สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู (เปอร์เซีย:تاج‌الملوک, พระราชสมภพ 17 มีนาคม ค.ศ. 1896บากู จักรวรรดิรัสเซีย - สวรรคต 10 มีนาคม ค.ศ. 1982อากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก) พระองค์เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี และครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1925-1941

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
ประสูติ17 มีนาคม ค.ศ. 1896
บากู จักรวรรดิรัสเซีย
สวรรคต10 มีนาคม ค.ศ. 1982 (85 ปี)
อากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก
พระราชสวามีพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
พระราชบุตรเจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี
ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี
เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวี
พระนามเต็ม
ตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู
ราชวงศ์ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระบิดานายทัดเฟล โมลูก อัยรุมลู

พระราชประวัติ

แก้

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1896กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน มีพระนามเดิมว่า นิมตาจ คานุม เป็นธิดาของนายทัดเฟล โมลูก อัยรุมลู โดยนามสกุลอัยรุมลูซึ่งเป็นนามสกุลเดิมของพระองค์สามารถสะกดเป็น Ayrumlu, Eyrumlu และ Ayromloo และตระกูลนี้เป็นตระกูลของชาวอิหร่านเชื้อสายอาเซอร์ไบจาน พระองค์จึงสืบเชื้อสายชาวอาเซอรีด้วย ภายหลังจากการเสกสมรสกับพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี พระภัสดา พระองค์จึงเปลี่ยนพระนามใหม่ซึ่งมีความหมายว่า มงกุฎของราชันย์ (Crown of the King)

พระราชกรณียกิจ

แก้

พระองค์เป็นพระราชินีอิหร่านพระองค์แรกที่ออกมาปรากฏตัวแก่สายตาของเหล่าพสกนิกร รวมไปถึงการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่อประชาชนภายนอก และพระองค์ยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการยกเลิกการใช้ผ้าคลุมศีรษะของสตรีมุสลิม (ฮิญาบ) ในช่วงตลอดรัชกาลของพระภัสดาของพระองค์ ในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1934 พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีทรงต้องการแสดงให้เห็นการแต่งกายของสมเด็จพระราชินี และพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ในงานพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาลัยครูเตหะราน โดยแต่งกายในฉลองพระองค์อย่างชาวยุโรปโดยปราศจากผ้าคลุมศีรษะ และถือเป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่านเปิดเผยพระองค์เองสู่สายตาประชาชน ภายหลังพระเจ้าชาห์ได้นำพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชินี และพระราชธิดาลงข่าวโดยปราศจากผ้าคลุมศีรษะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการใช้ผ้าคลุมศีรษะจึงได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ[1] และต่อมาภายหลังพระสวามีของพระองค์ พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ได้สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1941 พระโอรสของพระองค์จึงได้ครองราชย์สมบัติต่อในนาม ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

พระราชโอรส-ธิดา

แก้

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก และพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ทรงมีมีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดาอีก 2 พระองค์ อันได้แก่

  1. เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี (ประสูติ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - สิ้นพระชนม์ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
  2. ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980)
  3. เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี (ประสูติ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 - สิ้นพระชนม์ 7 มกราคม ค.ศ. 2016)
  4. เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวี (ประสูติ 1 มีนาคม ค.ศ. 1922 - สิ้นพระชนม์ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1954)

สวรรคต

แก้

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1982 เมืองอากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก ด้วยพระอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โดยพระองค์เสด็จสวรรคตก่อนการครอบรอบวันเสด็จพระราชสมภพปีที่ 86 พรรษาของพระองค์เพียง 7 วัน สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา

อ้างอิง

แก้
  1. Elain Sciolino. Persia Mirror; The Elusive Face of Iran. (New York : The Free Press, 1997) pp.133-134. ชาห์เรซามีพระราชกระแสให้สตรีอิหร่านทุกคนปฏิบัติตามอย่างเจ้าฟ้าหญิง และมีพระราชประสงค์ให้สตรีทุกคนโยนฮิญาบทิ้ง
  • Ashraf Pahlavi, Faces in a mirror
  • จักรพันธ์ กังวาฬ. เส้นทางประวัติศาสตร์อันยาวไกลจากเปอร์เซียสู่สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. หน้า 18-22
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก ถัดไป
สมเด็จพระราชินีฟาเตเมห์ คานุม    
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
(ค.ศ. 1925-1941)
  สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์