รัฐโลกวิสัย
รัฐโลกวิสัย หรือ รัฐฆราวาส (อังกฤษ: secular state) เป็นแนวคิดสืบเนื่องมาจากหลักฆราวาสนิยม (secularism) ที่ให้รัฐมีหรือแสดงความเป็นกลางในประเด็นทางศาสนา โดยไม่สนับสนุนทั้งศาสนาและการไม่มีศาสนา[1] รัฐฆราวาสยังพึงปฏิบัติกับพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นถือศาสนาใด ในการนี้ รัฐพึงเลี่ยงการให้ความสำคัญแก่พลเมืองเพราะถือหรือไม่ถือศาสนาใด รัฐฆราวาสไม่พึงมีศาสนาประจำรัฐ ถึงแม้ว่าการไม่มีศาสนาประจำรัฐจะไม่ได้หมายความว่ารัฐนั้นเป็นฆราวาสเต็มตัวก็ตาม อย่างไรก็ดี รัฐที่เป็นฆราวาสอย่างแท้จริงนั้นพึงดำเนินการปกครองบ้านเมืองโดยปราศจากอิทธิพลจากศาสนา และพึงให้องค์การศาสนาปกครองตนเองโดยปราศจากอิทธิพลของรัฐ ตามหลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร[2]
ประวัติ
แก้ในทางประวัติศาสตร์แล้ว การทำให้รัฐกลายเป็นฆราวาสนั้นมักเกี่ยวข้องกับการให้เสรีภาพทางศาสนา เลิกศาสนาประจำรัฐ เลิกสนับสนุนทางการเงินแก่ศาสนา สร้างระบบกฎหมายและการศึกษาที่ปราศจากอิทธิพลของศาสนา ยอมให้พลเมืองเปลี่ยนหรือเลิกนับถือศาสนา และยอมให้มีผู้นำที่มาจากความเชื่อใดก็ได้[3]
ในทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทุกรัฐที่เป็นฆราวาสในทางกฎหมายจะมีความเป็นฆราวาสโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างในฝรั่งเศสและสเปนที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นรัฐฆราวาส แต่ก็ยังถือวันหยุดทางศาสนาคริสต์เป็นวันหยุดราชการอยู่ ทั้งรัฐก็ยังให้ค่าตอบแทนแก่ครูบาอาจารย์ในโรงเรียนแคทอลิก[4] นอกจากนี้ ในรัฐยุโรปบางรัฐ นิกายหลักบางนิกายในศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นยังต้องอาศัยรัฐเป็นแหล่งการเงินสำหรับการกุศล[5]
ในสหรัฐที่ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นรัฐฆราวาส มีหลักการเลือกทำบุญ (charitable choice) ที่ให้องค์การศาสนาและองค์การที่ไม่เกี่ยวก้บศาสนาสามารถขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐ และรัฐสามารถสนับสนุนโดยได้ประเมินจากผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดแก่สังคม หรือแก่ผู้รับประโยชน์จากองค์การเหล่านี้ ดังนั้น ก็เหมือนรัฐยังสนับสนุนศาสนาอยู่อย่างกลาย ๆ[6]
หลายรัฐฆราวาสในปัจจุบันอาจมีร่องรอยทางศาสนาตกค้างอยู่ในระบบกฎหมาย เช่น ในสหราชอาณาจักรที่ซึ่ง พระราชบัญญัติการสาบานราชาภิเษก ค.ศ. 1688 (Coronation Oath Act 1688) กำหนดให้ประมุขแห่งรัฐต้องสาบานว่า จะบำรุงรักษาคริสตจักรแห่งอังกฤษ[7] และในสภาขุนนางยังมีที่นั่งสำหรับสมาชิกอาวุโส 26 คนจากคณะสงฆ์ในคริสต์จักรแห่งอังกฤษ ซึ่งเรียก ขุนนางจิตวิญญาณ (Lords Spiritual)[8]
นอกจากการเปลี่ยนผ่านจากรัฐศาสนาไปเป็นรัฐฆราวาสแล้ว การเปลี่ยนผ่านแบบตรงกันข้ามก็มี เช่น กรณีอิหร่านที่รัฐฆราวาสของราชวงศ์ปาห์ลาวีถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลาม[9][10][11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Madeley, John T. S. and Zsolt Enyedi, Church and state in contemporary Europe: the chimera of neutrality, p. 14, 2003 Routledge
- ↑ "Separation Of Church And State".
- ↑ Jean Baubérot The secular principle เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 22, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Richard Teese, Private Schools in France: Evolution of a System, Comparative Education Review, Vol. 30, No. 2 (May, 1986), pp. 247-259 (อังกฤษ)
- ↑ Twinch, Emily. "Religious charities: Faith, funding and the state". Article dated 22 June 2009. Third Sector - a UK Charity Periodical. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ 3 June 2012.
- ↑ "Department for Education". สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "Coronation Oath". สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "How members are appointed". UK Parliament. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "Harris Interactive: Resource Not Found". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2013. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "A Portrait of "Generation Next"". Pew Research Center for the People and the Press. 9 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-24. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "Secularization and Secularism - History And Nature Of Secularization And Secularism To 1914". สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.