สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย (อาร์มีเนีย: Հայկական Սովետական Սոցիալիստական Հանրապետություն, รัสเซีย: Армя́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ตั้งอยู่ในภูมิภาคคอเคซัสใต้ของทวีปยูเรเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1920 หลังจากที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 ได้ และได้รับเอกราชอีกครั้งในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย บางครั้งเรียกว่าสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 2 หลังจากสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 ถูกยึดครอง
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย
| |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1920-1922 1936-1990/1991 | |||||||||||||
ธงชาติ (ค.ศ. 1952–1990)
ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1937–1991) | |||||||||||||
คำขวัญ: Պրոլետարներ բոլոր երկրների, միացե՜ք (อาร์มีเนีย) Proletarner bolor erkrneri, miac’ek’ (ทับศัพท์) "ชนกรรมาชีพทุกประเทศจงสามัคคีกัน!" | |||||||||||||
เพลงชาติ: Հայկական Սովետական Սոցիալիստական Հանրապետություն օրհներգ Haykakan Sovetakan Soc’ialistakan Hanrapetut’yun òrhnerg "เพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย" (ค.ศ. 1944–1991) | |||||||||||||
ที่ตั้งของอาร์มีเนีย (สีแดง) ภายในสหภาพโซเวียต | |||||||||||||
สถานะ | รัฐกึ่งเอกราช (ค.ศ. 1920–1922) ส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส (ค.ศ. 1922–1936) สาธารณรัฐสหภาพ (ค.ศ. 1936–1991) รัฐเอกราชโดยพฤตินัย (ค.ศ. 1990–1991) | ||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เยเรวาน | ||||||||||||
ภาษาราชการ | อาร์มีเนีย (ประจำรัฐ) รัสเซีย (ทางการ) | ||||||||||||
อาเซอร์ไบจาน · เคิร์ด | |||||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||||
เดมะนิม | ชาวอาร์มีเนีย ชาวโซเวียต | ||||||||||||
การปกครอง |
| ||||||||||||
เลขาธิการอันดับหนึ่ง | |||||||||||||
• 1920-1921 (คนแรก) | Gevork Alikhanyan | ||||||||||||
• 1990 (คนสุดท้าย)[1] | Vladimir Movsisyan | ||||||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||||||
• 1920-1921 (คนแรก) | Sarkis Kasyan | ||||||||||||
• 1990-1991 (คนสุดท้าย) | Levon Ter-Petrosyan | ||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | |||||||||||||
• 1921-1922 (คนแรก) | Alexander Miasnikian | ||||||||||||
• 1991 (คนสุดท้าย) | Gagik Harutyunyan | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาสูงสุด | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• ประกาศจัดตั้ง | 2 ธันวาคม 1920 | ||||||||||||
• กลายเป็นส่วนหนึ่งของโซเวียตทรานส์คอเคซัส | 30 ธันวาคม 1922 | ||||||||||||
• ก่อตั้งอีกครั้ง | 5 ธันวาคม 1936 | ||||||||||||
20 กุมภาพันธ์ 1988 | |||||||||||||
• ประกาศเอกราช | 23 สิงหาคม 1990 | ||||||||||||
• ลงประชามติเอกราช | 21 กันยายน 1991 | ||||||||||||
• เอกราชโดยสมบูรณ์ | 26 ธันวาคม 1991 | ||||||||||||
เอชดีไอ (1991) | 0.648 ปานกลาง | ||||||||||||
สกุลเงิน | รูเบิลโซเวียต (Rbl) (SUR) | ||||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | 7 885 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อาร์มีเนีย |
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียเปลี่ยนจากเขตอุตสาหกรรมเกษตรกรรมที่สำคัญเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญในขณะที่ประชากรเกือบสี่เท่าจาก 880,000 คนในปี 1926 เพื่มขึ่นเป็น 3.3 ล้านคนในปี 1989 เนื่องจากการเติบโตตามธรรมชาติและการหลั่งไหลของผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียจำนวนมากและลูกหลานของพวกเขา ในวันที่ 23 สิงหาคม 1990 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียถูกเปลี่ยนชื่อสาธารณรัฐอาร์เมเนียหลังจากประกาศอธิปไตยเหนือกฎหมายของสหภาพโซเวียต แต่ยังคงอยู่ในสหภาพโซเวียตจนกระทั่งประกาศอิสรภาพอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1991 การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตได้รับการยอมรับเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตรัฐยุคหลังโซเวียตของอาร์มีเนียยังคงมีอยู่จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอาร์มีเนียในปี 1995
อ้างอิง
แก้- ↑ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1990 article 6 on the monopoly of the Communist Party of Armenia on power was excluded from the Constitution of the Armenian SSR
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Armenia: big strides in an ancient land by Anton Kochinyan
- Melkonian, Eduard: "Repressions in 1930s Soviet Armenia" in the Caucasus Analytical digest No. 22