สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1

สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 มีชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (อาร์มีเนีย: Հայաստանի Հանրապետություն, อักษรโรมัน: Hayastani Hanrapetut'yun[b]) เป็นรัฐเอกราชที่ดำรงอยู่ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ในดินแดนที่มีประชากรอาร์นีเนียอาศัยอยู่ในอดีตจักรวรรดิรัสเซีย (ที่รู้จักกันในชื่อ "อาร์มีเนียตะวันออก" หรือ "อาร์มีเนียของรัสเซีย") สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หลังจากการล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เยเรวาน[a] ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูรัฐอาร์มีเนียขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่สมัยกลาง

สาธารณรัฐอาร์มีเนีย

Հայաստանի Հանրապետություն
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1920
เพลงชาติՄեր Հայրենիք
แมร์ฮัยแรนิค
"ปิตุภูมิของเรา"
แผนที่สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 1919
แผนที่สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 1919
เมืองหลวงเยเรวาน[a]
ภาษาราชการอาร์มีเนีย[1]
ภาษาทั่วไป
กลุ่มชาติพันธุ์
การปกครองสาธารณรัฐระบบรัฐสภา[4]
นายกรัฐมนตรี 
• มิถุนายน ค.ศ. 1918 – พฤษภาคม ค.ศ. 1919
Hovhannes Kajaznuni
• พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – พฤษภาคม ค.ศ. 1920
Alexander Khatisian
• พฤษภาคม–พฤศจิกายน ค.ศ. 1920
Hamo Ohanjanyan
• พฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1920
Simon Vratsian
สภานิติบัญญัติKhorhrdaran
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ประกาศอิสรภาพ
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1919
2 ธันวาคม ค.ศ. 1920
พื้นที่
ค.ศ. 1918 (ภายหลังสนธิสัญญาบาตูม)[4][5]11,396 ตารางกิโลเมตร (4,400 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1919 (ภายหลังการสงบศึกมูโดรส)[3]45,325 ตารางกิโลเมตร (17,500 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1920 (ภายหลังสนธิสัญญาอะเลคซันโดรปอล)[6][7]30,044 ตารางกิโลเมตร (11,600 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1918 (ภายหลังสนธิสัญญาบาตูม)[4][5]
900,000
• ค.ศ. 1919 (ภายหลังการสงบศึกมูโดรส)[3]
1,510,000
720,000
สกุลเงินรูเบิลอาร์มีเนีย[8]
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย
สาธารณรัฐที่สูงอาร์มีเนีย
อาร์มีเนียโซเวียต
ตุรกี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาร์มีเนีย
อาเซอร์ไบจาน
ตุรกี
จอร์เจีย
แผนที่ที่รัฐบาลสาธารณรัฐอาร์มีเนียนำเสนอ ณ การประชุมสันติภาพปารีส
แผนที่ที่สภาแห่งชาติอาร์มีเนียนำเสนอ ณ การประชุมสันติภาพปารีส
การแบ่งเขตการปกครองของอาร์มีเนีย โดยรวมดินแดนที่ได้รับมาจากสนธิสัญญาแซฟวร์
พรมแดนตุรกี-อาร์มีเนียตามสนธิสัญญาแซฟวร์

ในปีแรกของการได้รับเอกราช อาร์มีเนียกินพื้นที่เพียงบริเวณรอบด้านทะเลสาบเซวาน หลังจากการบุกครองของจักรวรรดิออตโตมันในระหว่างการทัพคอเคซัส แต่หลังจากการสงบศึกมูโดรส เขตแดนของอาร์มีเนียขยายขึ้นอันเนื่องจากการถอนกำลังของออตโตมัน นำไปสู่สงครามชายแดนในช่วงสั้น ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจอร์เจีย ในช่วงฤดูหนาวแรก ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนในประเทศที่หนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียชีวิตจากความอดอยากหรือการถูกทอดทิ้ง ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1919 อาร์มีเนียเข้าผนวกภูมิภาคคาร์สและนาคีชีวันที่ออตโตมันยึดครองก่อนหน้านี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้ อาณาเขตของประเทศจึงเพิ่มขนาดมากกว่าเดิมสามเท่า อย่างไรก็ตาม อาร์มีเนียสามารถควบคุมพื้นที่เหล่านี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น จนกระทั่งการก่อการกำเริบมุสลิมที่ปะทุขึ้นในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1919

ในช่วงปลาย ค.ศ. 1919 ภูมิภาคซางแกซูร์เผชิญกับการโจมตีจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซอร์ไบจาน อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เริ่มสงบลงจนกระทั่งชาวอาร์มีเนียก่อจราจลเมื่อเดือนมีนาคมของปีต่อมา ในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่อยู่ในการควบคุมของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งสิ้นสุดลงจากการบุกครองอาเซอร์ไบจานของกองทัพแดงในเดือนเมษายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1920 ผู้แทนอาร์มีเนียร่วมลงนามในสนธิสัญญาแซฟวร์ ซึ่งทำให้ประเทศได้รับดินแดนเพิ่มเติม 40,000 ตารางไมล์ (100,000 ตารางกิโลเมตร) ของพื้นที่ในอาร์มีเนียตะวันตก แม้ว่าสนธิสัญญานี้จะไม่เคยนำมาใช้เลย ในช่วงปลาย ค.ศ. 1920 กองกำลังตุรกีเข้ารุกรานสาธารณรัฐ ซึ่งจบลงจากการแบ่งประเทศ จากนั้นจึงถูกรัสเซียโซเวียตเข้ายึดครองและเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย ไม่นานหลังจากนั้น เกิดการกบฏต่อต้านบอลเชวิคต่อต้านอำนาจโซเวียตที่กินเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1921

ในระยะเวลาสองปีครึ่งของการดำรงอยู่ อาร์มีเนียได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 40 ประเทศ รวมถึงได้รับการรับรองโดยนิตินัย มีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภา และมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรก รัฐสภาและรัฐบาลของประเทศอยู่ภายใต้การครอบงำของพรรคดาชนาค (ARF) อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีช่วงแรกได้มอบให้กับพรรคที่สนับสนุนชนชั้นนายทุนอย่างพรรคประชานิยมอาร์มีเนีย และภายหลังเป็นพรรคปฏิวัติสังคมนิยม

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 ในสมัยสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่ง เยเรวานเป็นที่รู้จักในชื่อ เอรีวาน (รัสเซีย: Эривань) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในจักรวรรดิรัสเซีย
  2. Classical spelling: Հայաստանի Հանրապետութիւն

อ้างอิง

แก้
  1. Hovannisian 1971, p. 146.
  2. Hovannisian 1982, p. 311.
  3. 3.0 3.1 Childs 1922.
  4. 4.0 4.1 Hewsen & Salvatico 2001, p. 235.
  5. Hovannisian 1967, p. 196.
  6. Herzig & Kurkchiyan 2005, p. 113.
  7. Hovannisian 1996b, pp. 407–408.
  8. Hovannisian 1982, pp. 296–297.

บรรณานุกรม

แก้

40°10′34″N 44°30′51″E / 40.17611°N 44.51417°E / 40.17611; 44.51417