เสนีย์ บุษปะเกศ

เสนีย์ บุษปะเกศ (23 ธันวาคม พ.ศ. 24668 มกราคม พ.ศ. 2520) เป็นนักเขียนเรื่องสั้น และนวนิยายที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นนักจัดรายการวิทยุ ผู้สร้างละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และนักเขียนบท เขาเป็นพ่อของคฑาหัสต์ บุษปะเกศ[1]นายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์

เสนีย์ บุษปะเกศ
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2466
กรุงเทพ
เสียชีวิต8 มกราคม พ.ศ. 2520 (อายุ 53 ปี)
อาชีพนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักจัดรายการวิทยุ ผู้กำกับภาพยนตร์
คู่สมรสรัชนี จันทรังษี

ประวัติ

แก้

เสนีย์ บุษปะเกศ เกิดที่ตำบลวรจักร กรุงเทพ เป็นบุตรคนโตของขุนประมวลกสิภูมิกับนางประทิน บุษปะเกศ มีน้องชายชื่อ กมล บุษปะเกศ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการอยู่กรมที่ดินหนึ่งปี และย้ายมาอยู่กรมศุลกากร

เข้าสู่วงการ

แก้

เสนีย์ชอบเขียนนิยายมาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายแต่ยังเขียนได้ไม่ค่อยดีนัก เมื่อย้ายมาทำงานอยู่ที่กรมศุลกากรแล้วได้เขียนเรื่อง “ดอกไม้แห่งชาติ” ขึ้น เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ไทยประมวลสาร ซึ่งขณะนั้นมีเฉลิม วุฒิโฆษิต เป็นบรรณาธิการอยู่ ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ประมวลสารฉบับนี้ขายดีผิดปกติ เสนีย์จึงลาออกจากราชการมามุ่งมั่นเขียนหนังสืออย่างเดียวโดยได้มีโอกาสเขียนบทละครเวทีให้คณะนิยมไทยจนภายหลังละครเวทีสลายตัวลง เสนีย์ก็เปลี่ยนมาเขียนบทภาพยนตร์ เรื่องแรกก็ประสบความสำเร็จมาก คือ เรื่อง “สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)”

เสนีย์จึงลาออกจากราชการเข้ามาทำงานในวงการหนังสือพิมพ์มีผลงานเขียนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น บางกอกรายวัน บางกอกรายสัปดาห์ สยามนิกร สยามสมัย สกุลไทย สกุลไชย รัคนโกสินทร์ เริงรมย์ แล้วหันไปเป็นนักจัดรายการวิทยุ นำข่าวจากหนังสือพิมพ์มาอ่านออกอากาศทางวิทยุรายการตอบคำถามไขปัญหาชีวิตและความรัก ชื่อรายการ "สี่มุมบ้าน" ออกอากาศทางสถานีวิทยุทหารอากาศทุ่งมหาเมฆ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุกองปราบเสียงสามยอดเปลี่ยนชื่อรายการเป็น "สี่มุมเมือง" และเมื่อละครวิทยุเริ่มแพร่หลายเขาจึงรวบรวมเพื่อนฝูงที่สนใจการแสดงละครวิทยุออกอากาศทางสถานีวิทยุกองปราบเสียงสามยอด ละครวิทยุเรื่องแรกของคณะเสนีย์ บุษปะเกศ นี่เอง คือเรื่อง “ตะวันยอแสง” มีรัชนี จันทรังษีคู่ชีวิตของเขาเป็นนางเอกคู่กับพระเอกอาคม มกรานนท์ประสบความสำเร็จมาก นอกจากนี้เขายังมาจัดละครโทรทัศน์ที่ช่อง 7 ขาวดำและช่อง 5 ขอนแก่น เดือนละครั้ง

เสนีย์ บุษปะเกศ ยังมีผลงานช่วยเหลือสังคมโดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าชมรม "ไทยช่วยไทย" เพื่อช่วยเหลือประชาชน และทหาร ตำรวจ ตามชายแดน และเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คนที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2519 - 2520

เสียชีวิต

แก้

เสนีย์ บุษปะเกศ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2520 อย่างกะทันหันเนื่องมาจากการปวดศีรษะแล้วเส้นโลหิตในสมองแตกในชั่วเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวมอายุได้ 53 ปี

ผลงาน

แก้

ประพันธ์นวนิยาย

แก้
  • สุภาพบุรุษเสือไทย (สร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2492)
  • เสือไทยอาละวาด (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2493)
  • หญิงร้ายชายชั่ว (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2495)
  • แรงอาฆาต (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2495)
  • ปงแสนทอง (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2495)
  • แดนมิคสัญญี (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2498)
  • พรจากนรก (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2499)
  • สาปสวรรค์ (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2500)
  • สวรรค์หาย (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2501)
  • ตะวันยอแสง (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2505)
  • รุ่งทิพย์ (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2505)
  • ใจเดียว (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2506)
  • เลิศชาย (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2507)
  • เลือดนอกอก(สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2508)
  • แก้วลืมคอน (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์ปีพ.ศ.2509โดยใช้ชื่อเรื่องเพื่อนรัก)
  • 9 เสือ (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2510)
  • ฟ้าเพียงดิน (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2510)
  • สัญชาติชาย (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2511)
  • ป่าลั่น (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2511)
  • ไพรกระเจิง (สร้างเป็นละครวิทยุ)
  • แม่ค้า (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2512)
  • คมแฝก (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2513)
  • ดาวพระเสาร์ (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2513)
  • ผู้ดีเถื่อน (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2517)
  • มาแต่เลือด (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2517)
  • มัน(สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2518)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2518)
  • แซ่บ(สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2519)
  • ลุย (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2520)
  • ใครจะอยู่ค้ำฟ้า (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2520)
  • หงษ์ทอง (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2520)
  • ชาติพยอง (สร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์เมื่อปีพ.ศ.2521)

กำกับภาพยนตร์

แก้
  • 2493: แดนดาวโจร
  • 2494: อ้ายมหาวายร้าย
  • 2495: รอยอาฆาต
  • 2498: เพลิงโลกันตร์
  • 2499: พรจากนรก

อ้างอิง

แก้
  • สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), พ.ศ. 2539. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-89658-0-5