พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา[ก] (10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2425) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 (26 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา เป็นพระราชธิดา พระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 1 ที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 1217 ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 มีพระโสทรกนิษฐภาดาหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เมื่อพระชันษาครบเดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว โดยได้พระราชทานพระนามพร้อมคาถาภาษามคธว่า
“ให้พระนามพระเจ้าลูกเธอหญิง ในหม่อมเจ้าพรรณรายว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว จงเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ ในนามวรรคบริวารวันนี้ทุกประการเทอญ พระราชทาน ณ วัน ๕ ฯ๓ ๒ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก สุขินีว อยํ โหตุ โสภา ราชกุมาริกา ทีฆายุกา อโรคี จ ลาภินี จ ยสสฺสินี”
ซึ่งคาถาพระราชทานพระพรภาษามคธแปลความได้ว่า ราชกุมาริกางามนี้ จงมีความสุขและอายุยืนยาว ไม่มีโรคาพาธิและมีลาภยศ เทอญ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 14 ค่ำปีมะเมีย สัปจศก จุลศักราช 1244 ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 สิริพระชันษา 26 ปี
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาพระอัฐิเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนขัติยกัลยา[1]
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 โปรดให้สถาปนาพระอัฐิ พระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนขัติยกัลยา และสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า พร้อมกัน[2] เหตุที่สถาปนาเป็นเจ้าฟ้านั้น เพราะพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระกนิษฐภคินีร่วมพระบิดาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453[3]
พระอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ กรมขุนขัตติยกัลยา | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว
- 12 กันยายน พ.ศ. 2425 : พระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนขัติยกัลยา
- 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 : พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมายเหตุ
แก้ก บางแห่งสะกดว่า ขัติยกัลยา
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 57
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งเจ้าฟ้ากรมขุน (พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัติยกัลยา และพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ) เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 4, ตอน 37, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2430, หน้า 293
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงศ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- บรรณานุกรม
- Jeffy Finestone , แปลโดยชาคริต ชุ่มวัฒนะ. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4). กรุงเทพ : โลมาโฮลดิ้ง, พ.ศ. 2543. ISBN 974-871-488-2 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6