หลุมยุบ (อังกฤษ: sinkhole) คือ ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะพื้นผิวพังทลายเป็นหลุม ซึ่งเกิดจากหินตะกอนที่มีองค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน ชั้นเกลือ หรือ หินตามธรรมชาติที่สามารถถูกละลายด้วยน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน จะทำให้หินใต้ดินดังกล่าวละลาย เกิดช่องว่างใต้ดินขึ้น จนถึงจุดๆหนึ่งที่บริเวณพื้นผิวมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้เกิดการถล่ม เกิดเป็นหลุมยุบ[1][2][3][4]

หลุมยุบ

หลุมยุบปรากฏและพบมากในหลายๆ รัฐของประเทศอเมริกา เช่น ฟลอริดา เท็กซัส อลับามา เคนตักกี้ และเพนซิวาเนีย เป็นต้น

สาเหตุการเกิดหลุมยุบ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากธรรมชาติเท่านั้น อาจจะจากการกระทำของมนุษย์ได้ เช่น การใช้งานที่ดินทางด้านชลประทานหรือการสูบน้ำ เพื่อการก่อสร้างและพัฒนา หรือมีการก่อสร้างและส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนทางน้ำ หรือระบบทางน้ำธรรมชาติใหม่ หรือ มีการปล่อยน้ำจากโรงงานอุตสาหรรม ซึ่งจากที่กล่าวมาทำให้เกิดหลุมยุบได้ หรือการบรรทุกของที่หนักเกินไป ถนนที่รถบรรทุกวิ่งผ่านมากๆ ย่อมทำให้เกิดหลุมยุบได้เร็วยิ่งขึ้น

กระบวนการเกิดหลุมยุบ

แก้

หลุมยุบจากธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการละลายของชั้นหินด้วยสารละลายที่เป็นกรดหรือน้ำฝนที่เป็นกรดไหลซึมลงใต้ดิน เมื่อหินจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน หินโดโลไมต์ ทำปฏิกิริยากับน้ำสารละลายกรดก็จะเกิดการละลายกลายเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้ผิวดิน

สาเหตุ

แก้
 
กระบวนละลาย
 
การทรุดตัวของชั้นดินที่ปกคลุม
 
การพังทลายของชั้นดินที่ปกคลุม
  • การละลายของหินปูนหรือหินโดโลไมต์สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อหินชนิดนี้โผล่พ้นผิวดิน รอยแตกรอยแยกในหินจะเป็นช่องทางให้น้ำฝนหรือน้ำใต้ดินที่เป็นกรดไหลผ่านและทำให้เกิดการละลายขึ้น หลุมยุบลักษณะนี้จะทำให้เกิดหุบเขาขนาดเล็กหรือพื้นที่ทรุดตัวแบบตื้น[5]
  • หลุมยุบชนิดนี้เกิดจากการไหลของตะกอนร่วนจำพวกทรายลงไปตามโพรงหรือช่องว่างที่อยู่ข้างใต้ ในขณะที่บนผิวดินจะค่อยๆ ทรุดตัวลงเนื่องจากตะกอนที่หายไป อัตราการทรุดตัวอาจจะใช้เวลานานหากชั้นดินมีดินเหนียวปน หรือมีความหนาของชั้นดินที่ปิดทับมาก
  • หลุมยุบชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมง และสร้างความเสียหายอย่างมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่หินปูนถูกปิดทับด้วยชั้นตะกอนดินเหนียว หลุมยุบจะมีลักษณะฝนังที่ชัน ตรงกลางเป็นแอ่งรูปชาม
  • หลุมยุบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การรั่วซึมของท่อน้ำใต้ดินสามารถทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินได้ มักเกิดในเขตชุมชนเมือง และสามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งอาจจะมีรูปร่างของหลุมแตกต่างกันไป การประเมินสาเหตุของหลุบยุบลักษณะนี้ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด
  • หลุมยุบจากหินภูเขาไฟ เกิดขึ้นจากการละลายของชั้นหินปูน (หรือหินโดโลไมต์) ที่รองรับอยู่ข้างใต้จนทำให้เกิดโพรงใต้ดิน ซึ่งเมื่อโพรงใต้ดินขยายใหญ่ขึ้นก็จะรับน้ำหนักจากด้านบนไม่ไหว จึงเกิดการถล่มลง กลายเป็นหลุมขนาดใหญ่ พื้นที่ส่วนมากประกอบด้วยหินพัมมิส (pumice) เศษเถ้าภูเขาไฟที่เกาะกันอย่างหลวมๆ และเศษวัสดุต่างๆ
  • หลุมยุบในทะเล หลุมยุบที่พบนอกชายฝั่งของประเทศเบลีซ ริมทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่กลางแนวปะการังที่เรียกว่า Lighthouse Reef มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 300 เมตร และลึก 124 เมตร เกิดขึ้นในยุคน้ำแข็งของยุคควอเทอร์นารี ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลมีระดับต่ำกว่าปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. Williams, Paul (2004). "Dolines". ใน Gunn, John (บ.ก.). Encyclopedia of Caves and Karst Science (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. pp. 628–642. ISBN 978-1-57958-399-6.
  2. Kohl, Martin (2001). "Subsidence and sinkholes in East Tennessee. A field guide to holes in the ground" (PDF). State of Tennessee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 July 2015. สืบค้นเมื่อ 18 February 2014.
  3. Thomas, David; Goudie, Andrew, บ.ก. (2009). The Dictionary of Physical Geography (3rd ed.). Chichester: John Wiley & Sons. p. 440. ISBN 978-1444313161.
  4. Monroe, Watson Hiner (1970). "A glossary of Karst terminology". U.S. Geological Survey Water Supply Paper. 1899-K. doi:10.3133/wsp1899k.
  5. "Sinkholes". Water Science School. U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้