สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (อังกฤษ: Migration Period หรือ Barbarian Invasions, เยอรมัน: Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 700 ในทวีปยุโรป,[2] ที่เป็นช่วงที่คาบระหว่างยุคโบราณตอนปลายไปจนถึงยุคกลางตอนต้น การโยกย้ายครั้งนี้มีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสถานะภาพของจักรวรรดิโรมันและที่เรียกว่า “พรมแดนบาร์บาเรียน” ชนกลุ่มที่อพยพโยกย้ายในยุคนี้ก็ได้แก่ชนกอธ, แวนดัล, บัลการ์, อาลัน, ซูบิ, ฟรีเซียน แฟรงค์ และชนเจอร์มานิค รวมถึง ชนสลาฟบางกลุ่ม

สมัยการย้ายถิ่น
Map of Europe, with colored lines denoting migration routes
แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่าย
เวลาประมาณ ค.ศ. 375–568 หรือหลังจากนั้น[1]
สถานที่ทวีปยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
เหตุการณ์การบุกรุกของชนเผ่าในช่วงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกรานไวกิง, แมกยาร์, ชนเตอร์คิค และการรุกรานของมองโกลในยุโรปซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป

ช่วงแรก: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500

แก้

สมัยนี้ได้รับการบันทึกเป็นบางส่วนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกและโรมัน และยากต่อการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดี แต่ระบุว่าชนเจอร์มานิคเป็นผู้นำของบริเวณต่างๆ เกือบทั้งหมดที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิโรมันตะวันตก [3]

วิซิกอธเข้ารุกแรนดินแดนโรมันหลังจากการปะทะกับฮั่นในปี ค.ศ. 376 แต่สถานภาพของชนอิสระของวิซิกอธอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในปีต่อมาองค์รักษ์ของฟริติเกิร์นผู้นำของวิซิกอธก็ถูกสังหารระหว่างที่พบปะกับ ลูพิซินัสนายทหารโรมันที่มาร์เชียโนโพลิส[4] วิซิกอธจึงลุกขึ้นแข็งข้อ และในที่สุดก็เข้ารุกรานอิตาลีและตีกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 410 ก่อนที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรไอบีเรียและก่อตั้งอาณาจักรของตนเองที่รุ่งเรืองอยู่ได้ราว 200 ปี หลังจากนั้นการตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นของโรมันก็ตามมาด้วยออสโตรกอธที่นำโดยพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชผู้ทรงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีด้วยพระองค์เอง

ในบริเวณกอลชนแฟรงค์ผู้ซึ่งผู้นำเป็นพันธมิตรของโรมันอย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโรมันอย่างสงบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และโดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นประมุขของชาวโรมัน-กอล จักรวรรดิแฟรงค์ผู้ต่อต้านการรุกรานจากชนอลามานนิ, เบอร์กันดี และวิซิกอธเป็นส่วนสำคัญที่กลายมาเป็นฝรั่งเศสและเยอรมนีต่อมา

การตั้งถิ่นฐานของแองโกล-แซ็กซอนในบริเตนเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากอิทธิพลของโรมันบริเตนสิ้นสุดลง[5]

ช่วงที่สอง: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 700

แก้

ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณเจอร์มาเนีย ชนบัลการ์ที่อาจจะมีรากฐานมาจากกลุ่มชนเตอร์กิคที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชนลอมบาร์ดที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือลอมบาร์ดี

ในช่วงแรกของสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ กองทัพรอชิดีนพยายามเข้ามารุกรานยุโรปตะวันออกเฉียงใต้โดยทางเอเชียไมเนอร์ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดก็พ่ายแพ้ในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อกองทัพของพันธมิตรของจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลการ์ระหว่างปี ค.ศ. 717 – ค.ศ. 718 ระหว่างสงครามคาซาร์–อาหรับ คาซาร์หยุดยั้งการขยายดินแดนของมุสลิมเข้ามาในยุโรปตะวันออกโดยทางคอเคซัส ในขณะเดียวกันมัวร์ (ผสมระหว่างอาหรับและเบอร์เบอร์) ก็เข้ามารุกรานยุโรปทางยิบรอลตาร์โดยอุมัยยะห์ และยึดดินแดนจากราชอาณาจักรวิซิกอธในคาบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 711 ก่อนที่จะมาถูกหยุดยั้งโดยชนแฟรงค์ในยุทธการตูร์ในปี ค.ศ. 732 ยุทธการครั้งนี้เป็นการสร้างพรมแดนถาวรระหว่างอาณาจักรในกลุ่มคริสตจักรและอาณาจักรในดินแดนมุสลิมในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ในช่วงสองสามร้อยปีต่อมามุสลิมก็พิชิตดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีได้เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้รวมตัวเข้ากับดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย

อ้างอิง

แก้
  1. Allgemein Springer (2006), der auch auf alternative Definitionen außerhalb der communis opinio hinweist. Alle Epochengrenzen sind letztlich nur ein Konstrukt und vor allem durch Konvention begründet. Vgl. auch Stefan Krautschick: Zur Entstehung eines Datums. 375 – Beginn der Völkerwanderung. In: Klio 82, 2000, S. 217–222 sowie Stefan Krautschick: Hunnensturm und Germanenflut: 375 – Beginn der Völkerwanderung? In: Byzantinische Zeitschrift 92, 1999, S. 10–67.
  2. Precise dates given may vary; often cited is 410, the sack of Rome by Alaric I and 751, the accession of Pippin the Short and the establishment of the Carolingian Dynasty.
  3. Also Jordanes (6th century), an Alan or Goth by birth, wrote in Latin.
  4. cf. Wolfram (2001, pp. 127ff.)
  5. cf. Dumville (1990)

ดูเพิ่ม

แก้