วงศ์เหี้ย เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae

วงศ์เหี้ย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ครีเทเชียสตอนปลาย - โฮโลซีน, 80–0Ma
เหี้ย (V. salvator)
เปรียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในวงศ์นี้ปัจจุบัน กับเมกะลาเนียในอดีต
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
วงศ์ใหญ่: Varanoidea
Varanoidea
วงศ์: เหี้ย
Varanidae
Merrem, 1820
ชนิด
ประมาณ 70 ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ศัพทมูลวิทยา

แก้

โดยคำว่า Varanidae หรือ Varanus ที่เป็นชื่อสกุล นั้นมาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด"[1]

ลักษณะ

แก้

เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการของตัวเองมาแล้วนานกว่า 300 ล้านปี[2] เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสัตว์กินซากที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะเป็นผู้ขจัดซากของสัตว์ที่ล้มตายไปแล้ว [3]

มีรูปร่างโดยรวม จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายกับจระเข้ มีโคนหางที่แข็งแรง และหางยาว ซึ่งใช้ฟาดเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัว ลิ้นยาวมี 2 แฉก ซึ่งมักจะแลบออกมาบ่อย ๆ เพื่อเป็นประสาทสัมผัสเช่นเดียวกับงู ขาทั้ง 4 มีเล็บที่แหลมคมใช้สำหรับขุดหลุมเพื่อวางไข่ ปีนต้นไม้ และป้องกันตัว เกล็ดมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน มีสีสันและลวดลายต่างออกไปในแต่ละชนิด เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย ทั้งทะเลทราย, ป่าดิบ หรือแม้แต่กระทั่งชุมชนเมืองใหญ่ของมนุษย์ นอกจากนี้แล้วยังว่ายน้ำได้เก่ง ดำน้ำได้ดี และในบางชนิดยังชอบที่จะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว ในบางชนิด น้ำลายยังมีเชื้อแบคทีเรียอย่างร้ายแรงอยู่ในนั้น ซึ่งใช้สำหรับกัดเพื่อสังหารเหยื่อ เหยื่อจะยังไม่ตายในทันที แต่จะล้มตายภายในไม่กี่วันเพราะติดเชื้ออย่างรุนแรง จากนั้นจึงจะเข้ากินเป็นอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตั้งแต่ 7-37 ฟอง[4]

การจำแนก

แก้

ปัจจุบันเหลือเพียงสกุลเดียว คือ Varanus (/วา-รา-นัส/-แบ่งออกได้เป็นสกุลย่อย ๆ อีก) พบแล้วกว่า 70 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ไปจรดถึงโอเชียเนีย โดยมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่ขึ้นชื่อเรื่องความดุร้าย และขนาดที่เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 2-3 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม ซึ่งพบเฉพาะบนอุทยานแห่งชาติโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น

สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่[5]

  • ตะกวด (V. bengalensis) มีขนาดรองลงมา ไม่ชอบลงน้ำ
  • ตุ๊ดตู่ (V. dumerilii) มีขนาดเล็กที่สุด
  • เห่าช้าง (V. rudicollis) มีเกล็ดที่บริเวณหลังคอตะปุ่มตะป่ำ
  • เหี้ย (V. salvator) มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบได้มากที่สุด ดำน้ำและว่ายน้ำได้เก่ง

นอกจากนี้แล้ว ในอดีตยังเคยพบว่ามีอีกชนิดหนึ่ง คือ ตะกวดเหลือง (V. flavescens) แต่ปัจจุบันไม่มีการพบมานานแล้ว ซึ่งพบมากในแถบอนุทวีปอินเดีย

สำหรับชนิดที่พบได้ในต่างประเทศ อาทิ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวกว่า 7.5 เมตร หนักถึงกว่า 2,000 กิโลกรัม เคยพบในทวีปออสเตรเลีย แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งราว 45,000-50,000 ปีก่อน[7]

สกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

แก้
 
ซากดึกดำบรรพ์ของ Saniwa ensidens ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว

สูญพันธุ์

บางสกุลที่จัดอยู่ใน Varanidae (ภายใต้วงศ์ย่อย Lanthanotinae หรือ นักวิทยาศาสตร์บางรายจะจัดให้อยู่ในวงศ์ Lanthanotidae):

สกุลฐาน:

สกุลที่เคยจัดอยู่ในวงศ์ Varanidae:

อ้างอิง

แก้
  1. Pianka, Eric R.; King, Dennis; King, Ruth Allen (2004). Varanoid Lizards of the World. Indiana University Press. p. 588. ISBN 0-253-34366-6.
  2. "Themes > Science > Paleontology / Paleozoology > Paleozoology > Fossil vertebrata > The History of Monitor Lizards". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  3. พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง - ชื่อใหม่ ใส่ตัวเก่า!“เหี้ย” จากคมชัดลึก
  4. Bauer, Aaron M. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 157–159. ISBN 0-12-178560-2.
  5. มุมมอง...ตัวเงินตัวทอง “ชื่อใหม่-สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่”...
  6. [ลิงก์เสีย] "ตัวเงินตัวทอง" สปีชีส์ใหม่กินผลไม้ โผล่ให้เห็นในฟิลิปปินส์ จากผู้จัดการออนไลน์
  7. เมกะลาเนีย’กิ้งก่ายักษ์ออสซี่ จากโลกวันนี้
  8. Massimo Delfino, Jean-Claude Rage, Arnau Bolet and David M. Alba (2013). "Synonymization of the Miocene varanid lizard Iberovaranus Hoffstetter, 1969 with Varanus Merrem, 1820". Acta Palaeontologica Polonica. in press. doi:10.4202/app.2012.0025.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 Conrad, JL; Balcarcel, AM; Mehling, CM (2012). "Earliest Example of a Giant Monitor Lizard (Varanus, Varanidae, Squamata)". PLoS ONE. 7 (8): e41767. doi:10.1371/journal.pone.0041767.
  10. Alexandra Houssaye, Nathalie Bardet, Jean–Claude Rage, Xabier Pereda Suberbiola, Baâdi Bouya, Mbarek Amaghzaz and Mohamed Amalik (2011). "A review of Pachyvaranus crassispondylus Arambourg, 1952, a pachyostotic marine squamate from the latest Cretaceous phosphates of Morocco and Syria". Geological Magazine. 148 (2): 237–249. doi:10.1017/S0016756810000580.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus ที่วิกิสปีชีส์