สถานีสำโรง

สถานีเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีเหลือง

สถานีสำโรง (อังกฤษ: Samrong station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีสำโรง

แก้
สำโรง
E15

Samrong
   
 
ชานชาลาสถานีสำโรง สายสุขุมวิท
ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2560
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
พิกัด13°38′51″N 100°35′46″E / 13.647363°N 100.596153°E / 13.647363; 100.596153
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ  สำโรง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE15
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 เมษายน พ.ศ. 2560; 7 ปีก่อน (2560-04-03)[1]
ผู้โดยสาร
25643,186,681
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
แบริ่ง
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท ปู่เจ้า
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
 

สถานีสำโรง (รหัส: E15) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ โดยยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณสะพานข้ามคลองสำโรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานีต้นทางของในเส้นทางช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ และเป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีแรกที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร[2][3] นอกจากนี้ สถานีสำโรงยังเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ ด้วยทางเดินยกระดับบริเวณด้านใต้ของสถานี[4]

ที่ตั้ง

แก้

ถนนสุขุมวิท ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับทางแยกเทพารักษ์ ในพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

บริเวณสถานีสำโรงนี้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญจุดหนึ่งของสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นย่านการค้าแหล่งใหญ่ มีชุมชนอย่างหนาแน่น มีแยกเทพารักษ์ที่เชื่อมต่อไปยังถนนศรีนครินทร์ และอำเภอบางพลี ใกล้กันยังมีทางแยกปู่เจ้าสมิงพรายที่สามารถเชื่อมไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา, ท่าน้ำปู่เจ้าสมิงพราย, อำเภอพระประแดง, ฝั่งธนบุรี รวมถึงถนนพระรามที่ 3 ซึ่งเชื่อมต่อมายังจังหวัดสมุทรปราการได้ด้วยสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

รายละเอียด

แก้

สัญลักษณ์

แก้

เดิมกำหนดให้ใช้เป็นรูปประตูป้อมปราการ สื่อถึงประตูเมืองเข้าจังหวัดสมุทรปราการ[5] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อนตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทาง และทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก

รูปแบบ

แก้

กว้าง 22.6 เมตร ยาว 150 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา โดยชานชาลาจะเป็นแบบชานชาลาเกาะกลางเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถในกรณีที่ผู้ให้บริการเป็นอีกราย มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า–ออก

แก้
  • 1 ทางเดินข้ามคลองสำโรง (ด้านเหนือของสถานี)
    • ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง (สะพานเชื่อม), ตลาดสำโรง, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ (บันไดเลื่อน)
    • ตลาดเอี่ยมเจริญ, ซอยสุขุมวิท 113
  • 2 โรงน้ำแข็งสำโรง, ไปรษณีย์สำโรง, ซอยสุขุมวิท 80
  • 3 สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ, ป้ายรถประจำทางไปถนนเทพารักษ์ อำเภอบางพลี (ลิฟต์; ใช้ร่วมกับสายสีเหลือง ทางออก 3)
  • 4 ทางเดินข้ามทางแยกสำโรง (ด้านใต้ของสถานี)
    • ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศใต้ ป้ายรถประจำทางไปปากน้ำ บางปู (บันไดเลื่อน; ใช้ร่วมกับสายสีเหลือง ทางออก 2)
    • ถนนสุขุมวิทขาเข้า, ทางแยกปู่เจ้าสมิงพราย (บันไดเลื่อน)
  • 5 ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศเหนือ ป้ายรถประจำทางไปบางนา (ลิฟต์)
  • 6 ซอยนครทอง 1, ซอยนครทอง 2 (ลิฟต์)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าไปรษณีย์สำโรง และทางออก 3 บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ

แผนผัง

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (ปู่เจ้า)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (แบริ่ง)
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–6, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
  สำโรง, ทางเดินเชื่อมศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนสุขุมวิท, แยกเทพารักษ์

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีสำโรงและสถานีเคหะฯ เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนของวันจันทร์-ศุกร์ รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีสำโรง จะใช้ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาเดิม โดยจะมีเสียงประกาศแจ้งบนสถานีเป็นระยะ

ทั้งนี้หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาเร่งด่วน รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดการให้บริการที่สถานีสำโรง บางขบวนจะกลับเข้าให้บริการขบวนรถเต็มระยะตั้งแต่สถานีสำโรง-สถานีคูคต หรือให้บริการระยะสั้นจากสถานีสำโรง-สถานีหมอชิต เพื่อกลับเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต โดยผู้โดยสารสามารถตรวจสอบได้จากเสียงประกาศภายในขบวนรถไฟฟ้า หรือกรณีเป็นขบวนรถรุ่นใหม่สามารถตรวจสอบสถานีปลายทางได้ที่หน้าจอแสดงผลการเดินรถ

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
  • ทางเดินเชื่อมจากสถานีไปยังตลาดสำโรง ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ และบิ๊กซี สำโรง

การแก้ปัญหาจราจรบริเวณทางแยกเทพารักษ์และทางแยกปู่เจ้าสมิงพราย

แก้

สนข. และกรมทางหลวงได้พิจารณาหารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงกายภาพของถนน ได้แก่การเพิ่มช่องจราจรถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกจาก 6 เป็น 8 ช่องจราจร และขยายสะพานข้ามคลองสำโรงจาก 4 เป็น 6 ช่องจราจร โดยไม่สร้างสะพานลอยข้ามทางแยก ทำให้สถานีสำโรงยังคงมีตำแหน่งที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อของผู้ใช้บริการขนส่งมวลชน และไม่ต้องยกสถานีสูงเกินไป[6] แต่มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อถอนตึกด้านข้างเพื่อทำการขยายถนน ซึ่งได้มีการต่อต้านจากประชาชนในย่านสำโรง โดยขึ้นป้ายประท้วงและบอกให้สร้างได้โดยไม่ต้องขยายถนน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถ้าไม่ทำการขยายถนนเสียก่อนจะทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้นไปอีก

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ สถานีสำโรง

แก้
สำโรง
YL23

Samrong
   
 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
พิกัด13°38′42″N 100°35′48″E / 13.6450158°N 100.5966038°E / 13.6450158; 100.5966038
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ  สำโรง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีYL23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี)[7]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ทิพวัล
มุ่งหน้า ลาดพร้าว
สายนัคราพิพัฒน์ สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
 

สถานีสำโรง (รหัส: YL23) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายนัคราพิพัฒน์ โดยยกระดับเหนือถนนเทพารักษ์ใกล้กับทางแยกเทพารักษ์[8]

ที่ตั้ง

แก้

ถนนเทพารักษ์ บริเวณปากซอยเทพารักษ์ 2 ใกล้กับทางแยกเทพารักษ์ (จุดตัดกับถนนสุขุมวิท) ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ[9]

รายละเอียด

แก้

สัญลักษณ์

แก้

ใช้สีเหลืองตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทาง และทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีของสายนัคราพิพัฒน์

รูปแบบ

แก้

กว้าง 22.7 เมตร ยาว 140 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา โดยชานชาลาจะเป็นแบบชานชาลาด้านข้าง มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง[10]

ทางเข้า–ออก

แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[11]

  • 1 ซอยเทพารักษ์ 4 (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
  • 2 ปากทางแยกเทพารักษ์ ทิศใต้, ป้ายรถประจำทางไปปากน้ำ บางปู (ใช้ร่วมกับสายสุขุมวิท ทางออก 4)
  • 3 สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ (ลิฟต์; ใช้ร่วมกับสายสุขุมวิท ทางออก 3)
  • 4 ตลาดเทพารักษ์ (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)

แผนผัง

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีเหลือง สถานีปลายทาง
ชานชาลา 2 สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (ทิพวัล)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร,   สำโรง
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนเทพารักษ์

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง และเปิดใช้ชานชาลาที่ 2 เพียงชานชาลาเดียว ขบวนรถที่มาจากสถานีทิพวัลจะสับรางเพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 2 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีลาดพร้าวจะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีอื่น ๆ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถไฟฟ้าจะออกจากสถานีเข้าสู่สถานีทิพวัลต่อไป

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
  • ทางเดินเชื่อมจากสถานีไปยังตลาดสำโรง ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ และบิ๊กซี สำโรง

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[12]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.46 00.18
E15 สำโรง 00.31
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.26 23.44
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 23.58
สายนัคราพิพัฒน์[13]
ชานชาลาที่ 2
YL01 ลาดพร้าว 05.30 00.00

รถโดยสารประจำทาง

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีม่วง : เขตการเดินรถที่ 1
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

  ถนนสุขุมวิท

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1-14E (129E) (1)   สำโรง (อู่ช้างเอราวัณ)   อู่บางเขน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
3-5 (23) (1) อู่ปู่เจ้าสมิงพราย เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
3-4E (23E) (1) ปากน้ำ (ตลาดปากน้ำ) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านเพชรบุรี)
3-7E (25E) (3)   ปากน้ำ (อู่บ่อดิน) สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

3-12E (102) (2) แพรกษา อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านท่าเรือ)
ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ) สาธุประดิษฐ์
1-14E (129E) (1)   สำโรง (อู่ช้างเอราวัณ)   อู่บางเขน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

3-17E (142E) (2)   ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ)   อู่แสมดำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
3-22E (511) (2)   ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
3-24E (536E) (2)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3-1 (2)   ปากน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการตลอดคืน
3-2E (2E)   ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย
3-6 (25)   โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา
3-13 (507)     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
3-23E (513E)     ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ บจก.ไทยสมายล์บัส
3-25E (552E)   ปากน้ำ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
3-25EX (552X)   โรงเรียนนายเรือ เมกาบางนา
3-27   ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย สวนสยาม
3-32     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)

รถหมวด 3-4

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
365 ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ   บางปะกง รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.สันติมิตรขนส่ง
365 (เสริม) สําโรง ตลาดบางโฉลง รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.สันติมิตรขนส่ง
1141 ปากน้ำ ตลาดนัมเบอร์วัน รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีขาว บจก.เทียนทองขนส่ง
1145 บางนา หนามแดง รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีส้ม บจก.สมุทรเจ้าพระยาขนส่ง
บางนา พรสว่าง

  ถนนเทพารักษ์

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
23E (3-4E) (1) ปากน้ำ (ตลาดปากน้ำ) เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
3-9E (1) หนามแดง ท่านํ้าสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
3-31 (3) เมกาบางนา บางบอน

สถานที่ใกล้เคียง

แก้
  • คลองสำโรง
  • ทางแยกเทพารักษ์และทางแยกปู่เจ้าสมิงพราย
  • สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ
  • ตลาดสำโรง
  • ตลาดเอี่ยมเจริญ
  • ตลาดเทพารักษ์
  • ศูนย์การค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรง
  • โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์

อ้างอิง

แก้
  1. "Public to get free trial, as Samrong BTS station now opens – The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-03.
  2. "BTS offers free rides to new station, first in Samut Prakarn | Coconuts Bangkok". Coconuts (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-03-16. สืบค้นเมื่อ 2017-04-01.
  3. Mail, Pattaya (2017-03-16). "Bearing-Samrong segment of BTS Green Line put on trial run - Pattaya It is one of the 2 stations which have an island platform, the other to be Siam station. Mail". Pattaya Mail (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-04-01.
  4. "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
  5. สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ, สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562
  6. เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน ครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ อินคำ จ.สมุทรปราการ
  7. Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  8. "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
  9. "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  10. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
  11. "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
  12. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  13. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง" (PDF). ebm.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.