ชาวแวนดัล
แวนดัล (อังกฤษ: Vandals) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์แมนิกตะวันออกที่เข้ามามีบทบาทในตอนปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์ชาวกอทพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระเจ้าแผ่นดินของชาวออสโตรกอทและผู้สำเร็จราชการของชาววิซิกอทเป็นพันธมิตรของแวนดัลโดยการสมรส และเป็นพันธมิตรกับเบอร์กันดีและแฟรงก์ภายใต้การปกครองของโคลวิสที่ 1
แวนดัลอาจจะมีชื่อเสียงจากการโจมตีกรุงโรม (Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 455 แม้ว่าการทำลายจะไม่มากไปการทำลายเมืองอื่นที่เกิดขึ้น แต่วัฒนธรรมยุโรปนำการทำลายของชาวแวนดัลไปเชื่อมโยงกับการทำลายอย่างรุนแรงไม่สมเหตุสมผล ในคำว่า "Vandalism" ที่ยังคงใช้อยู่จนทุกวันนี้
ที่มา
แก้นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าแวนดัลมีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมปแชวอสก์ (Przeworsk culture) และอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่นที่อาจจะเป็น กลุ่มผสมระหว่างสลาฟ กับเจอร์แมนิก[1] ลูกีอี (Lugii) ที่นักเขียนโรมันกล่าวว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเดียวกัน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าลูกีอีอาจจะเป็นชื่อเดิมของแวนดัล หรือแวนดัลอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ลีกูเรียที่ประกอบด้วยชนเจอร์แมนิกและชนสลาฟ นักประวัติศาสตร์โรมันจอร์เดนส์ (Jordanes) กล่าวว่าแวนดัลเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษากอทิก และการศึกษาศัพท์มูลวิทยาสนับสนุนความคิดที่ว่าภาษาแวนดัลมีความเกี่ยวข้องกับภาษากอทิก ผู้ที่เป็นเจ้าของอารยธรรมปแชวอสก์ (อาจจะเป็นลูกีอี) มีประเพณีการเผาศพ[1] ประเพณีการเผาศพเป็นประเพณีของชนกลุ่มปรัสเซียบอลติก แต่ชนปรัสเซียใช้ทั้งการเผาศพและการฝังศพ เมื่อโรมันกล่าวถึงลูกีอีซึ่งอาจจะเป็นอารยธรรมปแชวอสก์ที่สืบไปได้ถึงบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม
จากการศึกษาที่มาของชื่อทางภูมิศาสตร์ทำให้เชื่อว่าแวนดัลอาจจะมาจากนอร์เวย์ ("Hallingdal"), สวีเดน ("Vendel") หรือ เดนมาร์ก ("Vendsyssel") และสรุปกันว่าแวนดัลข้ามทะเลบอลติกไปยังบริเวณที่เป็นโปแลนด์ปัจจุบันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ และไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไซลีเชียตั้งแต่ราว 120 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และตามทฤษฎีนี้แวนดัลก็มีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมปแชวอสก์ เพราะอารยธรรมวีลบาร์คของกอทดูเหมือนจะมาแทนสาขาหนึ่งของอารยธรรมปแชวอสก์
นักประพันธ์ยุคกลางใช้คำว่า "แวนดัล" ในการกล่าวถึงกลุ่มชนสลาฟบางกลุ่มที่รวมทั้งเวนด์, ซอร์บ หรือโพล[2][3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Mallory & Adams "Encyclopedia of Indo-European Culture
- ↑ Annales Alamannici, 795 ad
- ↑ Gesta Hammaburgensis ecclesiae pontificum by Adam of Bremen 1075 ad
- ↑ Roland Steinacher under Reiner Protsch"Studien zur vandalischen Geschichte. Die Gleichsetzung der Ethnonyme Wenden, Slawen und Vandalen vom Mittelalter bis ins 18. Jahrhundert เก็บถาวร 2007-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", 2002