มหาวิทยาลัยราชภัฏ

(เปลี่ยนทางจาก สถาบันราชภัฏ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏ (อังกฤษ: Rajabhat University; อักษรย่อ: RU) เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ชื่อย่อ(แต่ละแห่งใช้ต่างกัน) / RU
ประเภทมหาวิทยาลัยของรัฐ
สถาปนาโรงเรียนฝึกหัด
12 ตุลาคม พ.ศ. 2435
– 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (67 ปี)
วิทยาลัยครู
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503
– 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (31 ปี)
สถาบันราชภัฏ
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
– 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (12 ปี)
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (20 ปีก่อน) (2547-06-15)

ประวัติ

แก้

ยุคโรงเรียนฝึกหัด

แก้

มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพัฒนามาจาก "โรงเรียนฝึกหัด" เช่น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์, โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑล โดยก่อเกิดดังนี้

หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว ทำให้โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑล เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัด" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู (ต่อท้ายด้วยจังหวัดที่ตั้ง)" พร้อมขยายการก่อตั้งโรงเรียนออกไปยังภูมิภาคมากขึ้น

ยุควิทยาลัยครู

แก้

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะ โรงเรียนฝึกหัดครู เป็น "วิทยาลัยครู"  พร้อมกับเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตรปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู โดยกำหนดในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักศึกษาถึงระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์ หลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู

— พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

โดยมีวิทยาลัยครู จำนวน 17 แห่ง ได้แก่[5]

ยุคนามพระราชทาน "สถาบันราชภัฏ"

แก้

ในเวลาต่อมา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[6] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครู เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏตั้งแต่บัดนั้น ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นล้นพ้นด้วยทรงพระเมตตา ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็น "สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ" นับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลจักได้ภาคภูมิใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณให้เต็มความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู[7] และทำให้สถาบันราชภัฏ เปิดทำการสอนในาขาวิชาอื่นๆ นอกจากสาขาการศึกษาตั้งแต่นั้นมา

ยุคปฏิรูปการศึกษา

แก้

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้อนุมัติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่งตามโครงการ 1 ใน 5 โครงการสถาบันราชภัฏเพิ่มในระยะแรก โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชากรในระดับภูมิภาค ได้แก่

  1. สถาบันราชภัฏชัยภูมิ
  2. สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ
  3. สถาบันราชภัฏนครพนม 
  4. สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ 
  5. สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

ยุคมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

แก้

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547[8] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และมีภารกิจและปณิธานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[9]

มาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

วันราชภัฏ

แก้

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันราชภัฏ" สืบเนื่องจาก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัย และถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยเช่นกัน

คำว่า "ราชภัฏ" ให้ความหมายที่กินใจความว่า "คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน" หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ "การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ" ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน"

เนื่องในวันราชภัฏ ในทุก ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่าง ๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ "ชาวราชภัฏ" หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฏจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น "ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง" และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุก ๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ

แก้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม " ราชภัฏ " และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม " ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา "

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ

  1. เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน
  2. เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
  3. สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้
  • ██ สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
  • ██ สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • ██ สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • ██ สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ██ สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ

แก้

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งหมด 38 แห่งโดยแบ่งตามการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของกลุ่ม ดังนี้[10]


องค์กรเกี่ยวกับนักศึกษา

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

เป็นองค์กรของนักศึกษาที่ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โดยสมาพันธ์ฯ มีหน้าที่มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง และพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มนักศึกษาเป็นสำคัญ โดยสมาพันธ์ฯ ประกอบไปด้วย ประธานสภานักศึกและนายกองค์การนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  5. พระราชกฤษฎีกายกฐานะสถาบันฝึกหัดครูเป็นวิทยาลัยครู ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/004/1.PDF
  7. พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00141755.PDF
  9. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
  10. กุมารี วัชชวงษ์ ,อักษรย่อมหาลัยราชภัฏ ชื่อที่ตั้งไว้แต่ไม่มีคนรู้จัก, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  11. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548
  12. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ๒๕๕๘, ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2558
  13. [1] ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558