ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี (อังกฤษ: IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center, Muang Thong Thani) เป็นศูนย์จัดแสดงสินค้าและการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของเมืองทองธานี ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยในแต่ละปีจะมีการจัดงานอีเวนท์ต่างๆ มากกว่า 400 งาน และมีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 15 ล้านรายต่อปี
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี | |
---|---|
IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center, Muang Thong Thani | |
ตราสัญลักษณ์ของอิมแพ็ค | |
อาคารอิมแพ็ค อารีน่า ของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ศูนย์แสดงสินค้า |
เมือง | อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 |
ผู้สร้าง | บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) |
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ประวัติ
แก้บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดสร้างศูนย์กีฬาเมืองทองธานีขึ้น เพื่อสนับสนุนการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ส่วนมากเป็นกีฬาในร่ม เช่นมวยสากลสมัครเล่น และยิมนาสติก หลังจากนั้น มีการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์แสดงสินค้า และจัดประชุมขนาดใหญ่ โดยตั้งชื่อว่า อิมแพ็ค เมืองทองธานี
พื้นที่จัดแสดง
แก้สถานที่ | รายละเอียด | ความจุ |
---|---|---|
อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ (ฮอลล์ 1–3) | อาคารขนาดใหญ่ที่สร้างแบบไม่มีเสากลางอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่รวม 60,000 ตารางเมตร | ห้องรอยัล จูบิลี บอลรูม: 3,500 ที่นั่ง (รับรอง), 2,000 ที่นั่ง (จัดเลี้ยง) |
อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ (ฮอลล์ 5–13) | พื้นที่รวมประมาณ 47,000 ตารางเมตร รองรับงานแสดงสินค้าและคอนเสิร์ต | — |
อิมแพ็ค ฟอรั่ม (ฮอลล์ 4) | อาคารแสดงสินค้า 4 และ ห้องประชุมย่อยแซฟไฟร์อีก 26 ห้อง | ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม: 2,160 ที่นั่ง ฮอลล์จัดเลี้ยง: 2,891 ที่นั่ง |
อิมแพ็ค อารีน่า | สำหรับงานแสดงที่ต้องการเวที รวมทั้งใช้เป็นสนามกีฬาในร่ม ตัวอาคารเพดานสูง 24 เมตร | แบบอารีน่า: 11,440 ที่นั่ง แบบโรงละคร: 3,580 ที่นั่ง |
อิมแพ็ค เลคไซด์ | ลานอเนกประสงค์กลางแจ้งบริเวณริมทะเลสาบ | — |
อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ | ศูนย์ค้าปลีกกลางแจ้งและสถานที่จัดกิจกรรม | |
อิมแพ็ค สปีดพาร์ค | สนามโกคาร์ทกลางแจ้ง | |
อิมแพค สปอร์ตสคลับ | ศูนย์ออกกำลังกายและสถานที่ฝึกซ้อมเทนนิส | |
บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์ มอลล์ | อาคารศูนย์การค้า | |
คอสโม บาซาร์ | อาคารศูนย์การค้า | |
เอาท์เล็ท สแควร์ | ห้างสรรพสินค้า | |
คอสโม ออฟฟิศ พาร์ค | อาคารพาณิชย์และสำนักงาน | |
โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ อิมแพ็ค | ห้องพัก 380 ห้อง โรงแรม 4 ดาว บริหารโดยแอคคอร์โฮเทล | |
โรงแรมไอบิส กรุงเทพ อิมแพ็ค | ห้องพัก 587 ห้อง โรงแรม 3 ดาว บริหารโดยแอคคอร์โฮเทล | ห้องอาหาร TASTE: 100 ที่นั่ง |
เดอะ พอร์ทอล ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ | อาคารศูนย์การค้าและห้องจัดเลี้ยง | เดอะ พอร์ทอลบอลรูม: 1,120 ที่นั่ง |
แอคทีฟ สแควร์ | ลานอเนกประสงค์ สถานที่จัดแสดงงานและกิจกรรมกลางแจ้ง | 20,000 ที่นั่ง |
ธันเดอร์โดม | สถานที่แสดงดนตรีในร่ม | 3,500 ที่นั่ง |
ธันเดอร์โดมสเตเดียม | สนามกีฬากลางแจ้ง สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด | 15,000 ที่นั่ง |
การเดินทาง
แก้รถประจำทาง
แก้เมืองทองธานีมีท่ารถประจำทาง ขสมก. สาย 166 รวมถึงรถเมล์เอกชนร่วมบริการ สาย 33, 51, 52, 90, 150 และ รถเมล์ชานเมือง สาย 356, ต.356, 359, 367, 646 มีรถสองแถว 3 สาย ได้แก่
- สาย 1 คอนโดเมืองทองธานี - แจ้งวัฒนะ
- สาย 2 คอนโดเมืองทองธานี - ติวานนท์
- สาย 3 คอสโม่ บาซาร์ - MRT ศรีรัช
นอกจากนี้แล้ว เมืองทองธานี ยังมีบริการรถคิวตู้หลายสาย สำหรับให้บริการผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี โดยเฉพาะในส่วนของป็อปปูล่า คอนโดมีเนียม ซึ่งมีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และรองรับผู้ที่มาใช้บริการที่ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพค เมืองทองธานี ประกอบด้วย
- สายเมืองทองธานี - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- สายเมืองทองธานี - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
- สายเมืองทองธานี - มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
- สายเมืองทองธานี - เมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ รังสิต
- สายเมืองทองธานี - เดอะมอลล์บางกะปิ
- สายเมืองทองธานี - สีลม (เฉพาะช่วงเช้าวันทำงาน)
- สายเมืองทองธานี - เซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า
และยังมีรถโดยสารปรับอากาศสายพิเศษ สายเมืองทองธานี - อิมแพค เมืองทองธานี - สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ซึ่งทางเมืองทอง ดำเนินการบริการด้วยตนเอง โดยจำหน่ายตั๋วโดยสารในรูปแบบคูปองใบละ 32 บาท เชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟฟ้ามายังศูนย์แสดงสินค้าอิมแพคอีกด้วย
- สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี - เชื่อมต่อกับอาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์[1]
- สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี - เชื่อมต่อกับอาคารอิมแพ็คฟอรั่มและอิมแพ็คเอ็กซิบิชั่นเซ็นเตอร์
ถนนสายหลัก และ ทางด่วน
แก้- ถนนติวานนท์
- ถนนแจ้งวัฒนะ
- ถนนประชาชื่น
- ถนนชัยพฤกษ์
- ถนนบอนด์สตรีท
- ถนนป๊อปปูล่า
- ถนนเมืองทองธานี
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
เหตุการณ์สำคัญ
แก้- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 - การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ระดับประเทศ (อาคารฟอรั่ม (ฮอลล์ 4))
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มิถุนายน 2024) |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-10-13). "อิมแพ็คจ่อสร้างทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี". thansettakij.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ปฏิทินการจัดงาน/กิจกรรม เก็บถาวร 2009-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนthaipr.net
- สมาคม เมืองทองธานี แหล่งพูดคุยกับลูกบ้าน แผนที่ และ ค้นหาที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtta.or.th
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์