามที่ซานิตา อัลอุกอบ ซึ่งอยู่ห่างจากดามัสกัสไป 30 กม.[65]

คอลิดจึงสู้และยึดครองซีเรียในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 634 หลังจากล้อมเมืองไป 30 วัน มีรายงานว่า ยุทธวิธีครั้งนี้อาจจใช้เวลาประมาณ 4 - 6 เดือน[66] จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้ข่าวมาว่าเมืองซีเรียถูกยึดแล้ว จึงเหลือแค่เมืองแอนติออกในเอมีซา หลังจากสู้รบแล้ว คอลิดจึงใช้ทางลัดที่ไม่รู้จักเพื่อที่จะสู้รบกับกองทัพต่อ[67] โดยอยู่ห่างจากดามัสกัสทางตอนเหนือไป 150 กม. ในขณะเดียวกัน อบูบักร์เสียชีวิตในระหว่างสงครามดามัสกัส แล้วอุมัรกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป

สมัยอุมัร (634–642)

แก้

ถอดถอนจากการเป็นจอมทัพ

แก้

หลังจากอบูบักร์เสียชีวิตในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 634 จึงทำให้อุมัร ลูกพี่ลูกน้องของคอลิด เป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[58] สิ่งแรกที่อุมัรทำนั้นคือย้ายคอลิดออกจากผู้บัญชาการทางทหารสูงสุดให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพของรัฐเคาะลีฟะฮ์อัรรอชีดีนและให้อบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[66] คอลิดเริ่มที่จะไม่เชื่ออุมัร (เนื่องจากเขาไม่เคยแพ้สงครามใดๆ ทั้งสิ้น) อุมัรจึงบอกว่า:"ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เหตุผลที่ฉันถอดถอนเพราะฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา"[68]

ครอบครองซีเรียตอนกลาง

แก้
 
เส้นทางที่คอลิดบุกรุกในซีเรียตอนกลาง

หลังจากที่อบูอุบัยดะฮ์เป็นจอมทัพแล้ว เขาจึงส่งกองทัพเล็กไปที่อบูอัลกุดส์ (ปัจจุบันคือเมืองอับลา) โดยอยู่ใกล้เมืองซาเล่ประมาณ 50 กม. ทางตะวันออกของเบรุต เพื่อทำลายป้อมทหารในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 634 พร้อมกับได้ทรัพย์สินและนักโทษโรมันอีกร้อยคน[69]

ตอนนี้ซีเรียตอนกลางถูกครอบครอง และเส้นทางเชื่อมระหว่างซีเรียตอนเหนือกับปาเลสไตน์ถูกตัดขาดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงนำกองทัพไปที่ฟะฮัล (เปลลา) ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล500 ft (150 m) และเป็นที่กองทหารและผู้รอดชีวิตจากสงครามอัจนาดัยน์ของไบเซนไทน์อาศัยอยู่[70] แล้ววางแผนข้ามแม่น้ำจอร์แดนในบริเวณที่พวกเขาขวางกั้นน้ำ แล้วสู้รบจนชนะกองทัพไบเซนไทน์ในคืนวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 635[58]

สงครามยัรมูก

แก้

ขณะเดียวกัน จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงแต่งตั้งกองทัพเพื่อยึดซีเรียกลับมาอีกครั้ง โดยใช้เส้นทางที่เลี่ยงทหารมุสลิมในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 636[71] ต่อมา คอลิดเริ่มห่วงว่าทหารมุสลิมอาจถูกแยกและกำจัดโดยง่าย จึงแนะนำให้อบูอุบัยดะฮ์รวมกองทัพมุสลิมให้เป็นหนึ่ง เพื่อรับมือกับกองทัพไบเซนไทน์[72]

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้ทหารมุสลิมในซีเรียทั้งหมดให้เคลื่อนตัวไปที่ญาบิยะฮ์ตามคำแนะนำของคอลิด[73] ซึ่งทำให้แผนของเฮราคลีอุสล้มเหลว เนื่องจากเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับชาวมุสลิม ซึ่งอาจจะทำให้กองทัพของพระองค์ถูกทำลายได้

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้กองทัพมุสลิมเรียงตัวตามพื้นที่ราบของแม่น้ำยัรมูก ซึ่งจะทำเป็นแหล่งผลิตหญ้าและน้ำได้ดีและสามารถใช้ทหารม้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น[74] พร้อมให้ทุกคนทำตามคำสั่งของคอลิด[75]

ณ วันที่ 15 สิงหาคม สงครามยัรมูกได้เกิดขึ้นและกินเวลาไป 6 วัน โดยที่ฝ่ายไบเซนไทน์พ่ายแพ้อย่างหนัก[76]

ครอบครองเมืองเยรูซาเลม

แก้

ในขณะที่ทหารไบเซนไทน์กำลังสับสนอยู่นั้น ชาวมุสลิมสามารถยึดเมืองยัรมูคได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงไปทางตอนใต้เพื่อยึดเมืองเยรูซาเลม ที่ซึ่งทหารไบเซนไทน์หลบภัยมาอยู่ที่นี่[77] จึงมีสงครามอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นชาวเมืองจึงยอมแพ้แต่ต้องให้เคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ด้วยตนเอง อัมร์ อิบน์ อัลอาสจึงแนะนำคอลิดให้รับสั่งเคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ ดังนั้นอุมัรจึงมาที่นี่แล้วชาวเมืองยอมให้ครอบครองเยรูซาเลมในเดือนเมษายน ค.ศ. 637[78]

ครอบครองซีเรียตอนเหนือ

แก้
 
แผนที่แสดงทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรียตอนเหนือ

ตอนนี้เมืองเอมีซาอยู่ในกำมือแล้ว อบูอุบัยดะฮ์และคอลิดจึงนำทัพไปที่กอดีซียะฮ์ เป็นบริเวณที่ทหารไบเซนไทน์ป้องกันอานาโตเลีย บ้านเกิดของจักรพรรดิเฮราคลีอุส, อาร์มีเนียและเมืองแอนติออก อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดไปที่กินนัสริน[79] โดยที่ป้อมมีทหารกรีกภายใต้คำสั่งแม่ทัพเมนาส โดยที่เขามีแผนที่จะทำลายทหารของคอลิดก่อนที่พวกเขาจะรวมตัวกันที่ฮาซิรที่ห่างออกไป 5 กม. ทางตะวันออกของกินนัสริน แต่กลับพ่ายแพ้ในสงครามฮาซิร[80]

อบูอุบัยดะฮ์ได้เข้าร่วมกับคอลิดหลังจากชนะสงครามที่กินนัสรินในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 637 จึงทำให้ทางตอนเหนือของกินนัสรินเหมาะที่จะเดินทัพไปยึดเมืองอะเลปโปจากไบเซนไทน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 637[81]

ก่อนที่จะยกทัพไปแอนติออก คอลิดและอบูอุบัยดะฮ์ตัดสินใจแยกเมืองรอบๆ อานาโตเลีย โดยการยึดฐานทัพที่ตั้งไว้รอบๆ ทางไปแอนติออก และมีสงครามเกิดขึ้นโดยที่นักรบชาวแอนติออกได้ตั้งทัพอยู่ใกล้แม่น้ำโอรอนเตส โดยรู้จักในชื่อสงครามสะพานเหล็ก[82]

อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดให้ไปทางเหนือ ในขณะที่เขาไปทางใต้แล้วยึดเมืองลัซเกีย, ญับลา, ทาร์ทุส และชายทะเลของเทือกเขาแอนตี-เลบานอนตะวันตก ส่วนคอลิดได้บุกรุกที่แม่น้ำเกอเซอ (เกอเซอเลอมาก) ในอานาโตเลีย แต่จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้หนีออกจากแอนติออก แล้วไปที่เอเดสซาก่อนที่ชาวมุสลิมจะมาถึง พร้อมกับจัดกองทัพไว้ที่ญาซีรา และอาร์มีเนีย จากนั้นจึงไปที่คอนสแตนติโนเปิลโดยเกือบที่จะถูกคอลิดจับได้ หลังจากที่เขาได้ยึดเมืองมาราชแล้วไปทางตอนใต้ไปที่มันบิจ[83] จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงใช้ทางภูเขาแล้วผ่านกำแพงซิลิเซียนพร้อมกับตรัสว่า:

ลาก่อน แล้วลาลับให้กับซีเรีย จังหวัดของข้าได้ตกไปยังน้ำมือของศัตรูแล้ว ...โอ้ซีเรีย – แผ่นดินที่สวยงามที่กำลังตกอยู่ในกำมือของศัตรู[84]

— จักรพรรดิเฮราคลีอุส

การต่อสู้ในอาร์มีเนียและอานาโตเลีย

แก้
 
แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกไปที่อาร์มีเนียและอานาโตเลีย

อุมัรได้สั่งให้ไปยึดเมืองญาซีรา โดยทำสำเร็จในช่วงปลายฤดูร้อน ปีค.ศ. 638 หลังจากยึดเมืองญาซีราแล้ว อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดและอิยาด อิบน์ กันม์ไปยึดครองบริเวณทางเหนือของญาซิรา[85] โดยพวกเคลื่อนทัพไปอย่างอิสระ และยึดเมืองเอเดสซา อะมิดา (ดิยาบาเกิร), มาลาเตีย พร้อมบุกรุกไปถึงอาร์มีเนียของไบเซนไทน์, แคว้นอะรารัต และอานาโตเลียตอนกลาง เฮราคลีอุสได้ทิ้งป้อมทั้งหมดที่อยู่ระหว่างแอนติออกกับทาร์ทุส เพื่อสร้างเขตกันชนระหว่างบริเวณที่ชาวมุสลิมควบคุมและเขตอานาโตเลีย[86]

ตอนนั้นเองอุมัรได้กล่าวไว้ว่า: "ฉันหวังว่าเราจะมีกำแพงไฟระหว่างเรากับชาวโรมัน นั่นจะทำให้พวกเขาเข้ามาไม่ได้ และเราก็ไปต่อไม่ได้เช่นกัน"[87]

ถูกถอดถอนจากการเป็นทหาร

แก้

ตอนนี้ คอลิด เป็นโด่งดังและมีคนชื่นชอบเขามาก สำหรับชาวมุสลิมแล้ว เขาคือวีรบุรุษของชาติ[88] และรู้จักกันในสมญานามว่า ซัยฟุลลอฮ์ ("ดาบของอัลลอฮ์")

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากยึดเมืองมาราช (คาฮ์รามามันมาราช)ในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ. 638 โดยมีคนแต่งกวีให้กับคอลิดพร้อมกับรับเงินจำนวน 10,000 ดิรฮัมจากเขา โดยเงินนี้ได้มาจากกองคลังของเคาะลีฟะฮ์[89]

อุมัรได้พูดกับอบูอุบัยดะฮ์ว่าคอลิดนำเงินมาจากไหนให้นักกวีคนนั้น: เป็นเงินจากกระเป๋าของเขาหรือของกองคลัง? ถ้าเขาบอกว่าใช้เงินของกองคลัง เขาจะมีความผิดฐานไม่ซื่อสัตย์[90] ถ้าบอกว่าใข้เงินในกระเป๋าของเขา ก็มีความผิดฐานฟุ่มเฟือย แต่ถ้าไม่ใข่ทั้งคู่เขาสมควรถูกปลดแล้วให้อบูอุบัยดะฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[91]

คอลิดได้ไปที่กินนัสรีนและกล่าวลากับกองทหารเคลื่อนที่ของเขาแล้วไปที่มะดีนะฮ์เพื่อไปพบกับอุมัร พร้อมกับอธิบายว่าเขาทำอะไรผิด อุมัรจึงกล่าวคำสรรเสริญให้กับเขาว่า: "เจ้าได้ทำแล้ว และไม่มีชายคนใดเคยทำได้มาก่อน แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนทำ นั่นเป็นสิ่งที่อัลลออ์กำหนด..."[92]

หลังจากนั้นอุมัรได้อธิบายให้เข้าใจว่า:

ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เพราะผู้คนได้สรรเสริญเขา และฉันจึงกลัวว่าผู้คนคนจะพึ่งพาเขา ฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา และแผ่นดินจะได้ไม่มีผู้หวังร้ายแน่นอน[93]

— เคาะลีฟะฮ์อุมัร

และด้วยเหตุนี้เองทำให้ความสำเร็จทางทหารของคอลิดได้มาถึงจุดจบ

เสียชีวิต

แก้
 
สุสานของคอลิดในมัสยิดคอลิด อิบนุ วะลีด, ฮอมส์ – ประเทศซีเรีย
 
สุสานของคอลิด

หลังจากถูกถอดถอนออกจากการเป็นทหารมา 4 ปี คอลิดก็เสียชีวิตและถูกฝังที่เอมีซาในปีค.ศ. 642 ปัจจุบันสุสานของเขาอยู่ในมัสยิดคอลิด อิบนุ วะลีด ป้ายสุสานของคอลิดแสดงรายชื่อสงครามมากกว่า 50 ครั้งโดยที่เขาไม่เคยแพ้ (ไม่รวมสงครามย่อยๆ)[94] มีรายงานว่าเขาต้องการที่จะเสียชีวิตในฐานะผู้พลีชีพในสงคราม แต่ได้รับความผิดหวังเมื่อเขารู้ว่าจะต้องเสียชีวิตบนเตียงนอน[95] คอลิดจึงรู้สึกเศร้าเสียใจ แล้วพูดว่า:

ข้าได้เข้ารบหลายครั้ง เพื่อที่จะเป็นผู้พลีชีพ ร่างกายของข้าไม่มีรอยจุด, แผลเป็น และรอยแผลที่เกิดจากหอกหรือดาบเลย และตอนนี้ข้าต้องนอนตายเหมือนกับอูฐแก่...[96]

— คอลิด อิบน์ วะลีด

เมื่อเห็นเขารู้สึกเศร้า เพื่อนของคอลิดจึงบอกว่า:

เจ้าต้องเข้าใจนะ โอ้คอลิด เมื่อศาสนทูตของอัลลอฮ์ (มุฮัมมัด) ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ได้ให้สมญานามเจ้าว่า ซัยฟุลลอฮฺ และท่านกำหนดไว้ว่าเจ้าจะไม่แพ้สมรภูมิใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเจ้าถูกฆ่าโดยผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว นั่นหมายความว่าดาบของอัลลอฮ์ได้ถูกทำลายลงโดยศัตรูของอัลลอฮ์; และนั่นไม่สมควรที่จะเกิดขึ้น[97]

— เพื่อนเก่าของคอลิด

นี่คือคำพูดที่พูดไว้แค่วันเดียวก่อนที่คอลิดจะเสียชีวิต อุมัรได้ร้องไห้หนักมากและกล่าวว่า:

ขอให้พระองค์ทรงเมตตาเจ้า อบู สุไลมาน (คอลิด) สิ่งที่เจ้าทำตอนนี้ดีกว่าสิ่งที่เจ้ามีในวันนี้ ตอนนี้เจ้าอยู่กับองค์อัลลอฮ์แล้ว...[98]

— อุมัร อิบน์ คอฏฏอบ

ครอบครัว

แก้

คอลิดมีภรรยาและลูกหลายคน รายชื่อด้านล่างนี้คือลูกที่มีในบันทึกทางประวัติศาสตร์

ลูกชายของวะลีด ได้แก่:
ลูกสาวของวะลีด ได้แก่:

ไม่มีใครรู้ว่าคอลิดมีลูกกี่คน แต่มีอยู่สามคนที่ถูกกล่าวในประวัติศาสตร์ ได้แก่:

  • สุไลมาน อิบน์ วะลีด
  • อับดุลเรมาน อิบน์ วะลีด
  • มุฮาญิร อิบน์ วะลีด[99]

สุไลมาน ลูกชายที่แก่ที่สุดของคอลิดถูกฆ่าในอียิปต์[99] แต่มีบางรายงานเขียนว่าเขาถูกฆ่าในสงครามดิยาร์บากิรในปี ค.ศ. 639[100] มุฮาญิร อิบน์ วะลีดเสียชีวิตในสงครามซิฟฟิน และอับดุลเรมาน อิบน์ วะลีดยังคงเป็นผู้ว่าราชการเมืองเอมีซาในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน แล้วเข้าร่วมสงครามซิฟฟินโดยเป็นหนึ่งในแม่ทัพของมุอาวิยะฮ์ที่ 1, เข้าร่วมยึดคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 674 อับดุลเรมาน อิบน์ วะลีด จึงกลายเป็นคนที่จะเป็นกษัตริย์คนต่อไป แต่มีรายงานว่าเขาโดนวางยาพิษของมุอาวิยะฮ์[99] เพราะว่าเขาต้องการให้ยะซีดที่ 1 ลูกชายของเขาเป็นกษัตริย์คนต่อไปแทน[99]

อ้างอิง

แก้
  1. Khalid ibn al-Walid, Encyclopædia Britannica. Retrieved. 17 October 2006.
  2. Akram 2004, p. 496
  3. Akram 2004, p. 499
  4. Alkhateeb, Firas (2017). Lost Islamic History: Reclaiming Muslim Civilisation from the Past (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 43. ISBN 9781849046893.
  5. Akram 2004, p. 2
  6. Muhammad ibn Saad, Tabaqat vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina pp. 195-196. London: Ta-Ha Publishers.
  7. 7.0 7.1 7.2 Akram 2004, p. 3
  8. Weston 2008, p. 41
  9. Akram 2004, p. 70
  10. Akram 2004, p. 14
  11. Akram 2004, p. 75
  12. Al-Waqidi & 8th century, p. 321
  13. Walton 2003, p. 208
  14. Ghadanfar, Mahmood Ahmad (2001). The Commanders of Muslim Army (ภาษาอังกฤษ). Darussalam Publishers. p. 31.
  15. Nicolle 2009, p. 22
  16. Akram 2004, p. 80
  17. Ghadanfar, Mahmood Ahmad (2001). The Commanders of Muslim Army (ภาษาอังกฤษ). Darussalam Publishers. p. 42.
  18. Akram 2004, p. 128
  19. "List of Battles of Muhammad". Military.hawarey.org. 28 ตุลาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2011.
  20. 20.0 20.1 The sealed nectar, By S.R. Al-Mubarakpuri, Pg256. Books.google.co.uk. มกราคม 2002. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2011.
  21. 21.0 21.1 ""He sent Khalid bin Al-Waleed in Ramadan 8 A.H", Witness-Pioneer.com". Witness-pioneer.org. 16 กันยายน 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2011.
  22. The life of Mahomet and history of Islam, Volume 4, By Sir William Muir, Pg 135 See bottom, Notes section
  23. The life of Mahomet and history of Islam, Volume 4, By Sir William Muir, Pg 135. Books.google.co.uk. 1861. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2011.
  24. Ibn Ishaq, Sirat Rasul Allah (Life of Muhammad), trans. Guillaume, Oxford 1955, pp. 561–562
  25. al-Tabari, Victory of Islam, trans. Fishbein, Albany 1997, pp. 188 ff.
  26. In the Footsteps of the Prophet:Lessons from the Life of Muhammad, By Tariq Ramadan Page 179 [1]
  27. Tafsir Ibn Kathir all 10 volumes By IslamKotob Page
  28. The Meaning And Explanation Of The Glorious Qur’an (Vol 2) 2nd Edition By Muhammad Saed Abdul-Rahman Page 241 [2]
  29. 29.0 29.1 Abu Khalil, Shawqi (1 มีนาคม 2004). Atlas of the Prophet's biography: places, nations, landmarks. Dar-us-Salam. p. 239. ISBN 978-9960-897-71-4.
  30. 30.0 30.1 Abū Khalīl, Shawqī (2003). Atlas of the Quran. Dar-us-Salam. p. 244. ISBN 978-9960-897-54-7.
  31. 31.0 31.1 Rahman al-Mubarakpuri, Saifur (2005), The Sealed Nectar, Darussalam Publications, p. 277
  32. Muir, William (10 สิงหาคม 2003). Life of Mahomet. Kessinger Publishing Co. p. 458. ISBN 978-0-7661-7741-3. A full online version of it is available here [3][ลิงก์เสีย]
  33. Muir, William (10 สิงหาคม 2003). Life of Mahomet. Kessinger Publishing Co. p. 458. ISBN 978-0-7661-7741-3.
  34. 34.0 34.1 34.2 Nicolle 2009, p. 25
  35. Akram 2004, p. 167
  36. Walton 2003, p. 17
  37. Akram 2004, p. 178
  38. Al-Tabari 915, pp. 501–502
  39. Al-Tabari 915, p. 496
  40. Al-Tabari 915, p. 502
  41. Tabari: Vol. 2, Page no: 5
  42. Akram 2004, p. 183
  43. Akram 2004, p. 188
  44. Morony 2005, p. 223
  45. History of the World, Volume IV [Book XII. The Mohammedan Ascendency], page 463, by John Clark Ridpath, LL.D. 1910.
  46. 46.0 46.1 46.2 Morony 2005, p. 224
  47. Morony 2005, p. 233
  48. Morony 2005, p. 192
  49. Jaques 2007, p. 18 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFJaques2007 (help)
  50. Akram 2004, p. 215
  51. Akram 2004, p. 217
  52. Morony 2005, p. 225
  53. Morony 2005, p. 230
  54. Morony 2005, p. 149
  55. 55.0 55.1 Allenby 2003, p. 68
  56. Gil 1997, p. 40
  57. Akram 2004, p. 267
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 Gil 1997, p. 43
  59. Gil 1997, p. 41
  60. Akram 2004, p. 270
  61. Jaques 2007, p. 155 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFJaques2007 (help)
  62. Jaques 2007, p. 20 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFJaques2007 (help)
  63. Nicolle 1994, p. 58
  64. Jaques 2007, p. 636 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFJaques2007 (help)
  65. Nicolle 1994, p. 57
  66. 66.0 66.1 Walton 2003, p. 28
  67. Nicolle 1994, p. 59
  68. Allenby 2003, p. 70
  69. Akram 2004, p. 305
  70. Nicolle 1994, p. 52
  71. Akram 2004, p. 409
  72. Gil 1997, p. 45
  73. Weston 2008, p. 50
  74. Nicolle 1994, p. 63
  75. Walton 2003, p. 29
  76. Walton 2003, p. 30
  77. Gil 1997, p. 51
  78. Gil 1997, p. 53
  79. Nicolle 1994, p. 84
  80. Akram 2004, p. 429
  81. Jaques 2007, p. 28 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFJaques2007 (help)
  82. Akram 2004, p. 445
  83. Haykal 1990, p. 145
  84. Akram 2004, p. 448
  85. Haykal 1990, p. 146
  86. Haykal 1990, pp. 146–47
  87. Haykal 1990, p. 147
  88. Weston 2008, p. 43
  89. Gil 1997, p. 49
  90. Akram 2004, p. 481
  91. Weston 2008, p. 45
  92. Akram 2004, p. 487
  93. Akram 2004, p. 488
  94. Akram 2004, p. 501
  95. Akram 2004, p. 494
  96. Ibn Qutaybah & 9th century, p. 267
  97. Akram 2004, p. 303
  98. Muhammad Khalid, Khalid (2004). Men Aroud The Messenger (ภาษาอังกฤษ). Islamic Book Service. p. 128. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2018.
  99. 99.0 99.1 99.2 99.3 Akram 2004, p. 497
  100. Ring and Salkin, 1996, p.193.

บรรณานุกรม

แก้

ข้อมูลปฐมภูมิ

แก้

ข้อมูลทุติยภูมิ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้