ธันเดอร์โดม
ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี (อังกฤษ: Thunder Dome, Muang Thong Thani) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธันเดอร์โดม (อังกฤษ: Thunder Dome) เป็นสนามกีฬาในร่ม และเป็น 1 ใน 2 สนามกีฬาในพื้นที่ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี (สนามกีฬาอีกแห่งในพื้นที่คือธันเดอร์โดมสเตเดียม) สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ต่อมาถูกใช้เป็นเป็นโถงคอนเสิร์ต และกิจกรรมอื่น ๆ เช่นเดียวกับอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ที่อยู่ใกล้เคียง
ชื่อเต็ม | ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี |
---|---|
ชื่อเดิม | อาคารกีฬายกน้ำหนัก |
ที่อยู่ | เมืองทองธานี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ไทย |
พิกัด | 13°55′05″N 100°32′54″E / 13.91817024922166°N 100.54841881250705°E |
เจ้าของ | บางกอกแลนด์ (พื้นที่) การกีฬาแห่งประเทศไทย (ตัวอาคาร)[1] |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด[2] |
ชนิด | สนามกีฬาในร่ม, สถานที่แสดงดนตรี |
ประเภท | ยกน้ำหนัก, ว่ายน้ำ, รักบี้ |
ความจุ | 3,500 คน (ปกติ)[3] 4,000 คน (สูงสุด)[4] |
พื้นที่ | 5,341 ตารางเมตร[2] |
การใช้งานในปัจจุบัน | กีฬาในร่ม, คอนเสิร์ต |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2541 |
ปีที่ใช้งาน | พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน |
ผู้จัดการโครงการ | บางกอกแลนด์ |
เว็บไซต์ | |
https://www.thunderdome.biz/th/ |
ประวัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2539 บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้สร้างศูนย์กีฬาเมืองทองธานีขึ้นเพื่อสนับสนุนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2541 โดยอาคารธันเดอร์โดมใช้จัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก จึงมีชื่อเดิมว่า "อาคารกีฬายกน้ำหนัก"[2] ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540[5] ได้ทำสัญญาให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเช่าพื้นที่เป็นเวลา 30 ปี (จนถึง พ.ศ. 2570) เพื่อพัฒนาการกีฬาให้กับเยาวชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย[1] แต่ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 การกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้ให้บริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด (เดิมอยู่ในเครือสยามสปอร์ตซินดิเคท ก่อนจำหน่ายเงินลงทุนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[6]) เป็นผู้เช่าอาคารต่อตามสัญญาที่เหลือ[2][5]
ปัจจุบัน ธันเดอร์โดมเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย เช่นเดียวกับอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมักใช้จัดคอนเสิร์ตหรืองานพบปะแฟนคลับของศิลปินเคป็อปที่ได้รับความนิยมที่มาจัดคอนเสิร์ตทัวร์ในประเทศไทย[7]
เหตุการณ์สำคัญ
แก้กีฬา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2023) |
คอนเสิร์ต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2023) |
พ.ศ. 2539
แก้- มิถุนายน : อิทธิ พลางกูร, หรั่ง ร็อกเคสตร้า, ต่อ-ต๋อง วงทู, พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร, ไอ-สครีม : Live Action Jump Concert
พ.ศ. 2548
แก้พ.ศ. 2550
แก้- 2 มีนาคม : ฟิล์ม รัฐภูมิ, แดน-บีม, ดัง พันกร, ลิเดีย, ซินเดอเรลล่า, โฟร์ มด, น็อตโตะ, โจ-ป๊อป, เนโกะ จัมพ์, อิ๊ป ยุพาพักตร์, แอมมารี่, ไอ..น้ำ, เล้าโลม, หวิว, แอมไฟน์, เกียร์ไนท์ : คอนเสิร์ต เราจะเป็นคนดี
พ.ศ. 2560
แก้- 1 กรกฎาคม : ซิลลี่ ฟูลส์ : LEO Presents SILLY WAR II Concert "สงครามของคนโง่"
พ.ศ. 2561
แก้- 23 มิถุนายน : ซีล : LEO Presents ZEAL 15yrs Concert
พ.ศ. 2562
แก้- 5 ตุลาคม : ซีล, ซิลลี่ ฟูลส์ : LEO Presents Zealy Fools Concert
พ.ศ. 2566
แก้- 13 สิงหาคม : PROXIE The 1st Concert "ACCESS"
- 28 ตุลาคม : BAMBAM THE 1ST WORLD TOUR [AREA 52]
- 29 ตุลาคม : Depart’Cher Cherprang BNK48’s Graduation Concert
พ.ศ. 2567
แก้- 3 สิงหาคม : ATLAS ATLAS CONCERT The 1st Journey
- 17 สิงหาคม : 𝖲𝖠𝖱𝖮𝖢𝖧𝖠 𝖲𝖮𝖫𝖮 𝖲𝖳𝖠𝖦𝖤 𝖡𝖨𝖱𝖳𝖧𝖣𝖠𝖸 𝖥𝖠𝖭 𝖬𝖤𝖤𝖳𝖨𝖭𝖦 THE FREENAIRY ORACLE
- 31 สิงหาคม : พิกซี่ (วงดนตรี) Tales Concert : Welcome to PiXXiE Land
- 21 กันยายน : ไลแคน (บอยแบนด์) LYKN UNLEASHED CONCERT
- 26 ตุลาคม : 2024 CHANYEOL LIVE TOUR : City-scape in BANGKOK
- LEO presents 'กูฟังเพลงไท' - 14 และ 15 กันยายน พ.ศ. 2567 ของวง ไททศมิตร
พ.ศ.2568
แก้9 พฤษภาคม : M2M THE BETTER ENDINGS TOUR
รายการโทรทัศน์
แก้- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว (คอนเสิร์ตประกาศผลรอบชิงชนะเลิศเฉพาะปี 5)[8]
- ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (คอนเสิร์ตประจำสัปดาห์ AF2-AF9 และรอบชิงชนะเลิศ AF12)[9]
- ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (คอนเสิร์ตประกาศผลรอบชิงชนะเลิศปี 2017)[10]
การประกวด
แก้- มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2562 -
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - รอบ Preliminary
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - รอบ Final
อื่น ๆ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กรกฎาคม 2023) |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "อิมแพ็ค ยืนยันไม่ใช่เป็นผู้บริหารอาคารธันเดอร์โดม และมีศักยภาพพร้อมจัดงานทุกรูปแบบ". RYT9. 2011-02-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "รายงานการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร ประจำปี 2565 (ธันเดอร์โดม สปอร์ตคอมเพล็กซ์)" (PDF). สํานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2023-01-10. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ที่พักแนะนำใกล้ธันเดอร์โดม". ibis Bangkok IMPACT. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ "เช็กกันหน่อย!? จัดงาน อีเว้นท์ New Normal แต่ละ Venue จุคนได้เท่าไหร่". zipevent. 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ 5.0 5.1 "The Rising Star ผ่าสูตรปั้น "กิเลนผยอง"". Positioning Magazine. 2009-11-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ สยามสปอร์ตซินดิเคท (2023-04-20). รายงานประจำปี 2565 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (pdf). สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ "งานอีเวนท์และคอนเสิร์ตที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี". NOVOTEL BANGKOK IMPACT. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ ""สิงโต" หนุ่มขอนแก่นวัย 16 คว้าแชมป์ "เดอะสตาร์ 5"". RYT9. 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ "แม็กซ์ V12 คว้าแชมป์ สุดยอดนักล่าฝัน ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย คนที่ 12 ของประเทศไทย!". ทรูไอดี. 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
- ↑ "'มีเทน' คว้าแชมป์ HOT WAVE 2017 สุดยอดเวที วงดนตรีระดับมัธยม". ข่าวสด. 2017-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์หลักของธันเดอร์โดม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ธันเดอร์โดม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°55′05″N 100°32′54″E / 13.91817024922166°N 100.54841881250705°E