สมเสร็จ
สมเสร็จ [8] (อังกฤษ: Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแรด
สมเสร็จ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 33.9–0Ma Early Oligocene[1] – ปัจจุบัน | |
---|---|
สมเสร็จพันธุ์ เรียงจากซ้ายบนตามเข็มนาฬิกา: สมเสร็จอเมริกาใต้ (Tapirus terrestris), สมเสร็จภูเขา (Tapirus pinchaque), สมเสร็จมลายู (Tapirus indicus)และ สมเสร็จอเมริกากลาง (Tapirus bairdii) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับสัตว์กีบคี่ Perissodactyla |
เคลด: | Tapiromorpha Tapiromorpha |
อันดับย่อย: | Ceratomorpha Ceratomorpha |
วงศ์ใหญ่: | Tapiroidea Tapiroidea |
วงศ์: | Tapiridae Tapiridae Gray, 1821[2][3] |
สกุลต้นแบบ | |
Tapirus Brisson, 1762 | |
สกุล[7] | |
About 15
| |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
การจำแนก
แก้สกุลที่ยังไม่สูญพันธ์:
สกุลของสมเสร็จที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์:
- † Colodon
- † Dilophodon
- † Heteraletes
- † Megatapirus
- † Miotapirus
- † Nexuotapirus
- † Palaeotapirus
- † Paratapirus
- † Plesiocolopirus
- † Plesiotapirus
- † Protapirus (ชื่อพ้อง Tanyops)
- † Selenolophodon
- † Tapiravus
- † Teleolophus
ลักษณะ
แก้ขนาดขึ้นอยู่กับชนิด โดยมากยาวประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร จรดหัวไหล่ หนัก 150-300 กิโลกรัม ขนสั้นมีสีน้ำตาลถึงเทาเกือบดำ ยกเว้นสมเสร็จมลายู ที่มีสีขาวพาดกลางลำตัว และสมเสร็จภูเขา ที่มีขนยาว สมเสร็จทุกชนิดมีหูรูปไข่ ปลายหูสีขาว มนกลม ก้นห้อย หางอวบ สั้น ขาหน้ามีกีบเท้า 4 กีบ ขาหลังมี 3 กีบ ช่วยให้สามารถเดินบนโคลนหรือพื้นที่อ่อนนุ่มได้ ลูกสมเสร็จมีขนลายทาง หรือลายจุดเพื่อพรางตัว เพศเมียมีเต้านมเต้าคู่เดียว[9]
สมเสร็จมีฟันซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ทั้งหมด 42-44 ซี่ มีฟันเขี้ยวสั้น ๆ ซึ่งไม่เหมือนสัตว์กีบคู่อย่างอื่น เช่น แรด[10][11]
พฤติกรรมและความผูกพันกับมนุษย์
แก้สมเสร็จ ทั้งหมดมีพฤติกรรมและความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน โดยเป็นสัตว์ที่หากินตามลำพังหรือเป็นคู่ในป่าดิบชื้น ที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ โดยจะใช้จมูกที่ยาวเหมือนงวงในการช่วยดมกลิ่นและดึงกิ่งไม้ในพุ่มไม้กินเป็นอาหาร ซึ่งสมเสร็จสามารถที่จะกินไม้ที่มีพิษบางชนิดได้ด้วย เป็นสัตว์ที่ชอบแช่น้ำหรือโคลน เมื่อยามพบกับศัตรูจะหนีลงไปในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจแช่ลงไปทั้งตัวโผล่มาแค่งวงเพื่อหายใจก็ได้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ลูกอ่อนที่เกิดมาใหม่จะมีลวดลายตามตัวเหมือนแตงไทย คล้ายลูกหมูป่า
สมเสร็จ เป็นสัตว์ที่มีระบบสายตาที่ไม่ดี แต่มีระบบประสาทรับฟังทางหูและดมกลิ่นดีเยี่ยม ปกติเป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว แต่เคยมีรายงานว่า สมเสร็จอเมริกากลางตัวหนึ่งในสวนสัตว์โจมตีด้วยกรามใส่ผู้ดูแลซึ่งเป็นผู้หญิง เมื่อปี ค.ศ. 1998 จนได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพิการแขนขาด[12] สมเสร็จเป็นสัตว์ที่อ้างอิงถึงในวัฒนธรรมและความเชื่อของญี่ปุ่น ด้วยการเป็นปีศาจตนหนึ่งที่กินความฝัน หรือฝันร้ายของผู้คนในนอนหลับเมื่อยามค่ำคืน เรียกว่า "บะกุ" (ญี่ปุ่น: 獏, 貘) เป็นต้น[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFW1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGray, 1821
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMSW1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFW2
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMSW2
- ↑ 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHulbert, 2010
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBIF
- ↑ ผสมเสร็จ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Gorog, A. 2001. Tapirus terrestris, Animal Diversity Web. Retrieved June 19, 2006.
- ↑ Ballenger, L. and P. Myers. 2001. "Tapiridae" (On-line), Animal Diversity Web. Retrieved June 20, 2006.
- ↑ Huffman, Brent. Order Perissodactyla at Ultimate Ungulate
- ↑ "Woman's arm bitten off in zoo attack", Associated Press report by Jay Hughes, 20 Nov 1998
- ↑ แล็ฟคาดิโอ เฮิร์น แปลโดย ปาริฉัตร เสมอแข, ผุสดี นาวาวิจิต. เรื่องผีผี. กรุงเทพมหานคร : ผีเสื้อ, พ.ศ. 2543. ISBN 974-14-0143-4
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- IUCN/SSC Tapir Specialist Group
- The Tapir Gallery at The Tapir Preservation Fund website
- World Tapir Day website
- Tapir Specialist Group website
- Baird's Tapir Project of Costa Rica เก็บถาวร 2012-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- In the Name of the Tapir: Confusions and Conclusions เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน a paper by Stefan Seitz about misidentification of tapirs by zoo visitors, including a zoological description of tapirs in rhyme
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tapiridae ที่วิกิสปีชีส์