หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสาส; 7 มิถุนายน พ.ศ. 2458 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526) เป็นหม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
งามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา | |
---|---|
หม่อมงามจิตต์ และพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร สามี | |
เกิด | งามจิตต์ สารสาส 7 มิถุนายน พ.ศ. 2458 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526 (68 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา มีชื่อเดิมว่า งามจิตต์ สารสาส เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2458 เป็นธิดาของพันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) (บุตรของใหญ่ กับจำรัส สุนทานนท์) และนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์; ธิดาของพระยาราชายสาธก (ง่วนสุน อัศวนนท์) อดีตนายด่านศุลกากรจังหวัดสมุทรปราการ กับคุณหญิงฟอง ราชายสาธก) เกิดในย่านเขตดุสิต หม่อมงามจิตต์มีพี่น้อง 4 คน[1]
หม่อมงามจิตต์สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล) โดยใช้นามสกุล ฉัตรชัย ณ อยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล บุรฉัตร สำหรับหม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา และสามี มีพระโอรสบุญธรรมหนึ่งคน คือ หม่อมหลวงธีรฉัตร ฉัตรชัย ซึ่งแท้จริงเป็นพระภาคิไนยของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร โดยเป็นโอรสของท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล พระขนิษฐาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
หม่อมงามจิตต์ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526
หลังจากอนิจกรรม
แก้หลังจากที่หม่อมงามจิตต์ถึงแก่อนิจกรรม ได้มีการก่อตั้ง มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงคุณงามความดี และความสามารถของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ปูชนียบุคคลระดับโลกที่มีผลงานดีเด่น ได้รับคัดเลือกให้เป็นให้เป็นประธานสภาสตรีระหว่างประเทศคนแรกและคนเดียวในประเทศไทยในรอบ 120 ปี และมีการจัดงานเป็นประจำทุกปี โดยมอบรางวัล หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร แก่ครู เจ้าหน้าที่ ในจังหวัดที่รับผิดชอบงานมูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าอย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศไทย ดังนี้
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2510 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดำสาแหรกของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พ.ท.พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2519" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (80): 1354. 1 มิถุนายน 2519.