ข้างหลังภาพ คือ นวนิยายประพันธ์โดยศรีบูรพา หรือชื่อจริงว่า กุหลาบ สายประดิษฐ์ เริ่มตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อ พ.ศ. 2479 เป็นเรื่องราวของความรักต่างวัย ต่างสถานะ นอกจากเรื่องราวที่กินใจแล้ว ภาษาที่ใช้ในเรื่องเป็นภาษาที่งดงาม มีวลีที่เป็นที่ชื่นชอบมากมาย นวนิยายเรื่องนี้เมื่อรวมเล่มได้รับการตีพิมพ์ซ้ำถึง 47 ครั้ง ยังได้รับการยกย่องด้วยความงามในเชิงวรรณศิลป์ และแสดงเป็นละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมถึงละครเวที ในรูปแบบละครเพลงอีกด้วย

ข้างหลังภาพ
ผู้ประพันธ์ศรีบูรพา
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ประเภทโรแมนติก
ฉากท้องเรื่องประเทศญี่ปุ่น, ประเทศสยาม/ไทย
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2481 (พิมพ์ครั้งแรก)
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่องนี้โดยอาศัยประสบการณ์จริงที่เคยไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2479 และจากความคุ้นเคยกับเจ้านายในราชสกุลวรวรรณ หลายพระองค์ที่เป็นพี่น้องกับ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าตัวละคร หม่อมราชวงศ์กีรติ น่าจะถอดแบบมาจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ [1] บางคนคาดว่าถอดแบบมาจากพระนางเธอ ลักษมีลาวัณ แต่ชนิด สายประดิษฐ์ ภริยาของผู้แต่งระบุว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน [2][3]

ข้างหลังภาพ ตีพิมพ์ตอนแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ต่อเนื่องจนจบบทที่ 12 ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2480 ถึงตอนที่ ม.ร.ว.กีรติ ลาจากนพพรที่ท่าเรือโกเบ โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อรวมพิมพ์ครั้งแรกโดย สำนักงานนายเทพปรีชา ศรีบูรพาได้แต่งเพิ่มอีก 7 บท รวมเป็น 19 บท โดยตอนที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย [3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 ศรีบูรพาได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ "นพพร-กีรติ" เป็นจดหมายรัก ที่เขียนถึงระหว่างกัน ตีพิมพ์ในหน้า 255 ถึง 273 ของหนังสือรวมเรื่องสั้น "ผาสุก" ของสำนักพิมพ์อุดม และได้นำไปรวมเล่มใน ข้างหลังภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ในเวลาต่อมา [3]

เนื้อเรื่อง

แก้

นพพร และ หม่อมราชวงศ์กีรติ พบกันครั้งแรกที่สถานีรถไฟโตเกียว นพพรมีอายุ 22 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยริคเคียว ขณะที่หม่อมราชวงศ์กีรติ หญิงวัย 35 มาฮันนีมูนกับพระยาอธิการบดีผู้เป็นสามีที่แก่คราวพ่อ ทั้งยังเป็นเพื่อนสนิทกับพ่อของนพพร จึงขอร้องให้นพพรพาหม่อมราชวงศ์กีรติเที่ยวญี่ปุ่น เพราะตัวท่านเองแก่เกินกว่าจะไปไหนต่อไหนได้สะดวก แต่ก็ยังอยากให้หม่อมราชวงศ์กีรติสนุกกับการอยู่ญี่ปุ่น และนั่นเป็นโอกาสให้นพพร เด็กหนุ่มที่ไม่เคยรู้จักความรักมาก่อนได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้หญิงที่สวยสง่า กิริยาวาจาแช่มช้อยเป็นผู้ดี แม้เธอจะสูงวัยกว่า แต่เมื่อยิ่งได้ใกล้ชิด นพพรก็ยิ่งหลงรักเทอดทูนหม่อมราชวงศ์กีรติ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าเธอแต่งงานแล้ว นพพรเฝ้าถามหม่อมราชวงศ์กีรติว่าทำไมเธอจึงแต่งงานกับชายรุ่นพ่อ ทั้ง ๆ ที่เธอทั้งสวยสง่า ฉลาด และฐานะเดิมก็ดีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งไม่ได้ถูกใครบังคับและไม่ได้รักท่านเจ้าคุณด้วย ทุกครั้งที่นพพรถามหม่อมราชวงศ์กีรติเลี่ยงที่จะตอบ จนวันหนึ่งเขาพาเธอไปเที่ยวมิตาเกะ หม่อมราชวงศ์กีรติที่ตามปกติจะวางตัวสง่างาม กลับกลายเป็นสาวน้อย ผู้ร่าเริงท่ามกลางแมกไม้ สายลม และความหลังที่เป็นความลับของหม่อมราชวงศ์กีรติจึงถูกเปิด และทุกครั้งที่นพพร ถามว่าหม่อมราชวงศ์กีรติรักเขาไหม คุณหญิงกีรติไม่เคยตอบตรงคำถามเลย ส่วนนพพรยืนยันว่า “ผมจะรักคุณหญิง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย”

6 ปีล่วงไป นพพรสำเร็จการศึกษาและฝึกหัดงานที่ญี่ปุ่นพอสมควรแก่การแล้วก็กลับสยาม ในขณะนี้หม่อมราชวงศ์กีรติเป็นหม้ายแล้วและบำเพ็ญชีวิตอยู่อย่างสงบ เขาทั้งสองคนได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการพบที่นพพรรู้สึกเหมือนพบพี่สาวที่ดีคนหนึ่งเท่านั้น เวลา 6 ปีในญี่ปุ่นได้เปลี่ยนจิตใจของนพพรเด็กหนุ่มผู้อ่อนแก่ความรักให้เป็นชายหนุ่มญี่ปุ่นที่ไม่ใคร่จะคิดถึงใครจะคิดถึงอะไรนอกจากงานและการตั้งตัวเท่านั้น ครั้นแล้วนพพรก็แต่งงานกับคู่หมั้นที่บิดาหาไว้ให้เมื่อครั้งก่อนไปศึกษาอยู่ที่ญี่ปุ่น เมื่อแต่งงานแล้วได้สองเดือน นพพรได้ทราบว่าหม่อมราชวงศ์กีรติได้เจ็บหนักด้วยวัณโรคและอยากพบเขา จนแพทย์และพยาบาลรู้สึกว่าควรจะมาตามเขาให้ไปพบเพื่อให้คนไข้ได้สงบจิตใจในวาระสุดท้าย นพพรก็ไปเยี่ยมและหม่อมราชวงศ์กีรติก็ให้ภาพเขียนที่ระลึกถึงสถานที่ให้กำเนิดความรักแก่เขาทั้งสอง ซึ่งเป็นภาพวาดโดยฝีมือของเธอเอง พร้อมด้วยคำตัดพ้อบางประโยคเป็นที่สะกิดใจนพพรให้ระลึกถึงความหลังและหวนคิดเสียดายอาลัยคนรักคนแรกของตน ครั้นแล้วหม่อมราชวงศ์กีรติสตรีผู้อาภัพในเรื่องรักก็ถึงแก่กรรมใน 7 วันต่อมา

นักแสดงนำ

แก้
ปี พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2561
รูปแบบการนำเสนอ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ 35 มม., สโคป ภาพยนตร์ 35 มม., ไวด์สกรีน ละครเวที ละครบรอดเวย์ ละครเวที
ชื่อเรื่อง ข้างหลังภาพ ข้างหลังภาพ ข้างหลังภาพ ข้างหลังภาพ
เดอะมิวสิคัล
Waterfall Ladies of the Stage
ออกอากาศ/
ฉายเมื่อ/แสดงที่
ช่อง 5 27 เมษายน 2528 30 มีนาคม 2544 รัชดาลัย เธียเตอร์ เดอะพาซาดีน่า
เพลย์เฮาส์
รัชดาลัย เธียเตอร์
ผู้ผลิต รัชฟิล์ม ทีวี ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น สหมงคลฟิล์ม ซีเนริโอ ริชาร์ด มาลท์บี จูเนียร์ ซีเนริโอ
ผู้กำกับ/ผู้สร้าง กนกวรรณ ด่านอุดม เปี๊ยก โปสเตอร์ เชิด ทรงศรี ถกลเกียรติ วีรวรรณ
นพพร นิรุตติ์ ศิริจรรยา อำพล ลำพูน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ธนทัต ชัยอรรถ
หม่อมราชวงศ์กีรติ อรัญญา นามวงศ์ นาถยา แดงบุหงา คาร่า พลสิทธิ์ สุธาสินี พุทธินันท์ เซียร์รา บ็อกเกสส์ คัทลียา แมคอินทอช

การสร้าง

แก้

ละครโทรทัศน์

แก้

ข้างหลังภาพแสดงเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5[4] นำแสดงโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับบท นพพร และ อรัญญา นามวงศ์ รับบท คุณหญิงกีรติ ออกอากาศทุกวันอังคาร-ศุกร์ เวลา 20.45 น.[5]

ภาพยนตร์

แก้

ข้างหลังภาพ สร้างเป็นภาพยนตร์สองครั้ง ได้แก่

ละครเวที

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เนื่องจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ ทรงกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ พันเอกมังกร พรหมโยธี ใกล้เคียงกับในเรื่อง ที่ นายพันตรี นายทหารคนสนิทของท่านผู้นำ ขอ ม.ร.ว.กีรติ แต่งงาน
  2. เชิด ทรงศรี, บทความ "63 ปี ของภาพที่มี...ข้างหลัง", เขียนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
  3. 3.0 3.1 3.2 ณัฏฐวี ทศรฐ. ข้างหลังภาพ ความรักบนแผ่นฟิล์ม. กรุงเทพฯ : ระหว่างบรรทัด, 2544. 128 หน้า. ISBN 974879674-4
  4. "อรัญญา นามวงษ์ นางเอกอมตะบันเทิงไทย (อรัญญา นามวงษ์ ตอนที่ 16)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-11.
  5. อรัญญา นามวงษ์ จากละคร "ข้างหลังภาพ" ช่อง 5 ภาพจากหนังสือปี 2525
  6. 6.0 6.1 ierra Boggess Will Star in Lab Presentations of New Richard Maltby, Jr.-David Shire Musical Behind the Painting
  7. 7.0 7.1 Auditions for BEHIND THE PAINTING
  8. ""WATERFALL a new musical" แรงบันดาลใจจาก "ข้างหลังภาพ เดอะมิวสิคัล"". mgronline.com. 2023-08-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้