วินิตา ดิถียนต์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักประพันธ์นวนิยายชาวไทย นามปากกาที่เป็นที่รู้จัก คือ แก้วเก้า, ว.วินิจฉัยกุล, รักร้อย, ปารมิตา, วัสสิกา, อักษรานีย์ และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2547
วินิตา ดิถียนต์ | |
---|---|
เกิด | วินิตา วินิจฉัยกุล 14 มีนาคม พ.ศ. 2492 โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดธนบุรี |
นามปากกา | ว.วินิจฉัยกุล แก้วเก้า รักร้อย ปารมิตา วัสสิกา อักษรานีย์ |
อาชีพ | นักเขียน |
คู่สมรส | สมพันธ์ ดิถียนต์ |
บุตร | 2 คน |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้คุณหญิงวินิตาเกิดที่กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด เธอสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจนเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดในปี 2538[1]
คุณหญิงวินิตาตีพิมพ์นวนิยายเรื่องแรกของเธอเรื่อง มิถิลา เวสาลี ตอนที่เธอยังเป็นนักเรียนอยู่ นวนิยายของเธอประกอบด้วยนวนิยายแนวสมจริงที่สร้างจากชีวิตประจำวันของคนไทย นวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายแนวแฟนตาซี และซีรีส์นิยายอาชญากรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวละครหลักชื่อคุณป้ามาธูร คุณป่ามาธูรมีพื้นฐานมาจากมิสมาร์เปิล ของอกาธา คริสตี นวนิยายในเวลาต่อมาของเธอเป็นนวนิยายแนวแฟนตาซีและอิงประวัติศาสตร์ และนวนิยายแนวนี้กลายเป็นแนวที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จัก[1]
คุณหญิงวินิตาได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2547 นวนิยายของเธอ 9 เรื่องได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น นวนิยายของเธอหลายเรื่องได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์[1][2] ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2541 เธอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า เนื่องในวันฉัตรมงคล ทำให้เธอได้เลื่อนฐานะเป็น คุณหญิง[3]
ผลงาน
แก้นามปากกา ว.วินิจฉัยกุล
แก้- กลิ่นกุหลาบ
- กะไหล่ทอง
- แก้วตา
- ของขวัญวันวาน
- คืนสว่าง
- คลื่นกระทบฝั่ง
- ความฝันครั้งที่สอง
- ความลับของดาวมรกต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 7)
- คุณชาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2542 ช่อง 7)
- เงาระบายสี
- จุดดับในดวงตะวัน
- เจ้าสาวในสายลม (อยู่ระหว่างสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ช่องวัน)
- ชายแพศยา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2566 ช่อง 3)
- ตามลมปลิว
- ทะเลแปร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2540 ช่อง 3 และ 2563 ช่องอมรินทร์ทีวี)
- ทางรัตติกาล
- ทางไร้ดอกไม้
- ทานตะวัน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2540 ช่อง 3)
- เทวาพาคู่ฝัน
- นับทองครองคู่
- น้ำใสใจจริง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2537 ช่อง 7 2543 ช่อง 3 และ 2558 ช่อง Mono29)
- บทเพลงแห่งคิมหันต์
- บ้านของพรุ่งนี้ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2531 ช่อง 7)
- บ้านบุญหล่น
- บ้านพิลึก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2528 ช่อง 7)
- บูรพา
- เบญจรงค์ห้าสี (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2528 ช่อง 3 และ 2539 ช่อง 7)
- ใบไม้ร่วง
- ปัญญาชนก้นครัว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2531 ช่อง 7 2542 2548 และ 2555 ช่อง 3)
- ปาก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2534 ช่อง 3 และ 2561 ช่อง GMM25)
- พลอยเปลี่ยนสี
- เพชรกลางไฟ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2560 ช่อง 3)
- เพลงพรหม (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 3)
- เพลงสายลม-หน้าต่างสายลม
- พาเที่ยววันวานกับคุณยาย
- ฟ้าต่ำ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2530 ช่อง 3)
- มณีร้าว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2533 ช่อง 7)
- มายา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2524 ช่อง 9 2531 2544 และ 2560 ช่อง 7)
- มาลัยลายคราม
- มาลัยสามชาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2553 ช่อง 5)
- มิถิลา-เวสาลี
- เมืองโพล้เพล้ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2535 ช่อง 7)
- แม่พลอยหุง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2536 ช่อง 3)
- เยี่ยมวิมาน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง 3)
- ร่มไม้ใบบาง
- รัตนโกสินทร์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง 7)
- ระหว่างดอกไม้...กับต้นข้าว
- ราตรีประดับดาว
- ร้าย
- เรือนไม้สีเบจ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2547 ช่อง 3)
- ไร้เสน่หา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2528 ช่อง 3 และ 2561 ช่อง GMM25)
- ลมพัดผ่านดาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2566 ช่อง 7)
- ละครคน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2530 ช่อง 3 และ 2560 ช่อง GMM25)
- ลินลาน่ารัก
- ลีลาแห่งใบไม้ร่วง
- วงศาคณาญาติ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2533 ช่อง 3 และ 2566 ช่องอมรินทร์ทีวี)
- วังดอกหญ้า
- วัสสิกา
- เศรษฐีตีนเปล่า (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2527 (ใช้ชื่อว่า เศรษฐีลูกทุ่ง) ช่อง 9 2533 2544 และ 2563 ช่อง 7)
- เศรษฐีใหม่
- สงครามเงิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2532 ช่อง 7 และ 2566 ช่องอมรินทร์ทีวี)
- สองฝั่งคลอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2535 ช่อง 7)
- เส้นไหมสีเงิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2555 ช่อง 3)
- สืบตำนาน สานประวัติ
- สุดหัวใจที่ปลายรุ้ง
- โสดสโมสร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2548 ช่อง 3)
- หญ้าแพรก ดอกมะเขือ และเรือน้อย
- หลงเงา
- เหลี่ยมดาริกา
นามปากกา แก้วเก้า
แก้- กลับไปสู่วันฝัน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2562 ช่อง pptv)
- แก้วราหู (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2529 ช่อง 3)
- คนเหนือดวง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2532 ช่อง 7)
- คุณป้ามาธูร ตอน คดีเจ้าสาวหาย
- คุณป้ามาธูร ตอน คดีศึกวังน้ำร้อน
- เงาพราย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2554 ช่อง 3)
- จงกลกิ่งเทียน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2553 ช่อง 3)
- จอมนาง
- จากฝัน...สู่นิรันดร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 ช่อง 7 และ 2541 ช่อง 3)
- เจ้าบ้าน เจ้าเรือน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2559 ช่อง 3)
- ช่อมะลิลา
- ดอกแก้วการะบุหนิง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2543 ช่อง 3)
- แดนดาว
- แต่ปางก่อน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2530 และ 2548 ช่อง 3 2560 ช่องวัน)
- ทับทิมกินรี
- ทางเทวดา-เทวาวาด
- เทวัญบันดาล
- นาคราช (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2534 ช่อง 3)
- นางทิพย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2535 และ 2561 ช่อง 7)
- นิมิตมาร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2551 ช่อง 3)
- นิรมิต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2540 ช่อง 7)
- นิยายนิรภัย
- บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน
- ปลายเทียน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2545 ช่อง 3)
- ผ้าทอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2537 ช่อง 7)
- พลอยเก้าสี
- พญาปลา
- พิมมาลา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2554 ช่อง 3)
- มนตรา
- เมืองมธุรส
- เรือนนพเก้า (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2544 ช่อง 3)
- เรือนมยุรา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2540 ช่อง 3)
- วสันต์ลีลา
- วิมานมะพร้าว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 และ 2556 ช่อง 7)
- สาวสองวิญญาณ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2565 ช่อง 7)
- สื่อสองโลก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2560 ช่อง 7)
- หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2536 ช่อง 7 และ 2552 ช่อง 3)
- หนุ่มทิพย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2530 และ 2542 ช่อง 7)
- อธิษฐาน
- อมตะ
เรื่องสั้น
แก้- เพชรสีน้ำเงิน (เขียนร่วมกับ ชูวงศ์ ฉายะจินดา , ชมัยภร แสงกระจ่าง , กฤษณา อโศกสิน , นราวดี , กิ่งฉัตร , ปิยะพร ศักดิ์เกษม , นายา และ ประภัสสร เสวิกุล )
- แหวนแกมแก้ว
รางวัลและเกียรติประวัติ
แก้- บุคคลดีเด่นทางด้านอนุรักษ์มรดกไทยสาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่องในปีอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม ปี พ.ศ. 2537 (The Thai National Heritage Preservation Award)
- บุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2540 (The Thai National Culture Award)
- รางวัลพระเกี้ยวทองคำ นิสิตเก่าดีเด่นของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2544
- รางวัลเกียรติคุณเซอร์เวียม หรือ Angela Award ของชมรมศิษย์อุร์สุลิน แห่งประเทศไทย ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ที่ได้รับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2547
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (National Artist) ปี พ.ศ. 2547
- ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง(ครอบครัว’ดิถียนต์’ สมพันธ์-คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) ประจำปี พ.ศ. 2548 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
- เป็นชาวต่างชาติคนแรก ที่ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Doctor of Humane Letters) จากสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด รัฐโคโลราโด สหรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2548 ในฐานะศิษย์เก่า ที่ได้สร้างผลงานวรรณกรรมจนได้รับรางวัลระดับชาติเป็นจำนวนมาก และนำชื่อเสียงมาให้มหาวิทยาลัย
- แม่ดีเด่น ของกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2550
- รางวัลสุรินทราชา นักแปลอาวุโสดีเด่นของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551
- ศิษย์เก่าดีเด่น (Honored Alumna) ของมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด เมื่อปี พ.ศ. 2552
- รางวัลปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ประจำปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยเหรียญเกียรติคุณศิลป์ พีระศรี และเกียรติบัตร
- รางวัลเชิดชูเกียรติ งานวรรณกรรมประจำเขต ของกรุงเทพมหานคร จากนวนิยายเรื่อง “สองฝั่งคลอง”(เขตคลองสาน) “จากฝัน สู่นิรันดร”(เขตลาดพร้าว) และ “บูรพา”(เขตธนบุรี) ปี พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Miller, Jane Eldridge (2001). Who's who in Contemporary Women's Writing. p. 331. ISBN 0415159806.
- ↑ Nilsson, Louise; Damrosch, David; D'haen, Theo (2017). Crime Fiction as World Literature. p. 206. ISBN 978-1501319341.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๖๓, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลศิลปินแห่งชาติ จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เก็บถาวร 2005-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฐานข้อมูลเก็บถาวร 2006-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน