หนานหมาน
หนานหมาน (จีน: 南蠻; ยฺหวิดเพ็ง: Naam4 Maan4; เป่อ่วยยี: Lâm-bân, แปลว่า อนารยชนทางใต้) เดิมเป็นชื่อเรียกของชนเผ่าบางกลุ่มในภาคใต้ของจีน โดย 3 ราชวงศ์ ในสมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงสมัยราชวงศ์โจว หรือ ชนชาติในที่ราบลุ่มภาคกลาง[1]
หนานหมาน | |||||||||||||||||||||||||||
ภูมิศาสตร์ของราชวงศ์โจว: หฺวาเซี่ยถูกล้อมรอบด้วยสี่อนารยชน ได้แก่ ตงอี๋ทางเหนือ หนานหมานทางใต้ ซีหรงทางตะวันตก และเป่ย์ตี๋ทางเหนือ | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 南蠻 | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 南蛮 | ||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | หมานใต้ | ||||||||||||||||||||||||||
|
ชนชาติฮั่น[2] ซึ่งวิวัฒนาการมาจากชนเผ่าต่าง ๆ ในจิ่วโจวสืบทอดชื่อนี้และใช้แทนชนชาติต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวฮั่นในภาคใต้ ในมุมมองแบบเอาชาวจีนเป็นศูนย์กลางแล้ว ซีหรง, ตงอี๋, เป่ย์ตี๋ และหนานหมาน ถูกเรียกรวมกันว่าซื่ออี๋ (四夷)
บางแนวคิดบ่งบอกให้เห็นว่าดินแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ ในอดีตถูกชาวมองโกล เรียกว่า หมานจึกั๋ว (蠻子國) ซึ่งหมายถึงแดนเถื่อน[3] ส่วนชาวแมนจูเรียกชาวฮั่นว่า หมานจึ (蠻子)[4] และ กองทัพราชวงศ์ชิงเองก็เรียกชาวฮั่นว่า หมานจึ (蠻子)[5]
"หนานหมาน" ก่อนยุคฉิน
แก้กษัตริย์แห่งฉู่เคยเรียกตัวเองว่า หมานอี๋ (蠻夷)[6] ชาวจิ้นและชาวเจิ้งต่างก็เรียกพวกเขาว่าจิงหมาน (荊蠻)[7] และต่อมาชาวฉู่ก็กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า จูเซี่ย (諸夏)[8][9] นอกจากนี้ ราชวงศ์โจวใช้คำว่า 蠻 เรียกกลุ่มชนเผ่าอื่น ๆ ในสมัยนั้น เช่นพวก เยวี่ย (越), ยง (庸), ไป่ผู (百濮), ปา (巴), สู่ (蜀), เจียวเหยา (僬僥), เต่าอี๋ (島夷), ซานเหมียว (三苗) เหออี๋ (和夷)
นักวิชาการชื่อหลู เหม่ย์ซง (盧美松) เชื่อว่า 蠻 เป็นคำที่เรียกตัวเอง หมายถึง "คน, ประชนชน"[10]
นักภาษาศาสตร์ ไป๋ อีผิง (白一平) และซาเจียเอ่อร์ (沙加爾) ได้รื้อฟื้นการสร้างการออกเสียงของภาษาจีนโบราณขึ้นมาใหม่ แล้วมองว่า 蠻 ในภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า *mˤro[n] ซึ่งคล้ายกับคำว่า 閩 ซึ่งใช้เรียกกลุ่มชนเผ่าทางใต้ซึ่งอ่านว่า *mrə[n] มาก[11]
สวี ซวี่เซิง (徐旭生) มองว่าต้นกำเนิดที่สำคัญทั้งสามของชาวจีนคือเผ่าหัวเซี่ย, ตงอี๋ และ หนานหมาน[12]
"หนานหมาน" ในฐานะคนนอกเผ่า
แก้พวกต่างชาติที่จัดอยู่ในกลุ่มหนานหมานได้แก่: หลินอี๋ (林邑), ฝูหนาน (扶南)[13][14], เหลียวเหริน (獠人)[15], หลี่จู๋ (俚族)[16], ผานผาน (盤盤), หลางหยาซิว (狼牙脩) , ซือจึกั๋ว (師子國)[17], หนานเจ้า (南詔), ซื่อลี่ฝัวซื่อ (室利佛逝), หนานผิงเหลียว (南平獠), เปียวกั๋ว (驃國), เจินลา (真臘), ตงเซี่ยหมาน (東謝蠻), ซีเจ้าหมาน (西趙蠻) ฯลฯ
ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุยและถัง ชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้เรียกว่าถงหมาน (峒蠻) และ ต้งหมาน (洞蠻) ในช่วงราชวงศ์ชิง มีบางส่วนมองว่าชาวซูงการ์ เรียกชาวแมนจูว่า หมานจึ[18]
南蠻 ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นหมายถึงชาวยุโรปตั้งแต่ได้เริ่มทำการค้ากับยุโรปในศตวรรษที่ 15 (ดูรายละเอียดที่ ศิลปะนัมบัง)[19]
อ่านเพิ่มเติม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 《尔雅·释地》:“九夷、七戎、六蛮,谓之四海。”郭璞注:“六蛮在南。”
- ↑ "汉族名称的来历". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-25. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.
- ↑ 《中国历史文物》编辑部,《中國歷史文物》(第1-6期),2008年,第26頁
- ↑ 《明實錄.神宗.卷五百二十四》萬曆四十二年九月壬戌,廵按山東御史翟鳳翀疏言:「自奴酋反側...向來夷漢一家,墩臺俱廢哨瞭不設,夷人假入市伺虛實,漢人亦出邊透漏消息,且聞高淮一撤參隨司房等役半投東夷,與近年懼罪脫逃之人俱以奴寨為窟穴,奴酋特築一城居之,號曰蠻子城,其人往來內地,人不知覺...。」
- ↑ 《嘉定乙酉紀事》:「丁每遇一人,輒呼蠻子獻寶,其入悉取腰纏奉之,意滿方釋。遇他兵,勒取如前。所獻不多,輒砍三刀。至物盡則殺。」
- ↑ 《史記.卷四十.楚世家第十》
- ↑ 劉寶才《先秦史》,五南圖書出版,第330頁
- ↑ 《左傳.襄公十三年》秋,楚共王卒,子囊謀諡,大夫曰:「君有命矣。」子囊曰:「君命以共,若之何毀之?赫赫楚國,而君臨之,撫有蠻夷,奄征南海,以屬諸夏。而知其過,可不謂共乎!請謚之共。」大夫從之。
- ↑ 《史記·太史公自序》春秋之後,陪臣秉政,彊國相王;以至于秦,卒并諸夏,滅封地,擅其號。作六國年表第三。
- ↑ 簡榮聰. "〈臺閩文化的歷史觀(下)〉". 《臺灣源流》 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 台灣: 臺灣省各姓淵源硏究學會 (第21期).
- ↑ Baxter, William H. and Laurent Sagart. 2014. Old Chinese: A New Reconstruction. Oxford University Press, ISBN 978-0-19-994537-5.
- ↑ 徐旭生《中國古史的傳說時代》:「華夏、夷、蠻三族實為秦漢間所稱中國人的三個主要來源。」
- ↑ 《晉書.卷九十七.列傳第六十七.四夷傳.南蠻》條
- ↑ 《南齊書卷五十八》
- ↑ 《魏書.卷一百一.列傳第八十九》:「獠者,蓋南蠻之別種。」
- ↑ 《宋書卷九十七》
- ↑ 《梁書卷五十四》
- ↑ 《大義覺迷錄》:「滿洲人皆恥附於漢人之列,準噶爾呼滿洲為蠻子,滿洲聞之,莫不忿恨之。」
- ↑ Ratliff, Martha (2010). Hmong–Mien language history. Canberra, Australia: Pacific Linguistics. ISBN 0-85883-615-7.