จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมัน: Maximilian I, Kaiser des Heiligen Römischen Reiches[1]) (ประสูติ 22 มีนาคม ค.ศ. 1459 - สวรรคต 12 มกราคม ค.ศ. 1519) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1486 และจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1508 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระองค์ไม่เคยถูกสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปา เนื่องจากการเดินทางสู่กรุงโรมถูกชาวเวเนเทียนขวางกั้นอยู่[2] พระองค์ได้ประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการคัดเลือกใน ค.ศ. 1508 (สมเด็จพระสันตะปาปายูลิอุสที่ 2 ทรงเป็นผู้ให้การยอมรับ) ที่เมืองเทรนต์[3][4][5] จึงเป็นการทำลายประเพณีที่มีมายาวนานของการกำหนดให้มีพิธีสวมมงกุฎของพระสันตะปาปาเพื่อแต่งตั้งตำแหน่งจักรพรรดิ มัคซีมีลีอานทรงเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และลียูโนร์แห่งโปรตุเกส พระองค์ทรงปกครองร่วมกับพระราชบิดาในช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชกาลภายหลัง ตั้งแต่ ค.ศ. 1483 จนกระทั่งพระราชบิดาทรงสวรรคตใน ค.ศ. 1493
แมกซีมีเลียนได้ขยายอิทธิพลของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คผ่านทางการทำสงครามและการอภิเษกสมรสของพระองค์ใน ค.ศ. 1477 กับมารีแห่งบูร์กอญ ผู้ปกครองแห่งรัฐบูร์กอญ ผู้เป็นทายาทของชาร์ลผู้อาจหาญ แม้ว่าพระองค์จะสูญเสียดินแดนแต่เดิมของราชวงศ์ของพระองค์ในสวิตเซอร์แลนด์ในยุคปัจจุบันให้กับสมาพันธรัฐสวิส ด้วยการอภิเษกสมรสของพระราชโอรสของพระองค์ที่มีพระนามว่า ฟิลิปผู้ทรงโฉมกับสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยาใน ค.ศ. 1498 มัคซีมีลีอานทรงช่วยสร้างราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสเปน ซึ่งทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ที่มีพระนามว่า ชาร์ล ได้ขึ้นครองราชบังลังก์ของทั้งกัสติยาและอารากอน[6] นักประวัติศาสตร์นามว่า Thomas A. Brady Jr. ได้อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น"จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์องค์แรกในรอบ 250 พรรษาที่ทรงปกครองและครองราชย์" และ"เป็นขุนศึกหลวงที่มีความสามารถมากที่สุดในยุคสมัยของพระองค์"[7]
ทรงมีพระสมญานามว่า "Coeur d’acier" (“หัวใจดั่งเหล็ก”) โดย Olivier de la Marche และนักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง(ไม่ว่าจะเป็นการยกย่องถึงความกล้าหาญและคุณสมบัติของการสู้รบหรือประณามถึงความโหดเหี้ยมของพระองค์ในฐานะผู้ปกครองสงคราม)[8][9] มัคซีมีลีอานทรงได้เข้าสู่จิตสาธารณะในฐานะ "อัศวินคนสุดท้าย"(der letzte Ritter) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่บทกวีได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อกล่าวถึงพระองค์โดย Anastasius Grün ซึ่งได้รับการตีพิมพ์(แม้ว่าพระสมญานามจะยังคงมีอยู่ แม้จะอยู่ในช่วงชีวิตของมัคซีมีลีอานก็ตาม)[10] การถกเถียงทางวิชาการยังคงมีการหารือกันว่าพระองค์ทรงเป็นอัศวินคนสุดท้ายจริงหรือไม่(ในฐานะผู้ปกครองจากสมัยกลางในอุดมคติที่นำผู้คนบทหลังม้า หรือนักฝันและนักผจญภัยอย่างดอนกิโฆเต้) หรือเจ้าชายพระองค์แรกจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา— นักการเมืองจอมเจ้าเล่ห์เพทุบายผู้ไร้ศีลธรรมที่นำพาราชวงศ์ของพระองค์ไปสู่"จุดสูงสุดแห่งอำนาจราชวงศ์ยุโรป" โดยส่วนใหญ่มาจากเงินกู้[11][12] นักประวัติศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เช่น Leopold von Ranke มักจะวิพากษ์วิจารณ์ต่อมัคซีมีลีอานที่ให้ความสนพระทัยต่อราชวงศ์ของพระองค์มากกว่าเยอรมนี ทรงขัดขวางกระบวนการรวมชาติของประเทศ นับตั้งแต่หนังสือที่ชื่อ Kaiser Maximilian I. Das Reich, Österreich und Europa an der Wende zur Neuzeit ซึ่งถูกเขียนโดย Hermann Wiesflecker (ค.ศ. 1971-1986) กลายเป็นงานแบบมาตรฐาน ภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้นของจักรพรรดิได้ปรากฏขึ้น พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมซึ่งได้ดำเนินการปฏิรูปครั้งสำคัญและส่งเสริมต่อความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แม้ว่าราคาทางการเงินจะให้ความหนักหน่วงต่อชาวออสเตรียและการขยายกำลังทหารของพระองค์จะทำให้คนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตและความทุกข์ทรมาน[9][13][14]
ด้วยโครงการการสร้างภาพ"ที่ไม่เคยมีมาก่อน" ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการและศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย ในช่วงชีวิตของพระองค์ จักรพรรดิ –"ผู้ส่งเสริม ผู้ประสานงาน และผู้เสนอญัตติที่สำคัญ ผู้แสดงศิลปะและผู้ประกอบที่มีพลังและความศรัทธาอย่างแรกกล้าอันไร้ขีดจำกัด และมองเห็นรายละเอียดได้อย่างไม่เคยผิดพลาด"–ได้สร้าง "ตัวตนของราชวงศ์ที่แท้จริง" ขึ้นมาสำหรับพระองค์เอง" ซึ่งมีคุณสมบัติที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "ไม่มีใครมาเทียบเท่า" หรือ "มาจนถึงบัดนี้ แทบจะคาดคิดไม่ถึง"[15][16][17][18][19] ด้วยภาพนี้ มีการเพิ่มเลเยอร์ใหม่โดยผลงานของศิลปินรุ่นหลังในช่วงหลายทศวรรษภายหลังการสวรรคตของพระองค์ ทั้งในฐานะความต่อเนื่องของภาพที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยเจตนาซึ่งถูกพัฒนาโดยโปรแกรมของเขา เช่นเดียวกับการพัฒนาแหล่งที่มาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการสำรวจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงทำให้เกิดสิ่งที่ Elaine Tennant เรียกว่า "อุตสาหกรรมมัคซีมีลีอาน"[18][20]
อ้างอิง
แก้- ↑ Britania.com, Kings of France
- ↑ Weaver, Andrew H. (2020). A Companion to Music at the Habsburg Courts in the Sixteenth and Seventeenth Centuries. BRILL. p. 68. ISBN 9789004435032. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
- ↑ Emmerson 2013, p. 462.
- ↑ Stollberg-Rilinger 2020, p. 13.
- ↑ Whaley, Joachim (19 July 2018). The Holy Roman Empire: A Very Short Introduction (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 6. ISBN 978-0-19-106563-7. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
- ↑ Holland, Arthur William (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 17 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 922–923, see page 922, middle of third para.
- ↑ Brady 2009, pp. 110, 128.
- ↑ Terjanian 2019, p. 37.
- ↑ 9.0 9.1 Holleger 2012, pp. 25, 26.
- ↑ Fichtner, Paula Sutter (2017). The Habsburg Monarchy, 1490-1848: Attributes of Empire. Macmillan International Higher Education. p. 4. ISBN 9781137106421. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ Trevor-Roper 2017, p. 3.
- ↑ Vann, James Allen (1984). "Review: [Untitled]. Reviewed work: Maximilian I, 1459-1519: An Analytical Biography. by Gerhard Benecke". Renaissance Quarterly. 37 (1 (Spring, 1984)): 69–71. doi:10.2307/2862003. JSTOR 2862003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อoeaw
- ↑ Whaley 2012, pp. 72–111.
- ↑ Munck, Bert De; Romano, Antonella (20 August 2019). Knowledge and the Early Modern City: A History of Entanglements (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 114. ISBN 978-0-429-80843-2. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ Hayton 2015, p. 13.
- ↑ Brady 2009, p. 128.
- ↑ 18.0 18.1 Terjanian 2019, p. 62.
- ↑ Whaley 2009, p. 2.
- ↑ แม่แบบ:Cite contribution
ดูเพิ่ม
แก้