สมเด็จพระรัษฎาธิราช

(เปลี่ยนทางจาก สมเด็จพระรัฏฐาธิราช)

สมเด็จพระรัษฎาธิราช[1] เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 12 แห่งอาณาจักรอยุธยา[2] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร) แต่ครองราชสมบัติได้เพียง 5 เดือน ตรงกับปี พ.ศ. 2077[3] สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ชิงพระราชสมบัติแล้วนำตัวพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณีที่วัดโคกพระยา[2]

สมเด็จพระรัษฎาธิราช
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2077 (5 เดือน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
ถัดไปสมเด็จพระไชยราชาธิราช
พระราชสมภพพ.ศ. 2072
สวรรคตพ.ศ. 2077 (5 พรรษา) วัดโคกพระยาอาณาจักรอยุธยา
พระนามเต็ม
สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระราชมารดาไม่ปรากฏพระนาม

พระราชประวัติ

แก้

สมเด็จพระรัษฎาธิราช เสด็จพระราชสมภพปี พ.ศ. 2072 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 จึงขึ้นครองราชสมบัติแทน

พงศาวดารไทยและต่างประเทศทั้งหมดกล่าวว่า สมเด็จพระรัษฎาธิราชมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2076 (จ.ศ. 1533/34)[4] พระเจ้ารัษฎาธิราชอาจประสูติเมื่อ พ.ศ. 2071 (จ.ศ. 1528/29). นักวิชาการสมัยใหม่เสนอว่าพระราชมารดาอาจเป็นลูกสาวของขุนนางที่มีอำนาจซึ่งต้องการมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์ผ่านการแต่งงาน เนื่องจากการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนางแม้ว่าเขาจะเป็นคนส่วนน้อยก็ตาม[5]

การขึ้นครองราชย์และการสวรรคต

แก้

ใน พ.ศ. 2076 (จ.ศ. 1533/34) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เสด็จสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษและพระราชโอรสคือพระรัษฎาธิราช สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[4] ในปี พ.ศ. 2077 (จ.ศ. 1534/35) หลังจากที่พระองค์ครองราชสมบัติได้ห้าเดือน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยึดราชบัลลังก์และสำเร็จโทษสมเด็จพระรัษฎาธิราช[4] ด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี[5]

ความสัมพันธ์กับไชยราชาธิราช

แก้

พงศาวดารไทยและต่างประเทศระบุว่าสมเด็จพระรัษฎาธิราชและสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติกัน แต่ไม่มีเอกสารใดที่ให้ข้อมูลเพียงพอที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชัดเจน[4] สังคีติยวงศ์ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4[4] พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับอื่น ๆ กล่าวเพียงว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2[6] พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ระบุว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติห่าง ๆ และเป็นผู้สำเร็จราชการของสมเด็จพระรัษฎาธิราช[7]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสนอว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา (โดยตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก) ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และสมเด็จพระรัษฎาธิราช ด้วยเหตุนี้พระไชยราชาธิราชจึงใช้เวลาถึงห้าเดือนจึงมาถึงกรุงศรีอยุธยาและยึดราชสมบัติได้[8] นักวิชาการสมัยใหม่เสนอว่าเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ไชยราชาธิราชต้องรอถึงห้าเดือนก่อนทำรัฐประหารคือต้องตรวจสอบท่าทีของแต่ละฝ่ายทางการเมืองและรอ "โอกาสที่ดี" เพราะสมเด็จพระรัษฎาธิราชยังคงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนางนำโดยขุนนางผู้มีอำนาจซึ่งดูเหมือนจะเป็นตาของสมเด็จพระรัษฎาธิราช[5]

นอกจากนี้ การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระรัษฎาธิราชยังขัดต่อประเพณีนิยม เพราะพระมหาอุปราชเป็นลำดับต้น ๆ ในการสืบราชบัลลังก์เสมอมา ด้วยเหตุผลดังกล่าว นักวิชาการสมัยใหม่จึงมีความเห็นว่าการขึ้นครองราชย์ของรัษฎาธิราชทำให้ไชยราชาธิราชกริ้วและการรัฐประหารยังทำให้สมเด็จพระรัษฎาธิราชองค์ที่สองจากราชวงศ์สุพรรณภูมิ ถูกประหารชีวิต[5]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 89
  2. 2.0 2.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 89
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 404
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation, 2011: 89.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Khruea-thong, 2012: online.
  6. Phra Ratchaphongsawadan..., 1991: 258.
  7. Van Vliet, 2003: 56.
  8. Phra Ratchaphongsawadan..., 1991: 258/259.

บรรณานุกรม

แก้
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • Chula Chakrabongse (1960). Lords of Life: A History of the Kings of Thailand. London: Alvin Redman.
  • Khruea-thong, Pramin (2012-01-22). "Krung si patiwat: nueng roi pi haeng khwam ngiap rai 'patiwat' nai ratchawong suphannaphum" กรุงศรีปฏิวัติ: ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ ไร้ 'ปฏิวัติ' ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ [Ayutthayan coups: a hundred years of silence - no 'coup' in Suphannaphum Dynasty]. Archdiocese of Bangkok. Matichon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2015-05-19.
  • Phra Ratchaphongsawadan Chabap Phra Ratchahatthalekha Lem Nueng พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 [Royal Chronicle of Siam: Royal Autograph Version, Volume 1] (8th ed.). Bangkok: Fine Arts Department of Thailand. 1991. ISBN 9744171448.
  • Prachum Phongsawadan Chabap Kanchanaphisek Lem Nueng ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 [Golden Jubilee Collection of Historical Archives, Volume 1]. Bangkok: Fine Arts Department of Thailand. 1999. ISBN 9744192151.
  • Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation (2011). Namanukrom Phra Mahakasat Thai นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย [Directory of Thai Kings]. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation. ISBN 9786167308258.
  • Van Vliet, Jeremias (2003). Wyatt, David K. (บ.ก.). Phongsawadan Krung Si Ayutthaya Chabap Wan Walit Phutthasakkarat Song Phan Nueng Roi Paet Sip Song พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 [1640 Chronicle of Ayutthaya: Van Vliet Version] (2nd ed.). Bangkok: Matichon. ISBN 9743229221.

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระรัษฎาธิราช ถัดไป
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2076)
   
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

(พ.ศ. 2076 - พ.ศ. 2077)
  สมเด็จพระไชยราชาธิราช
(พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2089)