สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย หรือ เอทีวี(จีน: 亞洲電視, ชื่อเต็ม: 亞洲電視有限公司, ชื่อย่อ: 亞視) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอเชียเทลิวิชัน (อังกฤษ: Asia Television, ชื่อเต็ม: Asia Television Digital Media Limited, ชื่อย่อ aTV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในฮ่องกง และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกของโลกอีกด้วย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (จีน: 麗的電視, ชื่อเต็ม: 麗的電視有限公司, ชื่อย่อ: 麗的; อังกฤษ: Rediffusion Television, ชื่อย่อ: RTV) ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | การออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ |
ก่อนหน้า | สถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (RTV) |
ก่อตั้ง | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ครั้งที่ 1) 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 2) |
เลิกกิจการ | 2 เมษายน พ.ศ. 2559 (58 ปี) (ครั้งที่ 1) |
สำนักงานใหญ่ | เขตบริหารพิเศษฮ่องกง |
ผลิตภัณฑ์ | ATV Home, ATV World ฯลฯ |
เว็บไซต์ | http://www.hkatv.com/ |
สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 亞洲電視 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 亚洲电视 | ||||||||||
| |||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 亞視 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 亚视 | ||||||||||
|
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รัฐบาลฮ่องกงได้ลงมติให้สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของสถานีฯ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก[1] โดยสิ้นสุดใบอนุญาตลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[2] และกำหนดยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน โดยคลื่นความถี่ระบบแอนะล็อก 2 สถานี ได้โอนไปเป็นของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) โดยช่องที่เป็นของภาษาจีนนั้น RTHK นำรายการจากช่อง 31 ของ RTHK และช่องภาษาอังกฤษ นำรายการจากช่อง 33 (ซึ่งทวนสัญญาณรายการจากซีซีทีวี 9 ก่อนจะปรับมาทวนสัญญาณของ ซีซีทีวี 1 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560) มาออกอากาศคู่ขนานกัน สวนคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลซึ่งใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้เอชเคเทลิวิชันเอนเทอร์เทนเมนต์ (HKTVE) ทำช่องรายการใหม่ ในชื่อ วิวทีวี (ViuTV) แล้วกลับมาออกอากาศอืกครั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะผู้ให้บริการ OTT
เรตติ้งอ่อนแอตลอดหลายปีและการขาดทุน
แก้สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศฟรีสองแห่งของฮ่องกงถูกครอบงำโดยละครของช่อง ทีวีบี (TVB) และเรตติ้งของช่อง เอทีวี (ATV) นั้นอ่อนแอ
ตามสถิติ โดยทั่วไปเรตติ้งของช่องทีวีบี นั้นจะสูงมาก และเรตติ้งของช่อง เอทีวี จะต่ำในช่วงเวลาส่วนใหญ่
ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการดูช่อง ทีวีบี ( TVB) เป็นหลัก และไม่ค่อยจะเปลี่ยนช่อง
ตามรายงานช่อง เอทีวี ( ATV) มีปัญหาการขาดทุนระยะยาวประมาณ 1 ล้านเหรียญฮ่องกงในช่วงปีพ.ศ. 2551 ความสูญเสียรายวันพุ่งสูงถึง 2 ล้านเหรียญฮ่องกง[3]อดีตประธานบริหารของ เอทีวี ( ATV) ครั้งหนึ่ง ระบุว่า เอทีวี ขาดทุนในระยะยาว ในปีพ.ศ. 2551 มีการสูญเสียเม็ดเงินอย่างน้อย 5 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[4]
ต่อมา หลายรายการของ เอทีวี (ATV) บันทึกเรตติ้งได้ 1 จุดเปิด และบางรายการที่ออกอากาศถึงกับไม่มีเรตติ้งเลย (หากเรตติ้งน้อยกว่า 1 จุดเปิด จะนับเป็น 0 จุดเปิด)
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทางช่องทีวีบี (TVB) ออกอากาศตอนจบของ " ยอดหญิงจอมทรนง" (No Regrets) โดยตอนจบบันทึกเรตติ้งได้ 44 จุดเปิด (สูงสุดคือ 47 จุดเปิด) ทำให้รายการของ เอทีวี (ATV) หลายรายการทำเรตติ้งเฉลี่ยได้เพียง 1 จุดเปิด โดยในจำนวนนี้ รายการศาสนา "เสียงเรียกจากสายฝน" (The Sound of Rain) " ได้เรตติ้งเป็นศูนย์ (แทบไม่มีคนดู)
ประวัติการแพร่ภาพโทรทัศน์ในฮ่องกง
แก้โดยทั่วไปแล้ว เรตติ้งของช่อง ทีวีบี (TVB) จะสูงกว่าเรตติ้งของช่อง เอทีวี (ATV) อยู่มาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีละครบางเรื่องและรายการบางรายการของช่อง เอทีวี ที่สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่ารายการของ ทีวีบี ที่ออกอากาศชนกันในช่วงสั้นๆ ได้บ้าง อาทิเช่น
อ้างอิง
แก้- ↑ "อวสาน ATV! ทางการไม่ต่อใบอนุญาตฟรีทีวีปิดฉากทีวีสถานีแรกของฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-08.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Zheng, Anjie; Steger, Isabella (1 April 2015). "Hong Kong's Oldest TV Station, ATV, to shut down". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ เอทีวีขาดทุนรายวัน 2 ล้าน ATV ต้องการเงินทุนใหม่ เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-19
- ↑ การขาดทุนของ ATV ในระยะยาว เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน文匯報 2008-12-10
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2013-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน