สโมสรฟุตบอลราชบุรี

สโมสรฟุตบอลราชบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเล่นในไทยลีก

ราชบุรี เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลราชบุรี
ฉายาราชันมังกร
ก่อตั้งพ.ศ. 2547
สนามราชบุรี สเตเดียม
ความจุ13,000
เจ้าของบริษัท ราชบุรี ฟุตบอลคลับ จำกัด
ประธานธนวัชร นิติกาญจนา
ผู้จัดการโรแบร์ต พรอกูว์เรอร์
ผู้ฝึกสอนวรวุธ ศรีมะฆะ
ลีกไทยลีก
2566–67อันดับที่ 6
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ประวัติสโมสร

แก้

สโมสรฟุตบอลราชบุรี เริ่มต้นในการส่งทีมเข้าแข่งขันฟุตบอลกีฬาแห่งชาติ และคว้าเหรียญทองแดง ที่มหานครเกมส์ ปี 2543 และร่วมฟุตบอลโปรวินเชียลลีก ดิวิชั่น 2 สามารถคว้าแชมป์มาครองได้ในปี 2549 จนได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 1 ในปี 2550 โดยได้อันดับ 12 ทำให้ในปี 2551 ทีมสโมสรราชบุรี เอฟซี มาเล่นในลีกดิวิชั่น 2 ซึ่งได้อันดับ 7 ส่วนในปี 2552 นั้น การแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงระบบการจัดการแข่งขัน ซึ่งแบ่งออกเป็นโซนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากมีทีมจากหลายจังหวัดทั่วทุกภาค ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขัน สโมสรฟุตบอลราชบุรี นั้นอยู่ในโซนภาคกลางและตะวันออก และได้อันดับ 9 มา 2 ฤดูกาลติดต่อกัน

หลังจบฤดูกาล 2564–65 สโมสรได้รับรางวัลสโมสรสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย[1] และก่อนเปิดฤดูกาล 2565–66 สโมสรได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการที่กลุ่มมิตรผลได้ยกเลิกเป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับทีม ทำให้ในฤดูกาลนี้ทางสโมสรจะใช้ชื่อทีมลงแข่งขันในนามสโมสรฟุตบอลราชบุรี เป็นการสิ้นสุดหลังจากร่วมงานกันนานกว่า 11 ปี ในชื่อสโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล[2]

สัญลักษณ์สโมสร

แก้

สนามเหย้า

แก้
 
ราชบุรี สเตเดียม

สโมสรฟุตบอลราชบุรี ใช้สนามราชบุรี สเตเดียม เป็นสนามเหย้า สนามแห่งนี้มีความจุทั้งหมด 12,000 ที่นั่ง สร้างด้วยงบประมาณสูงกว่า 300 ล้านบาท โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2558 และเปิดใช้งานครั้งแรกในศึกไทยลีก ฤดูกาล 2559 นัดที่ราชบุรีพบกับอาร์มี่ ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF   กาบรีแยล มูว์ตงโบ
4 DF   โจนาธาร เข็มดี
5 DF   อภิสิทธิ์ โสรฎา (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
6 MF   ตานา
7 MF   ทัตสึยะ ทานากะ
8 MF   ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร
9 FW   คิม จี-มิน
10 MF   จักรพันธ์ แก้วพรม (กัปตันทีม)
11 FW   โมฮาเหม็ด มารา
15 DF   อดิศร พรหมรักษ์
16 MF   ศิวกร จักขุประสาท
17 MF   สิรวิชญ์ เกษรสุมล
19 DF   สุพร ปีนะกาตาโพธิ์ (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 DF   จิรวัฒน์ ทองแสงพราว
23 MF   พงศกร สังขโสภา
24 DF   วรวุฒิ นามเวช (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
25 FW   เกลม็อง เดอเพรซ
27 MF   เจสซี เคอร์แรน
29 MF   เกียรติศักดิ์ เจียมอุดม
37 MF   กฤษณนน ศรีสุวรรณ
39 GK   ชุติเดช เหมือนใจงาม
40 MF   เอ็นจีวา ราโคโตฮารีมาลาลา
69 GK   กฤษณุชา เหมือนเสน
77 MF   ฟาอิค โบลเกียห์
88 MF   โชติภัทร พุ่มแก้ว
99 GK   กัมพล ปฐมอรรฆย์กุล

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมสตาฟโค้ช

แก้
ตำแหน่ง สตาฟ
ประธานสโมสร   ธนวัชร นิติกาญจนา
ผู้อำนวยการสโมสร   โรแบร์ต พรอกูว์เรอร์
หัวหน้าผู้ฝีกสอน   วรวุธ ศรีมะฆะ
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน   สมชาย ไม้วิลัย
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู   ไพศาล จันทร์ประเสริฐ
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส   คาร์ลอส ฆิเมเนซ ซานเชซ

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน

แก้

เกียรติประวัติ

แก้
ชนะเลิศ (1): 2012
ชนะเลิศ (1): 2011
  • ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก:
ชนะเลิศ (1): 2011
รองชนะเลิศ (2): 2012, 2013
ชนะเลิศ (1): 2016 (ครองแชมป์ร่วมกับ ชลบุรี เอฟซี, ชัยนาท ฮอร์นบิล และ สุโขทัย เอฟซี)
รองชนะเลิศ (1): 2019

สถิติของสโมสร

แก้

ผลงานแบ่งตามฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ลีก[3] เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2550 ดิวิชัน 1 22 5 4 13 31 40 19 อันดับที่ 12  –
2551 ดิวิชัน 2 20 7 9 4 32 26 30 อันดับที่ 7  –
2552 ดิวิชัน 2 กลาง-ตะวันออก 22 4 9 9 31 33 21 อันดับที่ 9  –
2553 ดิวิชัน 2 กลาง-ตะวันออก 30 12 9 9 45 39 45 อันดับที่ 9  –
2554 ดิวิชัน 2 กลาง-ตะวันออก 30 20 8 2 67 19 68 อันดับที่ 1 รอบที่สอง รอบแรก  – พรชัย อาจจินดา 18+(5)
2555 ดิวิชัน 1 34 24 6 4 85 31 78 อันดับที่ 1 รอบที่สี่ รองชนะเลิศ  – ดักกลาส 19
2556 ไทยพรีเมียร์ลีก 32 6 12 14 31 39 30 อันดับที่ 15 รอบที่สาม รองชนะเลิศ  – ดักกลาส 10
2557 ไทยพรีเมียร์ลีก 38 17 14 7 62 42 65 อันดับที่ 4 รอบที่สี่ รอบรองชนะเลิศ  – เอเบร์ชี 26
2558 ไทยพรีเมียร์ลีก 34 17 4 13 48 50 55 อันดับที่ 7 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบที่สาม  – เอเบร์ชี 19
2559 ไทยลีก 30 14 7 9 52 35 49 อันดับที่ 6 ชนะเลิศ* รอบแรก  – เอเบร์ชี 20
2560 ไทยลีก 34 16 7 11 63 49 55 อันดับที่ 6 รอบแรก รอบรองชนะเลิศ  – Marcel Essombé 20
2561 ไทยลีก 34 12 7 15 50 50 43 อันดับที่ 12 รอบรองชนะเลิศ รอบแรก  – คัง ซู-อิล 13
2562 ไทยลีก 30 10 8 12 48 48 38 อันดับที่ 8 รองชนะเลิศ รอบ 16 ทีมสุดท้าย  – อียานิก บอลี 12
2563–64 ไทยลีก 30 13 7 10 48 41 46 อันดับที่ 8 รอบ 8 ทีมสุดท้าย  –  – ฟิลิป โรลเลอร์ 14
2564–65 ไทยลีก 30 9 9 12 32 36 36 อันดับที่ 12 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 8 ทีมสุดท้าย รอบแบ่งกลุ่ม แดร์เลย์ 13
2565–66 ไทยลีก 30 10 11 9 32 39 41 อันดับที่ 8 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ  – แดร์เลย์ 8
2566–67 ไทยลีก 30 11 6 13 39 35 39 อันดับที่ 6 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ เอ็นจีวา ราโคโตฮารีมาลาลา 9
2567–68 ไทยลีก  –
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผลงานระดับทวีป

แก้
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2564 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่มจี   โปฮัง สตีลเลอร์ส 0–0 0–2 อันดับที่ 4
  โจโฮร์ดารุลตักซิม 0–1 0–0
  นาโงยะ แกรมปัส 0–4 0–3

สโมสรพันธมิตร

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ผลการประกาศรางวัล 27 สาขา FA Thailand Awards 2021/22". 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2022.
  2. แยกทางมิตรผล! ฟลุค คอนเฟิร์มใช้ชื่อ "ราชบุรี เอฟซี" - เตรียมเปิดตัวผู้สนับสนุนใหม่
  3. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้