สนามบินสระพรานนาค

สนามบินทหารบกในจังหวัดลพบุรี

สนามบินทหารบกสระพรานนาค (อังกฤษ: Saphannak Army Airfield)[2] หรือ สนามบินสระพรานนาค[2] หรือ ฐานบินสระพรานนาค[3] เป็นฐานบินของกองสนามบิน ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย ตั้งอยู่ภายในค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี แต่ตัวพื้นที่สนามบินตั้งอยู่ในตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

สนามบินทหารบกสระพรานนาค
ส่วนหนึ่งของกองทัพบกไทย
โคกสำโรง ลพบุรี
ยูเอช-60 แบล็กฮอว์กจากกองพันบินที่ 9 กรมบิน ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่สนามบินสระพรานนาคขณะทำการฝึก Hanuman Guardian 2023
แผนที่
พิกัด14°57′00″N 100°38′36″E / 14.949937°N 100.643472°E / 14.949937; 100.643472 (ฐานบินสระพรานนาค)
ประเภทสนามบินทหารบก
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการ กองทัพบกไทย
ควบคุมโดยศูนย์การบินทหารบก
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์aavnc.rta.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2510; 57 ปีที่แล้ว (2510)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองพันป้องกันฐานบิน ศูนย์การบินทหารบก
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBH[1]
ความสูง95 ฟุต (29 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
01/19 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต
06/24 2,000 เมตร (6,562 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
19/01 260 เมตร (853 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต
06/24 370 เมตร (1,214 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

ประวัติ

แก้

สนามบินสระพรานนาค แต่เดิมคือสนามบินของโรงเรียนการบินทหารบก ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 หลังจากโรงเรียนการบินได้ย้ายที่ตั้งจากเดิมที่ใช้ฐานบินร่วมกันกับกองบินน้อยที่ 2 กองทัพอากาศ ณ ฐานบินโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยโรงเรียนการบินทหารบกได้ใช้งานสนามบินสระพรานนาคในการเรียนการสอนจนกระทั้งได้มีการแปรสภาพมาเป็นกรมการบินทหารบกในปี พ.ศ. 2515 และปรับสภาพเป็นศูนย์การบินทหารบกเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2520 และโรงเรียนการบินทหารบกขึ้นตรงต่อศูนย์การบินทหารบก ทำให้สนามบินสระพรานนาคอยู่ในความดูแลโดยตรงของศูนย์การบินทหารบก[4] ประกอบไปด้วยอากาศยานสำหรับฝึกบินของโรงเรียนการบินและอากาศยานปฏิบัติการหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบกทั้งอากาศยานปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุน ที่ใช้งานทั่วไปและติดอาวุธในการรบ[2]

บทบาทและปฏิบัติการ

แก้

กองทัพบกไทย

แก้

สนามบินสระพรานนาค อยู่ในความดูแลของ กองสนามบิน ศูนย์การบินทหารบก ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติงานภายใน 3 หน่วยคือ แผนกบังคับการบิน แผนกบริการสนามบิน และแผนกยุทธการสนามบินและข่าวอากาศ[5][2]

สนามบินสระพรานนาคยังเป็นที่ตั้งของฐานบินหลักอากาศยานประจำการหลักของกองทัพบพไทย สังกัดกรมบิน[3] แบ่งเป็นกองพันบินต่าง ๆ ดังนี้

  • กองพันบินที่ 1
  • กองพันบินที่ 2
  • กองพันบินที่ 3
  • กองพันบินที่ 9
  • กองพันบินที่ 21
  • กองพันบินที่ 41
  • กองพันซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก
  • กองพันป้องกันฐานบิน[3]
  • กองพันบริการ กองบริการ ศูนย์การบินทหารบก

นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนการบินทหารบก ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดนักบินหลักของกองทัพบกไทย[6] ทั้งแบบปีกตรึงและปีกหมุน

หน่วยในฐานบิน

แก้

หน่วยบินที่วางกำลังในสนามบินสระพรานนาค ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

กองทัพบกไทย

แก้

กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก

แก้

ศูนย์การบินทหารบก

แก้

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

สนามบินสระพรานนาค ตั้งอยู่ภายในค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน ดังนี้

ลานบิน

แก้

อากาศยานปีกตรึง

แก้

สนามบินสระพรานนาค ประกอบไปด้วย 2 ทางวิ่ง ได้แก่

  • ทางวิ่ง 01/19 ความยาว 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) ความกว้าง 30 เมตร (98 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 95 ฟุต (29 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 01/19 หรือ 010° และ 190° พื้นผิวแอสฟอลต์คอนกรีต[2]
  • ทางวิ่ง 06/24 ความยาว 2,000 เมตร (6,562 ฟุต) ความกว้าง 30 เมตร (98 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 95 ฟุต (29 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 06/24 หรือ 060° และ 240° พื้นผิวแอสฟอลต์คอนกรีต[2]

อากาศยานปีกหมุน

แก้

สนามบินสระพรานนาค ประกอบไปด้วย 2 ทางวิ่งลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ได้แก่

  • หน้าหมวดบริการและซ่อมบำรุง กองพันบินที่ 2 ทิศทางบินขึ้น 190° ทิศทางบินลง 010°[2] ความยาวประมาณ 260 เมตร (853 ฟุต)[a]
  • หน้าหมวดบริการและซ่อมบำรุง กองพันบินที่ 3 ทิศทางบินขึ้นและลง 060° หรือ 240°[2] ความยาวประมาณ 370 เมตร (1,214 ฟุต)[a]

หน่วยบริการภาคพื้น

แก้

สนามบินสระพรานนาค ประกอบด้วยยานยนต์บริการภาคพื้น[2] ดังนี้

  • รถเติมเชื้อเพลิงอากาศยาน เจพี 8 จำนวน 3 คัน
  • รถเติมเชื้อเพลิงอากาศยาน 100 แอลแอล จำนวน 1 คัน
  • รถดับเพลิงเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 คัน
  • รถดับเพลิงใช้สารเคมี จำนวน 1 คัน
  • รถดับเพลิงอากาศยานเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 คัน

ระบบเครื่องช่วยเดินอากาศ

แก้
  • อุปกรณ์วัดช่วงวิทยุ/ระยะทางรอบทิศทาง (Omni-Directional Radio Range /Distance Measuring Equipment: DVOR/DME) ความถี่ 117.3 MHz[2]
  • วิทยุประภาคาร (Non-Directional Beacon: NDB) ความถี่ 242 MHz[2]

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 จากการวัดความยาวบนภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล แผนที่

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 ระเบียบศูนย์การบินทหารบก ว่าด้วยสนามบินสระพรานนาค พ.ศ. 2563 (PDF). ศูนย์การบินทหารบก. 2563.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 "การจัดหน่วย ศูนย์การบินทหารบก". aavnc.rta.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2024-07-02.
  4. "ประวัติ". www.aavn-school.ac.th.
  5. "ผังการจัด". aavnc.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  6. "ภารกิจ". www.aavn-school.ac.th.
  7. "ทบ.โต้สื่อ ยัน ฮ. AW149 บินได้มีประสิทธิภาพ ย้ำ ระบบจัดซื้อจัดจ้างถูกต้อง". mgronline.com. 2018-05-23.
  8. "เด็กๆ ตื่นเต้น ! "แบล็กฮอว์ก" ทดลองบิน เตรียมรับนายกฯ ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช". เนชั่นทีวี. 2023-02-19.
  9. "อากาศยานประจำหน่วย - กองพันบินที่ 21". 21avnbattalion.rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  10. "กองพันบินที่ 41 กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก สนับสนุนอากาศยาน Mi17 ดับไฟป่าในพื้นที่เขาแหลมหญ้า นครนายก". สยามรัฐ. 2023-03-30.
  11. "ฮ.ฝึกบินทหารบกร่วง สังเวย 2 ศพ เครื่องดับ-ตู่สั่งสอบ สูญเสีย พ.ท.กับ ส.ท. (คลิป)". www.thairath.co.th. 2021-12-15.
  12. "พระราชประวัติ". KMUTT.