บาร์โค้ด
บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง (อังกฤษ: barcode) เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่อ่านได้ด้วยแสง (optical machine-readable) ซึ่งข้อมูลนั้นมักเกี่ยวข้องกับวัตถุที่มันติดอยู่ บาร์โค้ดโดยแรกเริ่มใช้รูปแบบ "บาร์" หรือ "แท่ง" คือเส้นขนานหลาย ๆ เส้นที่มีความหนาและช่องไฟต่าง ๆ วางเรียงกันอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งรูปแบบนี้อาจเรียกว่า เชิงเส้น หรือ หนึ่งมิติ (1D) ก็ได้ เวลาต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ ใน สองมิติ (2D) ถึงแม้ระบบสองมิตินี้ใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลาย โดยรวมก็ยังคงเรียกว่าบาร์โค้ดอยู่เช่นเดิม บาร์โค้ดดั้งเดิมอ่านด้วยเครื่องกราดภาพด้วยแสงชนิดพิเศษที่เรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แต่ต่อมาเครื่องกราดภาพชนิดอื่นและซอฟต์แวร์แปลความหมายก็มีให้ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะชนิดอยากที่ที่กราดภาพได้ และสมาร์ตโฟน
บาร์โค้ดถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อติดป้ายกำกับรถรางแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จนกระทั่งระบบ ณ จุดขายอัตโนมัติในซูเปอร์มาร์เก็ตได้นำบาร์โค้ดไปใช้ ซึ่งเป็นงานหนึ่งที่ทำให้บาร์โค้ดแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก การใช้งานบาร์โค้ดก็แพร่กระจายไปยังงานอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับการระบุและการจับข้อมูลอัตโนมัติ (automatic identification and data capture: AIDC) บาร์โค้ดสมัยใหม่ในรูปแบบรหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) อันแรกสุดที่ถูกอ่าน คือบาร์โค้ดที่ติดอยู่บนห่อหมากฝรั่งริกลีย์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1974 [1]
โดเรม่อน 3D ปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์เหมือนบาร์โค้ดในปัจจุบัน
บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่
- รหัสคิวอาร์ (QR Code)
- ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix)
- รหัสแม็กซี (MaxiCode)
- รหัสอีซี (EZcode)
- รหัสแอซเทค (Aztec Code)
- เอ็มเอสแท็ก (MS Tag) บาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์
อ้างอิง
แก้- ↑ Fox, Margalit (June 15, 2011), "Alan Haberman, Who Ushered In the Bar Code, Dies at 81", The New York Times
- Automating Management Information Systems: Barcode Engineering and Implementation – Harry E. Burke, Thomson Learning, ISBN 0-442-20712-3