ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561 คือช่วงของฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก เป็นฤดูกาลที่ผลิตค่าการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) สูงที่สุดเท่าที่บันทึกมาในแอ่งแปซิฟิกตะวันออก โดยฤดูกาลนี้จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายน ในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และไปจบลงพร้อมกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน[1] โดยขอบเขตดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ตลอดเวลา ดังที่แสดงให้เห็นโดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลนี้ ซึ่งก่อตัวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม โดยฤดูกาลนี้มีพายุก่อตัวและได้รับชื่อจำนวน 23 ลูก ถือเป็นฤดูกาลที่มีพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561 | |
---|---|
แผนที่สรุปฤดูกาล | |
ขอบเขตฤดูกาล | |
ระบบแรกก่อตัว | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 |
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | วากาลา |
• ลมแรงสูงสุด | 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที) |
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 920 มิลลิบาร์ (hPa; 27.17 inHg) |
สถิติฤดูกาล | |
พายุดีเปรสชันทั้งหมด | 26 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก |
พายุโซนร้อนทั้งหมด | 23 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก |
พายุเฮอริเคน | 13 ลูก |
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ (ระดับ 3 ขึ้นไป) | 10 ลูก |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | 42 คน |
ความเสียหายทั้งหมด | > 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2018) |
พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกที่สองของฤดูกาลคือ พายุเฮอริเคนบัด ซึ่งพัดเข้าโจมตีในรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน สร้างความเสียหายเล็กน้อย ต่อมาพายุโซนร้อนคาร์ลอตตา ซึ่งก่อตัวและพัดไปตามแนวชายฝั่งของประเทศเม็กซิโก ซึ่งก็สร้างความเสียหายอย่างเล็กน้อยเช่นกัน ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม พายุเฮอริเคนเฮกเตอร์ ได้กลายเป็นหนึ่งในพายุหมุนเขตร้อนไม่กี่ลูกที่เคลื่อนตัวข้ามไปที่แอ่งแปซิฟิกตะวันตก และยังส่งผลกระทบกับรัฐฮาวายด้วย ต่อมาอีกไม่กี่สัปดาห์ พายุเฮอริเคนเลน ทวีกำลังแรงขึ้นได้ถึงระดับ 5 และยังกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนเยอะที่สุดเท่าที่บันทึกมาในรัฐฮาวาย และเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์สหรัฐ เป็นรองจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์เมื่อปีก่อน ต่อมาพายุเฮอริเคนโอลิเวียได้ส่งผลกระทบกับรัฐฮาวายอีก สร้างผลกระทบเล็กน้อย ในช่วงปลายเดือนกันยายน พายุเฮอริเคนโรซา และ พายุเฮอริเคนเซร์ฆิโอ ก่อตัวขึ้น ทั้งสองลูกทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและน้ำท่วมฉับพลันขึ้น ในคาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนียและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ ในขณะเดียวกันนั้น พายุเฮอริเคนวากาลา ได้บรรลุความรุนแรงที่ระดับ 5 ก่อนที่จะอ่อนกำลังลงในหมู่เกาะฮาวายตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมาในช่วงปลายเดือนตุลาคม พายุเฮอริเคนวิลลา กลายเป็นพายุลูกที่สามของฤดูกาลที่เป็นพายุระดับ 5 ก่อนพัดโจมตีในรัฐซีนาโลอาในฐานะพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
ภาพรวมฤดูกาล
แก้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.) |
พายุ
แก้พายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อี
แก้พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 10 – 11 พฤษภาคม | ||
ความรุนแรง | 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที) 1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนอะเลตตา
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 6 – 11 มิถุนายน | ||
ความรุนแรง | 140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (1 นาที) 943 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.85 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนบัด
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 9 – 15 มิถุนายน | ||
ความรุนแรง | 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที) 948 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.99 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนคาร์ลอตตา
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 14 – 19 มิถุนายน | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนแดเนียล
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 24 – 26 มิถุนายน | ||
ความรุนแรง | 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที) 1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนเอมิเลีย
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที) 997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนฟาบีโอ
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 110 ไมล์/ชม. (175 กม./ชม.) (1 นาที) 964 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.47 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนกีลมา
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 26 – 29 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที) 1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท) |
พายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้า-อี
แก้พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 26 – 27 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที) 1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนเฮกเตอร์
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 31 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม (ออกนอกแอ่ง) | ||
ความรุนแรง | 155 ไมล์/ชม. (250 กม./ชม.) (1 นาที) 936 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.64 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนอิเลียนา
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 4 – 7 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนจอห์น
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 5 – 10 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที) 969 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.61 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนคริสตี
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 7 – 11 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที) 991 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.26 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนเลน
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 15 – 29 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที) 922 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.23 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนมิเรียม
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 26 สิงหาคม – 2 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (1 นาที) 974 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.76 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนนอร์มัน
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 28 สิงหาคม – 9 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 150 ไมล์/ชม. (240 กม./ชม.) (1 นาที) 937 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.67 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนโอลิเวีย
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 1 – 14 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที) 948 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.99 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนพอล
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 8 – 12 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที) 1002 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.59 นิ้วปรอท) |
พายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบเก้า-อี
แก้พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 19 – 20 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที) 1002 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.59 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนโรซา
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 25 กันยายน – 2 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 145 ไมล์/ชม. (230 กม./ชม.) (1 นาที) 940 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.76 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนเซร์ฆิโอ
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 29 กันยายน – 12 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (1 นาที) 943 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.85 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนวาลากา
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 29 กันยายน – 6 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที) 920 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.17 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อนทารา
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 14 – 17 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 995 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.38 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 11 ตุลาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นใกล้กับอ่าวเตฮวนเตเปก ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อน[2] ความแปรปรวนของสภาพอากาศค่อย ๆ หดตัวและพัฒนาขึ้นเป็นอย่างดีในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ขนานไปกับแนวชายฝั่งของประเทศเม็กซิโก
- วันที่ 14 ตุลาคม เวลา 15:00 UTC หย่อมความกดอากาศต่ำมีการพัฒนาการหมุนเวียนอย่างเพียงพอที่จะจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[3]
- วันที่ 15 ตุลาคม พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ ทารา (Tara) ในเวลา 09:00 UTC[4]
พายุโซนร้อนบิเซนเต
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 14 – 17 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 995 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.38 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนวิลลา
แก้พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 20 – 24 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที) 925 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.32 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 14 ตุลาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลแคริบเบียน[5]
พายุโซนร้อนแซเวียร์
แก้พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 2 – 6 พฤศจิกายน | ||
ความรุนแรง | 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที) 999 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.5 นิ้วปรอท) |
รายชื่อพายุ
แก้รายชื่อต่อไปนี้ ใช้สำหรับการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2561 สำหรับการปลดชื่อ ถ้ามีจะได้รับการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2562 ซึ่งชื่อที่ไม่ถูกปลด จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปีฤดูกาล พ.ศ. 2567[6] รายชื่อชุดนี้เป็นชุดเดียวกันกับที่เคยใช้ไปในฤดูกาล พ.ศ. 2555
|
|
|
สำหรับพายุที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเส้น 140 องศาตะวันตกถึงเส้นแบ่งวันสากล ชื่อที่จะใช้จะเป็นชื่อในชุดหมุนเวียนสี่ชุด[7]
|
ผลกระทบ
แก้ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อตัวในฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ประกอบด้วยชื่อพายุ ระยะเวลา พื้นที่ขึ้นฝั่งได้รับผลกระทบ ความเสียหาย และจำนวนผู้เลียชีวิตทั้งหมด ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตในวงเล็บคือการเสียชีวิตเพิ่มเติมและการเสียชีวิตโดยทางอ้อม (เช่นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน) แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับพายุหมุนเขตร้อนอยู่ ความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นจะรวมไปจนถึงขณะที่พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่นในเขตร้อน หรือ บริเวณความกดอากาศต่ำด้วย ความเสียหายทั้งหมดอยู่ในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ชื่อ พายุ |
วันที่ | ระดับความรุนแรง ขณะมีความรุนแรงสูงสุด |
ลมสูงสุด 1-นาที ไมล์/ชม. (กม./ชม.) |
ความกดอากาศ (มิลลิบาร์) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (ดอลลาร์สหรัฐ) |
เสียชีวิต | อ้างอิง
| |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หนึ่ง-อี | 10 – 11 พฤษภาคม | พายุดีเปรสชันเขตร้อน | 35 (55) | 1007 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
อะเลตตา | 6 – 11 มิถุนายน | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 140 (220) | 943 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
บัด | 9 – 16 มิถุนายน | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 130 (215) | 948 | เม็กซิโกตะวันตก, รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์, ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ | ไม่ทราบ | ไม่มี | ||||
คาร์ลอตตา | 14 – 19 มิถุนายน | พายุโซนร้อน | 65 (100) | 997 | เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ | ไม่ทราบ | ไม่มี | ||||
แดเนียล | 24 – 26 มิถุนายน | พายุโซนร้อน | 45 (75) | 1003 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เอมิเลีย | 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม | พายุโซนร้อน | 60 (95) | 997 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
ฟาบีโอ | 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 2 | 110 (175) | 964 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
กีลมา | 26 – 29 กรกฎาคม | พายุโซนร้อน | 40 (65) | 1006 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เก้า-อี | 26 – 27 กรกฎาคม | พายุดีเปรสชันเขตร้อน | 35 (55) | 1007 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เฮกเตอร์ | 31 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม[nb 1] | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 155 (250) | 936 | รัฐฮาวาย, จอห์นสตันอะทอลล์ | เล็กน้อย | ไม่มี | ||||
อิเลียนา | 4 – 7 สิงหาคม | พายุโซนร้อน | 65 (100) | 998 | เม็กซิโกตะวันตก, รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ | ไม่ทราบ | 4 | ||||
จอห์น | 5 – 10 สิงหาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 2 | 105 (165) | 969 | เม็กซิโกตะวันตก, รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์, ตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย | เล็กน้อย | 4 | ||||
คริสตี | 7 – 11 สิงหาคม | พายุโซนร้อน | 70 (110) | 991 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เลน | 15 – 29 สิงหาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 5 | 160 (260) | 922 | รัฐฮาวาย | ไม่ทราบ | 1 | ||||
มิเรียม | 26 สิงหาคม – 2 กันยายน | พายุเฮอริเคนระดับ 2 | 100 (155) | 974 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
นอร์มัน | 28 สิงหาคม – 9 กันยายน | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 150 (240) | 937 | รัฐฮาวาย | เล็กน้อย | ไม่มี | ||||
โอลิเวีย | 1 – 14 กันยายน | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 130 (215) | 948 | รัฐฮาวาย | ไม่ทราบ | ไม่มี | ||||
พอล | 8 – 12 กันยายน | พายุโซนร้อน | 45 (75) | 1002 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
สิบเก้า-อี | 19 – 20 กันยายน | พายุดีเปรสชันเขตร้อน | 35 (55) | 1002 | รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ | 42.5 ล้าน | 8 (2) | ||||
โรซา | 25 กันยายน – 2 ตุลาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 145 (230) | 940 | รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์, เม็กซิโกตะวันเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ | > | 530 พัน3 | ||||
เซร์ฆิโอ | 29 กันยายน – 12 ตุลาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 140 (220) | 943 | คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ, รัฐเท็กซัส | 352 ล้าน | 2 | ||||
วาลากา | 29 กันยายน – 6 ตุลาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 5 | 160 (260) | 920 | จอห์นสตันอะทอลล์, หมู่เกาะฮาวายตะวันตกเฉียงเหนือ, รัฐอะแลสกา, บริติชโคลัมเบีย | ไม่ทราบ | ไม่มี | ||||
ทารา | 14 – 17 ตุลาคม | พายุโซนร้อน | 65 (100) | 995 | เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ | ไม่ทราบ | ไม่มี | ||||
บิเซนเต | 19 – 23 ตุลาคม | พายุโซนร้อน | 50 (85) | 1002 | ฮอนดูรัส, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ | 7.05 ล้าน | 16 | ||||
วิลลา | 20 – 24 ตุลาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 5 | 160 (260) | 925 | อเมริกากลาง, เม็กซิโก, รัฐเท็กซัส | 62.6 ล้าน | 6 | ||||
แซเวียร์ | 2 – 6 พฤศจิกายน | พายุโซนร้อน | 60 (95) | 999 | เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ | ไม่มี | ไม่มี | ||||
สรุปฤดูกาล | |||||||||||
26 ลูก | 10 พฤษภาคม – 6 พฤศจิกายน |
160 (260) | 920 | > | 465 ล้าน44 (2) |
ดูเพิ่ม
แก้- รายชื่อฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก
- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561
- ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561
- ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561
- ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้: 2560–2561, 2561–2562
- ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย: 2560–2561, 2561–2562
- ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้: 2560–2561, 2561–2562
หมายเหตุ
แก้- ↑ พายุเฮกเตอร์ไม่ได้สลายตัวในวันที่ 13 สิงหาคม แต่มันข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากล กลายเป็นพายุโซนร้อนเฮกเตอร์ และสลายตัวในวันที่ 16 สิงหาคม
อ้างอิง
แก้- ↑ Dorst Neal. When is hurricane season? (Report). Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
- ↑ Eric S. Blake (October 11, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
- ↑ Stacy R. Stewart (October 14, 2018). "Tropical Depression Twenty-Two-E Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
- ↑ Daniel P. Brown (October 14, 2018). "Tropical Storm Tara Advisory Number 4". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018.
- ↑ Stacy R. Stewart (October 14, 2018). "Two-Day Graphical Tropical Weather Outlook: 2:00 pm EDT, Sun Oct 14 2018". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
- ↑ "Tropical Cyclone Names". National Hurricane Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
- ↑ "Pacific Tropical Cyclone Names 2016-2021". Central Pacific Hurricane Center. 12 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PHP)เมื่อ 8 January 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (อังกฤษ)
- ข้อมูลสภาพอากาศเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก ของศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ของศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเม็กซิโก เก็บถาวร 2012-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
- ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่น เก็บถาวร 2018-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ขององค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) (อังกฤษ)