รัฐสภาสิงคโปร์

(เปลี่ยนทางจาก รัฐสภาแห่งสิงคโปร์)

รัฐสภาแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (อังกฤษ: Parliament of the Republic of Singapore) คือฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศสิงคโปร์เมื่อรวมกับประธานาธิบดี โดยมีพื้นฐานมาจากระบบเวสต์มินสเตอร์ โดยเป็นระบบสภาเดี่ยวและประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา (MPs) ที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาแบบแต่งตั้งที่ไม่สังกัดเขตเลือกตั้ง (NCMPs) และสมาชิกรัฐสภาโดยการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี (NMPs) ซึ่งมาจาการแต่งตั้ง จากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ค.ศ. 2020 ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 93 คน กับอีก 2 คนจากแบบไม่สังกัดเขตเลือกตั้ง และอีก 9 คนจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี รัฐสภาสมัยปัจจุบันคือสมัยที่ 14[1][2]

รัฐสภาแห่ง
สาธารณรัฐสิงคโปร์
  • Malay:Parlimen Republik Singapura
    Chinese:新加坡共和国国家议会
    Tamil:சிங்கப்பூர் நாடாளுமன்றம்
สมัยที่ 14
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานรัฐสภา
ตัน ชวนจิน, พรรคกิจประชาชน
ตั้งแต่ 11 กันยายน ค.ศ. 2017
ลี เซียน ลุง, พรรคกิจประชาชน
ตั้งแต่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2004
เฮง สวี เกียต, พรรคกิจประชาชน
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
ประธานผู้ประสานงานรัฐสภา
อินทรานี ราชา, พรรคกิจประชาชน
ตั้งแต่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2020
ผู้นำฝ่ายค้าน
พริทาม ซิงห์, พรรคแรงงาน
ตั้งแต่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2020
โครงสร้าง
สมาชิก104 ที่นั่ง
(เลือกตั้ง 93 คน, แต่งตั้ง 2 คน และแต่งตั้งโดยปธน 9 คน)
14th Parliament of Singapore - 20100715.svg
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (83)
  •   PAP (83)

ฝ่ายค้าน (12)

  •   WP (10)
  •   PSP (2 จากแบบแต่งตั้งที่ไม่สังกัดเขตเลือกตั้ง)

สมาชิกแต่งตั้ง (9)

  •   ไม่สังกัดพรรค (9)
การเลือกตั้ง
ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
10 กรกฎาคม ค.ศ. 2020
ที่ประชุม
Singaporeparliament2012.JPG
ที่ทำการรัฐสภา
สิงคโปร์ สิงคโปร์
เว็บไซต์
www.parliament.govt.sg

บทบาทหน้าที่หลักของรัฐสภาได้แก่ การตรากฎหมาย การกำกับการใช้งบประมาณแผ่นดิน และการกำกับดูแลรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้ถาม โดยจะเปิดประชุมสภาสมัยแรกคือทันทีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป และจะปิดประชุมเมื่อหมดสมัยประชุม หรือกรณียุบสภา รัฐสภามีวาระไม่เกิน 5 ปี โดยเมื่อครบกำหนดแล้วจะเป็นการยุบสภาโดยอัตโนมัติ โดยจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายในเวลาสามเดือน

รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุมได้ ญัตติหมายถึงข้อเสนอใด ๆ ที่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการลงมติหรือเป็นข้อเสนอเพื่อขอความเห็นจากที่ประชุมในเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยผู้เสนอญัตติต้องดำเนินการแจ้งต่อรัฐสภาล่วงหน้าอย่างน้อยสองวันหากผู้เสนอเป็นรัฐมนตรีและหนึ่งสัปดาห์หากเป็นญัตติที่เสนอโดยสมาชิกรัฐสภาทั่วไป นอกจากนั้น ให้ทุกญัตติที่ผู้เสนอเป็นสมาชิกรัฐสภาต้องมีผู้รับรองอย่างน้อยหนึ่งคน โดยก่อนการอภิปรายให้สมาชิกที่เสนอญัตติอธิบายถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ในการเสนอญัตติดังกล่าว และให้ประธานรัฐสภากล่าวเป็นถ้อยแถลงในรูปของคำถามปลายเปิดเพื่ออนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายในญัตติดังกล่าว หลังจากเสร็จสิ้นการอภิปรายแล้วให้ผู้เสนอญัตติกล่าวตอบในประเด็นที่สมาชิกสงสัยหรือเกี่ยวข้อง จากนั้นถึงขั้นตอนการพิจารณาเพื่อลงมติว่าจะให้ปฏิบัติตามญัตติดังกล่าวทั้งหมดหรือควรแก้ไขเพิ่มเติม หรือพิจารณาลงมติให้ญัตตินั้นตกไป


หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แม่แบบ:Singapore Hansard; Zakir Hussain (15 January 2016), "President's address to Parliament: Singaporeans must move together to create next chapter, says Dr Tony Tan", The Straits Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2016; Chong Zi Liang (15 January 2016), "President's address to Parliament: Government to study if further changes to political system needed", The Straits Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2016; Walter Sim (15 January 2016), "President's address to Parliament: Government will keep Singapore relevant and competitive amid slowing economy", The Straits Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2016.
  2. "Janil Puthucheary reappointed PAP party whip, Sim Ann remains deputy party whip". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-08-19.