สงวน จันทรสาขา
สงวน จันทรสาขา (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 – 11 กันยายน พ.ศ. 2514) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย อดีตเลขาธิการบริหารนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมและอดีตเลขาธิการพรรคสหภูมิ
สงวน จันทรสาขา | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
เลขาธิการบริหารนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 2508 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 11 กันยายน พ.ศ. 2514 (52 ปี) |
พรรคการเมือง | สหภูมิ |
คู่สมรส | จงกลนี จันทรสาขา |
ประวัติ
แก้สงวน จันทรสาขา เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2462) เป็นบุตรของหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา) กับจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม วงษ์หอม) มีพี่น้องคือ สง่า จันทรสาขา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม สงวน จันทรสาขา และ ดร.สุรจิตต์ จันทรสาขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12 ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร และเป็นพี่น้องต่างบิดาของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[1][2]
สงวน จันทรสาขา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระทั่งคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 มีการจัดตั้งรัฐบาลในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2500 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน ซึ่งนายสงวน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3][4] และเขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคสหภูมิ ซึ่งเขาเป็นเลขาธิการพรรคและได้รับการสนับสนุนจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น หลังจากนั้นเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาถึงในรัฐบาลชุดต่อมา นำโดย พลโท ถนอม กิตติขจร ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน[5]
สงวน ได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2506[6]
สงวน จันทรสาขา ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการบริหารนายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร) ในปี พ.ศ. 2506[7] ซึ่งในขณะนั้นมีพลตรี ชูศักดิ์ วัฒนรณชัย เป็นเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี
สงวน ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2514 และมีการพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2515
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2502 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ ย้อนประวัติศาสตร์: เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะเป็น “หัวหน้าพรรค และนักการเมือง”
- ↑ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (3)". Hello Mukdahan. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
- ↑ http://www.glo.or.th/ewt_news.php?nid=54
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๕๒, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖