อภิรดี ยิ่งเจริญ

ข้าหลวงผู้ใหญ่ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และ 10

พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา; 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563) เป็นคุณข้าหลวงผู้ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ และเป็น “พลเอกหญิง” คนแรกและคนเดียวจนปัจจุบันที่เป็นสามัญชน


อภิรดี ยิ่งเจริญ

เกิดอัพภิรดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[1]
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
ประเทศสยาม
เสียชีวิต30 กันยายน พ.ศ. 2563 (94 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
คู่สมรสอวยชัย ยิ่งเจริญ
บุตร4 คน
บิดามารดาพลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์)
ท่านผู้หญิงโพยม เสนีณรงค์ฤทธิ์

ประวัติ

แก้

พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญเป็นธิดาคนใหญ่ของพลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงโพยม เสนีณรงค์ฤทธิ์ (สกุลเดิม ณ นคร) มีน้องร่วมบิดามารดาหกคน ได้แก่

  1. อธึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  2. จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตองคมนตรีไทย
  3. พลโทอุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตราชองครักษ์
  4. นายแพทย์เสนี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  5. ณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
  6. มณีรัตน์ มรรคดวงแก้ว อดีตเลขานุการกรมชลประทาน

การศึกษา

แก้

ท่านผู้หญิงอภิรดีจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์[2] โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)[3]

ครอบครัว

แก้

ท่านผู้หญิงอภิรดีสมรสกับอวยชัย ยิ่งเจริญ มีบุตรธิดาสี่คน ได้แก่

  1. กรองใจ บุนนาค
  2. กุลศักดิ์ ยิ่งเจริญ
  3. กุลยา ฉิมคล้าย
  4. ดุลทัศน์ ยิ่งเจริญ[4]

อนิจกรรม

แก้

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกเซาะเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 สิริอายุ 94 ปีวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสอง ที่ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายย่อมุม ทรงพระศพหักเหลี่ยมทรงไม้สิบสอง ฝายอดทรง มงกุฎปิดทอง ประดับกระจกสี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ณ ศาลา 100 ปี ปิยมหาราชอนุสรณ์ วัดเบญจมบพิตร วันที่ 1 ตุลาคม 2563

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระราชทานเพลิงศพในเวลา 18.31 น.

ยศทางทหาร

แก้

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ได้รับพระราชทานยศทางทหารจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังนี้

  • พันโทหญิง (20 เมษายน พ.ศ. 2538)[5]
  • ราชองครักษ์พิเศษ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2538) อัตราพันโท[6]
  • พลตรีหญิง (28 มีนาคม พ.ศ. 2540)[7]
  • พลโทหญิง (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)[8]
  • พลเอกหญิง (9 กันยายน พ.ศ. 2549)[9]
อภิรดี ยิ่งเจริญ
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ9 กันยายน พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ชั้นยศ  พลเอก

รับใช้เบื้องพระยุคลบาท

แก้

ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ เป็นพระอภิบาล (พี่เลี้ยง) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพระหว่างปี พ.ศ. 2495-2498 และเป็นคุณข้าหลวงผู้ใหญ่ รับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ท่านผู้หญิงอภิรดีดูแลงานภายในของพระองค์ด้วย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (0 ง): 2050. 12 พฤษภาคม 2496.
  2. "ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  3. 3.0 3.1 "ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2549 สมาคมศิษย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  4. เล่าลือ หลังวัง เก็บถาวร 2007-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก thaimonarchy.com
  5. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ]
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (20ข): 31. 2 ธันวาคม 2542. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2541" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (23ข): 50. 2 ธันวาคม 2541. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2533" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (74ง ฉบับพิเศษ): 4. 4 พฤษภาคม 2533. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน (พันโทหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (10 ข): 8. 10 กรกฎาคม 2538. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 (พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (28 ข): 1. 6 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้