วิสันต์ สันติสุชา
วิสันต์ สันติสุชา (21 มิถุนายน พ.ศ. 2478 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ เป็นผู้สร้างตำนานหนังบู๊จำนวนมากกว่า 50 เรื่อง ให้กำเนิดภาพยนตร์บู๊แอ็คชั่นจำนวนมาก และเป็นผู้ปลุกปั้นนักแสดงจำนวนมากเข้าสู่วงการ เช่น จักร มหาชัย, แสงระวี บุญแสง และ รสริน จันทรา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานสร้าง-กำกับ มีมากมายหลากหลาย เช่น ชุมแพ, ขุมทรัพย์เมืองลับแล, เพชรผ่าปืน, หัวใจเหล็ก, เลือดแค้นเล็ก นกใน, ภูผาทอง, ดงพญาเสือ, เหยียบถิ่นเสือ, ชุมแพ ภาค 2, ทุ่งผาแดง, เสือใบ, จ้าวนักเลงปืน ฯลฯ นับเป็นคนหนังไทยที่สร้างงาน สร้างคนในวงการภาพยนตร์ไทยไว้มากที่สุดท่านหนึ่งในหน้าประวัติศาตร์ภาพยนตร์ไทย[1][2]
ประวัติ
แก้วิสันต์เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในปี 2497 ครอบครัวย้ายมาอยู่กรุงเทพ และตั้งร้านขายทองอยู่แถวสี่แยกพรานนก เรียนจบ ป.4 ก็ออกมาช่วยพ่อแม่บริหารร้านขายทอง จนกิจการดีขึ้นตามลำดับ ต่อมาวิสันต์ได้รู้จักกับประทีป โกมลภิส ผู้กำกับชื่อดัง จึงได้เล่นหนังเป็นตัวประกอบในหนังเรื่อง เด็ดดอกฟ้า (2504) และ เมฆมรกต (2505) จากจุดนี้เองทำให้วิสันต์ชื่นชอบในวงการบันเทิง จากนั้นวิสันต์จึงหันมาเป็นผู้ซื้อหนังไปเร่ฉายเรื่องแรกคือ แก้วขนเหล็ก (2514) ได้กำไรมาพอประมาณ วิสันต์จึงตะลุยด้านนี้ต่อทันที เขาซื้อเรื่อง ทอง (2516) ราคาถึง 6 แสนบาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของหนังไทยที่ซื้อขายกันในตอนนั้น ปรากฏว่า ทอง ทำกำไรให้เขาอีก 6 แสนบาท ทางด้านการเป็นผู้สร้างหนังในตอนแรก มีเพื่อนมาชวนไปร่วมหุ้น ความที่ไม่รู้อะไรเลยด้านการสร้างหนังและยังมีภาระต้องดูแลทองร้านด้วย ทำให้เขาปล่อยให้หุ้นส่วนทำกันไป ผลปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จทั้ง 2 เรื่อง คือเรื่อง ธารรักไทรโยค (2514) และพี่สาว (2514) หลังจากได้กำไรมาจาก ทอง (2516) วิสันต์เลยตัดสินใจกระโดดมาเป็นผู้สร้างเองอย่างเต็มตัว โดยซื้อเรื่อง คมเคียว (2517) ของเสนีย์ บุษปะเกศ ใช้ชื่อบริษัทว่า สันติสุชาภาพยนตร์ ผลคือหนังคว้าเงินล้าน หลังจากนั้น ผลงานสร้างของเขาก็ประสบความสำเร็จมากมายหลายเรื่อง จนเขาได้รับฉายาว่า ผู้สร้างตำนานหนังบู๊[3]
บั้นปลายชีวิต
แก้วิสันต์ สันติสุชา เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุ 84 ปี หลังป่วยติดเตียงอยู่นานหลายปีด้วยอาการพิการทางสายตา และได้จากไปอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 สิงหาคม 2564 โดยมีพิธีสวดพระอภิธรรม ณ ศาลา 2 วัดศาลาแดง เขตทวีวัฒนา ระหว่างวันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2564 และพิธีฌาปนกิจ ในวันอาทิตย์ ที่ 22 สิงหาคม 2564 ณ เมรุวัดศาลาแดง[4]
ผลงานการสร้าง
แก้ภาพยนตร์
แก้เมืองแมนภาพยนตร์
แก้- ธารรักไทรโยค (2514)
- พี่สาว (2514) (ร่วมแสดงเป็นนักแสดงประกอบด้วย)
สันติสุชาภาพยนตร์
แก้- คมเคียว (2517)
- ไอ้เหล็กไหล (2518)
- ไอ้แมงดา (2519)
- ชุมแพ (2519)
- สามหัวใจ (2519)
- ศาลปืน (2520)
- ทางเสือผ่าน (2520)
- เมืองอลเวง (2520)
- นักเลงกตัญญู (2521)
- อาณาจักรนักเลง (2521)
- ผู้แทนมาแล้ว (2521)
- นักสู้ 2 แผ่นดิน (2521)
- บุษบาก๋ากั๋น (2521)
- เทวดาบ๊องส์ (2522)
- สู้สั่งเมือง (2522)
- ไผ่ชะเลือด (2522)
- พี่น้องสองเสือ (2522)
- นาล่ม (2522)
- แควเถื่อน (2522)
- หงส์หยก (2523)
- นักฆ่ามหาประลัย (2523)
- เหนือนักเลง (2523)
- สิงห์จ้าวพยัคฆ์ (2523)
- จ้าวนักเลงปืน (2525)
- เพลิงภูหลวง (2525)
- ขุนโจร 5 นัด (2526)
- ชุมแพ ภาค 2 (2527)
- เหยียบถิ่นเสือ (2528)
- ภูผาทอง (2531)
- ดงพญาเสือ (2531)
- เลือดแค้นเล็ก นกใน (2532)
- เหยียบเสือท้าสิงห์ (2532)
- เพชรผ่าปืน (2533)
- ขุมทรัพย์เมืองลับแล (2533)
- หัวใจเหล็ก (2533)
- ผู้ใหญ่บ้านกระดูกเหล็ก (2534)
- ผ่าโลกมาลุย (2534)
- แผนกับดัก (2534)
- สามโทน (2535)
- โหดแล้วเท่ห์ (2536)
- เพชรพันล้าน (2537)
- สิงห์คะนองนา (2541)
กำกับภาพยนตร์
แก้- จ้าวนักเลงปืน (2525)
- ขุนโจร 5 นัด (2526)
- ชุมแพ ภาค 2 (2527)
- ทุ่งผาแดง (2527)
- เหยียบถิ่นเสือ (2528)
- ภูผาทอง (2531)
- ดงพญาเสือ (2531)
- เลือดแค้นเล็ก นกใน (2532)
- เพชรผ่าปืน (2533)
- ขุมทรัพย์เมืองลับแล (2533)
- หัวใจเหล็ก (2533)
ภาพยนตร์ที่ไม่ได้ฉายลงโรงแต่ลงวีดีโอเทป
แก้สันติสุชาภาพยนตร์
แก้- สามทมิฬเมือง
- นักสู้สติเฟื่อง
- เสือยอดสุภาพบุรุษพันธ์เสือ
- คู่เสี้ยวหมัดสั่ง
อ้างอิง
แก้- ↑ "ด่วน เสียชีวิตแล้ว "วิสันต์ สันติสุชา" ปิดตำนานผู้กำกับรุ่นใหญ่ วัย 84 ปี". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-08-19.
- ↑ "ปิดตำนานผู้กำกับรุ่นใหญ่ "วิสันต์ สันติสุชา" เสียชีวิตแล้ว ในวัย 84 ปี". tnnthailand.com. 2021-08-19.
- ↑ "Thai Movie Posters". www.facebook.com.
- ↑ Pisapak, Punrawee. "ปิดตำนานผู้กำกับหนังบู๊ไทย 'วิสันต์ สันติสุชา'เสียชีวิตด้วยวัย84ปี". เดลินิวส์.