สมชาย อาสนจินดา
สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 19 กันยายน พ.ศ. 2536) เป็นนักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชายชาวไทย เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533
ส. อาสนจินดา | |
---|---|
ชื่อเกิด | สมชาย อาสนจินดา |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 กันยายน พ.ศ. 2536 (71 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | สมใจ เศวตศิลา |
บุตร | 7 คน |
อาชีพ | นักแสดง, นักหนังสือพิมพ์, นักเขียนบท, ผู้กำกับการแสดง, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2492 - 2536 |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) |
พระสุรัสวดี | ลำดับภาพยอดเยี่ยม พ.ศ. 2500 - มงกุฎเดี่ยว พ.ศ. 2529 - บ้าน พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ |
โทรทัศน์ทองคำ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2533 - เกมกามเทพ |
ประวัติ
แก้ส. อาสนจินดา เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง
จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ส. อาสนจินดาสมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของ ฯพณฯพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา อดีตองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493 [1] มีบุตร 7 คน[2]
ปี พ.ศ. 2513 ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมศิลปินแห่งประเทศไทย
นักหนังสือพิมพ์
แก้เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ
เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน [1] เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ
อาชีพนักแสดง
แก้เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน [3][1] ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น
นักสร้างภาพยนตร์
แก้ส. อาสนจินดาเป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรี
เจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง, หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง
ส.อาสนจินดา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากการสูบบุหรี่ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
ผลงานกำกับภาพยนตร์และอำนวยการสร้าง
แก้- โนห์รา (2509)
- ขุนตาล (2512)
- นางละคร (2512)
- ไอ้เปีย (2512)
- ต้อยติ่ง (2512)
- ตาลเดี่ยว (2512)
- ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
- หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
- หวานใจ (2513)
- ทุ่งมหาราช (2513)
- คมแฝก (2513)
- ไอ้สู้ (2513)
- ท่าจีน (2513)
- จอมบึง (2513)
- ภูตเสน่หา (2513)
- ไอ้ยอดทอง (2513)
- วิญญาณดอกประดู่ (2513)
- เพชรพระอุมา (2514)
- มดตะนอย (2514)
- ดอกดิน (2514)
- คนใจเพชร (2514)
- รักข้ามขอบฟ้า (2514)
- ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
- กระท่อมปรีดา (2515)
- หนองบัวแดง (2516)
- เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
- ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
- อย่ารักฉัน (2517)
- ผู้ดีเถื่อน (2517)
- โสมสลัว (2517)
- ผัวเช่า (2517)
- ธิดาพญายม (2517)
- ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)
- ตะวันรอนที่หนองหาร (2517)
- คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
- หัวใจราชสีห์ (2518)
- นักเลงป่าสัก (2518)
- 7 ดอกจิก (2518)
- ตะวันลับฟ้า (2518)
- โซ่เกียรติยศ (2518)
- หนี้รัก (2518)
- ผยอง (2518)
- สาวแสบ (2518)
- ระห่ำลำหัก (2518)
- นักเลงเทวดา (2518)
- แผ่นดินของเรา (2519)
- กบฎหัวใจ (2519)
- ท้องนาสะเทือน (2519)
- ใครใหญ่ใครอยู่ (2519)
- น้ำตาลใกล้มด (2519)
- นรกตะรูเตา (2519)
- นางงูเห่า (2519)
- ลืมตัว (2519)
- หมัดไทย (2519)
- เผาขน (2519)
- เพลิงแพร (2519)
- อัศวิน 19 (2519)
- 17 ทหารกล้า (2519)
- ดรรชนีไฉไล (2519)
- หนึ่งต่อเจ็ด (2520)
- ความรักไม่มีขาย (2520)
- จันดารา (2520)
- แดงอังคาร (2520)
- 7 ประจัญบาน (2520)
- เกวียนหัก (2521)
- รอยไถ (2522)
- ไอ้ปืนเดี่ยว (2522)
- อินทรีแดง ตอน พรายมหากาฬ (2523)
- รักลอยลม (2523)
- นรกสาว (2523)
- เจ้าพายุ (2523)
- หนึ่งน้องนางเดียว (2523)
- ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
- ศรีธนญชัย (2524)
- กำแพงหัวใจ (2524)
- แผ่นดินต้องสู้ (2524)
- ชีวิตเลือกไม่ได้ (2524)
- ดาวกลางดิน (2525)
- เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)
- กตัญญูประกาศิต (2526)
- พยัคฆ์ยี่เก (2526)
- เห่าดง (2526)
- เหล็กเพชร (2527)
- ไอ้หม่าลูกแม่ (2527)
- สเว็ตเตอร์สีแดง (2527)
- เสือลากหาง (2527)
ผลงานภาพยนตร์
แก้- ไอ้เปีย (2512)
- ขุนตาล (2512) รับบท ป้าสอ
- นางละคร (2512)
- 4 สิงห์อิสาน (2512) รับบท ฉกรรจ์อุบล
- หาดใหญ่ใจสู้ (2512) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
- ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512) รับบท โศลญา
- ต้อยติ่ง (2512)
- แม่ย่านาง (2513) รับบท บิดาของจอม
- ดาวพระเสาร์ (2513)
- ไอ้สู้ (2513) รับบท ประยูร
- ข้าชื่อจ่าแผน (2514)
- สะใภ้ยี่เก (2514)
- ดอกดิน (2514)
- รอยแค้น (2515)
- ภูกระดึง (2516) รับบท เฒ่าเจิม
- ผาเวียงทอง (2516)
- เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
- เวียงพยอม (2516)
- ตลาดอารมณ์ (2517)
- คุณครูที่รัก (2517)
- ด้วยปีกของรัก (2517)
- ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517)
- มือปืนพ่อลูกอ่อน (2518) รับบท นายพลวังปอ
- หัวใจราชสีห์ (2518)
- คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518) รับบท นายสุรเดช
- มาหยารัศมี (2518)
- เพื่อเธอที่รัก (2518)
- แผ่นดินของเรา (2519) รับบท พระวรนาถประณต
- แผลเก่า (2520) รับบท ผู้ใหญ่เขียน (พ่อขวัญ)
- หนักแผ่นดิน (2520)
- แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู (2520)
- เกวียนหัก (2521) รับบท ตาแอบ
- ชาติผยอง (2521) รับบท ศรายุทธ
- สยิว (2521)
- ผีเพื่อนรัก (2521) รับบท ลุงของธีรลิต
- เพลงรักดอกไม้บาน (2522) รับบท นายแย้ม
- เลือดทมิฬ (2522) รับบท พ่อของต๋อง
- สุดห้ามใจรัก (2522) รับบท คุณพระบริรักษ์
- เลือดสุพรรณ (2522) รับบท มังมหาสุรนาท
- แผ่นดินเถื่อน (2522) รับบท ลุงของคมสัน
- แม่สะเรียงที่รัก (2522) รับบท พ่อเต๋า
- รอยไถ (2522) รับบท ตลุย
- สลักจิต (2522) รับบท เจ้าคุณภักดีบดินทร์
- หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)
- อุกาฟ้าเหลือง (2523) รับบท เฒ่าหลัก
- เต้าฮวยไล่เหลี่ยว (2523)
- พ่อจ๋า (2523) รับบท ท่านเจ้าคุณอภิราชรังสรรค์
- คลื่นเสน่หา (2523) รับบท ลุงของเอกรินทร์ (รับเชิญ)
- อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หลวงเสนาะ
- นายอำเภอคนใหม่ (2523) รับบท ลุงเปลี่ยน
- ไอ้ขุนเพลง (2523) รับบท พ่อพึ่ง
- รุ้งเพชร (2523) รับบท ลุงของรุ่ง
- ย. ยอดยุ่ง (2523) รับบท นายพิกัด
- อาอี๊ (2523) รับบท ยาโส่ย
- ทองผาภูมิ (2523) รับบท เอิน
- แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
- ศรีธนญชัย (2524)
- กำแพงหัวใจ (2524) รับบท นเรนทร์
- แผ่นดินต้องสู้ (2524)
- รักข้ามคลอง (2524) รับบท พ่อของเอก
- ฟ้าเพียงดิน (2524)
- แม่กาวาง (2524)
- สามเสือสุพรรณ (2524) รับบท เสือฝ้าย
- ชายสามโบสถ์ (2524)
- ไอ้ค่อม (2524) รับบท พ่อของเธอ
- นกน้อย (2524) รับบท ลุงของจักร
- สาวน้อย (2524) รับบท พระชาญชลาศัย
- พ่อปลาไหล (2524) รับบท หลวงณรงค์สงครามชัย
- ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
- สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
- กระท่อมนกบินหลา (2525)
- ดวงตาสวรรค์ (2525) รับบท ตาพ่วง (พ่อของแพน)
- นายอำเภอไข่ดาว (2525)
- พระเอกรับจ้าง (2525) รับบท ทางบ้าน
- สะใภ้ลูกทุ่ง (2525) รับบท พ่อของเธอ
- ปลากริมไข่เต่า (2525) รับบท นายบุญธรรม
- รักมหาสนุก (2525) รับบท นายกำแหง
- ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525) รับบท พระพันวษา
- รักข้ามรั้ว (2525) รับบท พ่อตา
- ไอ้หนุ่มรถไถ่ (2525) รับบท ลุงของดอกรัก
- มาดามยี่หุบ (2525) รับบท กำนันหอกทอง
- เฮงสองร้อยปี (2525) รับบท พ่อของหญิง
- สาวจอมกวน (2525)
- สวัสดีไม้เรียว (2525)
- พันท้ายนรสิงห์ (2525) รับบท พระยาราชสงคราม
- นิจ (2526) รับบท เจ้าคุณสุรแสนสงคราม
- แม่ยอดกะล่อน (2526)
- หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท บุญทิ้ง
- สาวแดดเดียว (2526) รับบท ลุงของเอก
- เลขาคนใหม่ (2526) รับบท ลุงของวีรชัย
- พยัคฆ์ยี่เก (2526) รับบท ลุงพรหม
- น.ส. เย็นฤดี (2526) รับบท ตายืน
- ยูงรำแพน (2526)
- เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
- กำนันสาว (2526) รับบท กำนันเล็ก
- ดรุณี 9 ล้าน (2526)
- ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว (2526)
- อย่าหยุดสู้ (2526)
- พญายมพนมรุ้ง (2526) รับบท ลุงของมด
- รักที่ต้องรอ (2527)
- แม่มะนาวหวาน (2527)
- ลวดหนาม (2527)
- เด็กปั๊ม (2527)
- รักนี้เราจอง (2527)
- คุณนาย ป.4 (2527)
- สาวนาสั่งแฟน (2527) รับบท ลุงของไม้
- อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527) รับบท นายจ้าง
- ผ่าโลกบันเทิง (2527) รับบท ตาน้ำ
- 10 คงกระพัน (2527)
- ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527) รับบท ลุงของแยม
- เสือลากหาง (2527)
- ไอ้หม่าลูกแม่ (2527) รับบท เยี่ยมญาติ
- รักที่ถูกลืม (2527)
- ทับทิมโทน (2528)
- หัวใจเถื่อน (2528) รับบท ร.ม.ต.กวี พิชิตพงษ์
- นางฟ้ากับซาตาน (2528) รับบท ลุงของกร้าว
- สามเณรใจสิงห์ (2528) รับบท หลวงตา
- ผู้การเรือเร่ (2528) รับบท คุณพ่อนักเลง
- หลานสาวเจ้าสัว (2528) รับบท ลุงของธนะรัชต์
- ตำรวจบ้าน (2528) รับบท ลุงของสงคราม
- เขยบ้านนอก (2528)
- นางเสือดาว (2528) ลุงของพรเทพ
- หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท เจ้าคำแสง
- สามล้อซี 5 (2528) รับบท ลุงของเล็ก
- ตะวันยิ้มแฉ่ง (2528) รับบท ลุงของตะวัน
- ปลัดเพชรบ่อพลอย (2528)
- ครูสมศรี (2529) รับบท ครูทองย้อย
- ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (2529) รับบท ลุงของต้อม
- โกยมหาสนุก (2529) รับบท สัปเหร่อ
- แด่คุณครูด้วยหัวใจ (2529) รับบท พ่อของเทวัญ
- เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529) รับบท มั่น
- วันนี้ยังมีรัก (2529)
- ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529) รับบท ลุงของเส็ง
- แหม่มกะปิ (2529) รับบท ลุงของสหรัฐ
- รักหน่อยน่า (2529)
- บ้าน (2530) รับบท พ่อปู่
- อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
- ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530) รับบท ลุงของวิษณุ
- ทายาทคนใหม่ (2531) รับบท พ่อของพิพัฒน์
- 2482 นักโทษประหาร (2531) รับบท พระยาเทพหัสดิน
- ซอสามสาย (2531) รับบท เชฟออเคสตร้า
- คุณจ่าเรือแจว (2531) (รับเชิญ)
- ผมรักคุณนะ (2531)
- แอบฝัน (2531)
- รักเธอเท่าฟ้า (2532) รับบท พ่อของติ๊ก
- บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท มหาแจ่ม
- แม่เบี้ย (2532) รับบท ลุงทิม
- บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท มหาแจ่ม
- 3 กบาล (2533) (รับเชิญ)
- เล่นกับไฟ (2533) รับบท คุณปู่
- ก้อนหินในดินทราย (2533) รับบท ลุงเหลิม (รับเชิญ)
- ด๊อกเตอร์ครก (2535)
- โตแล้วต้องโต๋ (2535)
- รัก ณ สุดขอบฟ้า (2535)
- ตามล่าแต่หาไม่เจอ (2535) (รับเชิญ)
- บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท มหาแจ่ม (รับเชิญ)
- ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536) รับบท ลุงสมชาย
- มือปืน 2 สาละวิน (2536) รับบท พ่อเลี้ยงทวีพงศ์
- อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท สมภารวัดขนุน
- มาดามยี่หุบ ภาค 2 (2537) รับบท กำนันหอกทอง
- ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2538) รับบท บ๊อก
ละครโทรทัศน์
แก้- ศิวาราตรี (2520) ช่อง 9
- ลูกทาส (2521) ช่อง 3
- ขุนศึกมหาราช (2522) ช่อง 5
- เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2522) ช่อง 5
- ผู้ชนะสิบทิศ (2523) ช่อง 9
- สี่แผ่นดิน (2523) ช่อง 5
- ในฝัน (2523) ช่อง 5
- ข้าวนอกนา (2523) ช่อง 7
- ไฟรัก ไฟพยาบาท (2524) ช่อง 3
- แดงสะพรั่งดั่งดวงใจ (2524) ช่อง 5
- สลักจิต (2524) ช่อง 3
- มายาสีเงิน (2524) ช่อง 3
- ข้างหลังภาพ (2524) ช่อง 5
- หลง (2524) ช่อง 9
- จดหมายจากเมืองไทย (2525) ช่อง 7
- ปราสาทมืด (2525) ช่อง 5
- ลุงคำ (2525) ช่อง 7
- สิ้นสวาท (2526) ช่อง 5
- คนเดินดิน (2526) ช่อง 9
- พ่อปลาไหล (2526) ช่อง 3
- ทัดดาวบุษยา (2527) ช่อง 5
- ขยะเปื้อนทอง (2527) ช่อง 9
- ขมิ้นกับปูน (2527) ช่อง 9
- คำพิพากษา (2528) ช่อง 3
- กตัญญูพิศวาส (2528) ช่อง 3
- ระนาดเอก (2528) ช่อง 7
- พรายนางแก้ว (2529) ช่อง 3
- ทองพลุและสหาย (2529) ช่อง 9
- สื่อรักภูติน้อย (2530) ช่อง 5
- เจ้าหญิงขันทอง (2530) ช่อง 3
- มหาเวสสันดรชาดก (2530) ช่อง 5
- ในม่านเมฆ (2530) ช่อง 9
- เล็บครุฑ (2530) ช่อง 5
- พินัยกรรมมรณะ (2531) ช่อง 3
- เวิ้งระกำ (2531) ช่อง 7
- ตะรุเตา (2531) ช่อง 7
- เกมกามเทพ (2531) ช่อง 3
- จอมศึกเสน่หา (2531) ช่อง 3
- คนเริงเมือง (2531) ช่อง 3
- สามีตีตรา (2531) ช่อง 3
- ระบำไฟ (2531) ช่อง 3
- ผู้ชนะสิบทิศ (2532) ช่อง 3
- สายลับสองหน้า (2532) ช่อง 7
- สมองของเฒ่าสุข (2532) ช่อง 9
- ผู้พิชิตมัจจุราช (2532) ช่อง 3
- กตัญญูประกาศิต (2533) ช่อง 3
- ตะกายดาว ตอน น้ำตาดาว (2533) ช่อง 9 รับเชิญ
- โหด เลว อ้วน (2533) ช่อง 3
- ตะกายดาว ตอน ลาดาว (2533) ช่อง 9 รับเชิญ
- พิษสวาท (2534) ช่อง 5
- ชลาลัย (2534) ช่อง 5
- แก้วขนเหล็ก (2534) ช่อง 3
- แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534) ช่อง 5 รับเชิญ
- วนิดา (2534) ช่อง 3
- ลิขิตพิศวาส (2534) ช่อง 9
- ผู้การเรือเร่ (2534) ช่อง 5
- แม่เบี้ย (2534) ช่อง 7
- ละอองเทศ (2534) ช่อง 9
- บ่วง (2535) ช่อง 3
- เณรน้อย (2535) ช่อง 3
- ถ่านเก่าไฟใหม่ (2535) ช่อง 3
- ไฟรักอสูร (2535) ช่อง 3 รับเชิญ
- อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3
- เงารัก (2536) ช่อง 3
ละครเวที
แก้- แม่เบี้ย (2531)
- ผู้ชนะสิบทิศ (2534)
ผลงานด้านการประพันธ์ (นวนิยาย)
แก้- ดอกแก้ว
- ชุมทางเขาชุมทอง
- ชีวิตพิสดาร (อันแสนจะบัดซบ) ของข้าพเจ้า
- พรุ่งนี้ จะรดน้ำศพ
- เผาขน
รางวัล
แก้ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผล | ผลงานที่เข้าชิง |
---|---|---|---|---|
2500 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | มงกุฏเดี่ยว |
2501 | บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | กตัญญูประกาศิต | |
2505 | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | เรือนแพ | |
2523 | รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | เลือดสุพรรณ |
รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | อุกาฟ้าเหลือง | |
2529 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | บ้าน |
2530 | รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | บ้าน |
2533 | รางวัลศิลปินแห่งชาติ | ศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) | ได้รับรางวัล | |
2536 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | ณ สุดขอบฟ้า |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 แถมสิน รัตนพันธุ์. ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
- ↑ รายการ คู่ทรหด (พ.ศ. 2534) คู่ทรหดประจำฤดูร้อน ปี 2534 ฉายซ้ำ 7 กรกฎาคม 2558 ช่อง Workpoint1
- ↑ ศักดิ์เกษม หุตาคม เข้ามาชักชวนให้อิศรา อมันตกุล เล่นแทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แต่อิศราปฏิเสธ ศักดิ์เกษมจึงขอร้องให้สมชายรับแสดงแทน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชีวิตพิสดาร (อันแสนจะบัดซบ) ของข้าพเจ้า ส. อาสนจินดา หนังสืออัตชีวประวัติ
- ส.อาสนจินดา เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน