สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้

สื่อหรือรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ หมายถึงตัวแทนของข้อมูลหรือสารสนเทศที่มนุษย์สามารถอ่านได้โดยธรรมชาติ

รหัสแท่งอันแสดงข้อมูลที่ทั้งมนุษย์และเครื่องสามารถอ่านได้

ในทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ มนุษย์สามารถอ่านได้ มักจะเข้ารหัสเป็นข้อความแอสกีหรือยูนิโคด (เป็นตัวหนังสือ) มากกว่าที่จะแสดงแทนด้วยเลขฐานสอง ข้อมูลแทบจะทั้งหมดสามารถแจงส่วนได้ด้วยเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งหรือสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะสม ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เลือกรูปแบบเลขฐานสองเหนือกว่ารูปแบบข้อความ มุ่งไปที่ปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ว่างของหน่วยเก็บ เนื่องจากการแทนเลขฐานสองตามปกติจะใช้พื้นที่เพียงไม่กี่ไบต์ และประสิทธิภาพของการเข้าถึง (อินพุตและเอาต์พุต) โดยไม่ต้องผ่านการแปลงหรือแจงส่วนซ้ำ

ในบริบทส่วนใหญ่ อีกทางหนึ่งของตัวแทนที่มนุษย์สามารถอ่านได้ก็คือ สื่อหรือรูปแบบของข้อมูลที่ เครื่องสามารถอ่านได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชิงกล หรือเชิงแสง หรือคอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลได้เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น รหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) เป็นรหัสแท่งที่มนุษย์อ่านเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าอ่านด้วยอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะได้ผลดีและน่าเชื่อถือมาก แต่ในขณะเดียวกันสายอักขระของตัวเลขที่ประกอบอยู่บนฉลากมีเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านสารสนเทศของรหัสแท่งนั้น ในบางเขตอำนาจศาล ฉลากรหัสแท่งที่ใช้ในการค้าปลีกจะต้องแสดงราคาที่มนุษย์สามารถอ่านได้บนสินค้านั้น

เมื่อภาษามาร์กอัปเชิงโครงสร้างอย่างสูงและเป็นมาตรฐานเกิดขึ้น เช่นเอกซ์เอ็มแอล (XML) หน่วยเก็บข้อมูลมีราคาถูกลง และเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นแต่ถูกลง ทำให้ความสามารถในการอ่านได้ของมนุษย์และเครื่อง เรียกได้ว่าแทบจะไม่แตกต่างกันอย่างในอดีต นอกจากนี้ ตัวแทนข้อมูลเชิงโครงสร้างสามารถบีบอัดได้อย่างมีประสิทธิผลมาก สำหรับการส่งผ่านหรือการเก็บบันทึก

องค์การหลายองค์การได้กำหนดนิยามข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านได้กับข้อมูลที่เครื่องสามารถอ่านได้ และวิธีการที่จะนำมาใช้ในสาขาที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล [1]

บ่อยครั้งที่ศัพท์ มนุษย์สามารถอ่านได้ นำไปใช้อธิบายถึงชื่อหรือสายอักขระขนาดสั้น ที่ง่ายต่อการเข้าใจและการจดจำมากกว่าสัญกรณ์วากยสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและขนาดยาว เช่น สายอักขระยูอาร์แอล (URL) [2]

อ้างอิง

แก้
  1. "OCR and Human readable representation of data on postal items, labels and forms". Universal Postal Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 2014-09-28.
  2. "Human-readable URLs". Plone Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.