มาตราพายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนจะถูกจัดระดับอย่างไม่เป็นทางการตามมาตราใดมาตราหนึ่งจากมาตราความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน 5 ชนิด โดยใช้ความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดและแอ่งที่พายุหมุนเขตร้อนนั้นตั้งอยู่เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดชนิดมาตรา มาตราบางมาตราจะถูกกำหนดและใช้งานอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาที่สังเกตการณ์พายุหมุนเขตร้อน และบางมาตราถูกใช้เป็นมาตราทางเลือก เช่น วัดการสะสมพลังงานในพายุหมุน, ดัชนีการสูญเสียพลังงาน, ดัชนีพลังงานแบบบูรณาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และดัชนีความรุนแรงพายุเฮอริเคน

พายุหมุนเขตร้อนที่พัฒนาขึ้นในซีกโลกเหนือจะถูกจัดความรุนแรงโดยศูนย์เตือนภัย ตามมาตราใดมาตราหนึ่งจากสามมาตราที่ใช้ในซีกโลกเหนือ โดยพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่ปรากฏอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หรือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อแรกพายุจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนตามลำดับ จนเมื่อพายุโซนร้อนทวีกำลังแรงขึ้น จะถูกจัดเป็นพายุเฮอริเคน และหลังจากนั้นจึงจะถูกจัดความรุนแรงด้วยมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 1 นาที ส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุหมุนเขตร้อนจะถูกจัดความรุนแรงตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่นของ ESCAP/WMO ซึ่งเป็นมาตราที่แบ่งความรุนแรงของพายุออกเป็นสี่ขั้น โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 10 นาที

ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ จะใช้มาตราของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ซึ่งแบ่งการจัดความรุนแรงออกเป็น 7 ขั้น โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 3 นาที ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่พัฒนาในซีกโลกใต้จะถูกจัดความรุนแรงโดยศูนย์เตือนภัย ตามมาตราใดมาตราหนึ่งจากเพียงสองมาตราที่ใช้ในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองมาตราต่างอ้างอิงความเร็วลมโดยประมาณใน 10 นาทีเช่นเดียวกัน โดยมาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย จะใช้จัดความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนในทวีปออสเตรเลีย (รวมมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันออก) และในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ส่วนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตกจะใช้มาตราของเมเตโอฟร็องส์ ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในดินแดนของฝรั่งเศส รวมถึงนิวแคลิโดเนียและเฟรนช์พอลินีเชียด้วย

คำนิยามของความเร็วลมตามที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแนะนำไว้ และหน่วยงานทางอุตุนิยมวิทยาส่วนมากเลือกใช้ คือ ค่าเฉลี่ยของความเร็วลมสูงสุดที่พัดใน 10 นาที ที่ระดับความสูง 10 ม. (33 ฟุต) อย่างไรก็ตาม มาตราเฮอริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน จะใช้การวัดความเร็วลมสูงสุดใน 1 นาที ที่ความสูง 10 ม. (33 ฟุต)[1][2] ส่วนมาตราที่ RSMC นิวเดลี ใช้คือความเร็วลมโดยประมาณใน 3 นาที และในมาตราออสเตรเลียจะใช้ทั้งค่าลมกระโชกสูงสุดเฉลี่ยใน 3 วินาที และความเร็วลมโดยประมาณใน 10 นาที[3][4] จึงทำให้การเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของแต่ละแอ่งนั้นเป็นไปโดยยาก

โดยพายุหมุนเขตร้อนจะถูกตั้งชื่อเมื่อเริ่มมีความเร็วลมมากกว่า 35 นอต (40 ไมล์/ชม. หรือ 65 กม./ชม.)

ระดับความรุนแรง

แก้

มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก

แก้
มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ประเภท ความเร็วลม
ห้า ≥70 ม./ว., ≥137 นอต
≥157 ไมล์/ชม., ≥252 กม./ชม.
สี่ 58–70 ม./ว., 113–136 นอต
130–156 ไมล์/ชม., 209–251 กม./ชม.
สาม 50–58 ม./ว., 96–112 นอต
111–129 ไมล์/ชม., 178–208 กม./ชม.
สอง 43–49 ม./ว., 83–95 นอต
96–110 ไมล์/ชม., 154–177 กม./ชม.
หนึ่ง 33–42 ม./ว., 64–82 นอต
74–95 ไมล์/ชม., 119–153 กม./ชม.
การจำแนกเพิ่มเติม
พายุ
โซนร้อน
18–32 ม./ว., 34–63 นอต
39–73 ไมล์/ชม., 63–118 กม./ชม.
พายุ
ดีเปรสชัน
≤17 ม./ว., ≤33 นอต
≤38 ไมล์/ชม., ≤62 กม./ชม.

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติหรือศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง[5] ภายในภูมิภาคนี้ พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามว่าเป็นแกนอากาศที่อบอุ่น (Warm cored), การแปรปรวนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ (Non-frontal synoptic disturbance) ที่ก่อตัวขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน โดยมีการจัดระบบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศ และมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่เหมาะสม[5] ในภูมิภาคนี้ยังนิยามพายุหมุนกึ่งเขตร้อนด้วยว่าเป็น การแปรปรวนของหย่อมความกดอากาศต่ำแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ (Non-frontal low pressure disturbance) ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นทั้งแบบพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนนอกเขตร้อน[5] โดยเมื่อใดก็ตามที่พายุควรจะได้รับการจัดความรุนแรงตามหมวดเหล่านี้ จะมีการเริ่มออกคำแนะนำ และศูนย์เตือนภัยจะจัดความรุนแรงระบบในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน หรือพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อความเร็วลมต่อเนื่องในหนึ่งนาทีอยู่ที่ประมาณหรืออย่างน้อย 33 นอต (62 กม./ชม. หรือ 38 ไมล์/ชม)[5]

นอกจากนี้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนยังจะได้รับรหัส หมายเลขพายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone number) ซึ่งประกอบด้วยหมายเลขแบบตัวสะกดในภาษาอังกฤษ (จาก ONE ถึง THIRTY หรือน้อยกว่า ซึ่งหมายเลขเหล่านี้จะไม่ถูกวนใช้ใหม่จนกว่าจะถึงปีถัดไป) ตามด้วยยติภังค์ ("-") (ยกเว้นระบบพายุในแอตแลนติกเหนือ) และตัวอักษรต่อท้าย (โดย "-E" สำหรับแปซิฟิกตะวันออก และ "-C" สำหรับแปซิฟิกกลาง)[6] และจะเขียนย่อเป็นตัวเลขสองหลัก (รวมถึงส่วนต่อท้ายใด ๆ ด้วย) เช่น TD 08 สำหรับพายุดีเปรสชัน EIGHT ในแอตแลนติกเหนือ, TD 21E สำหรับพายุดีเปรสชัน TWENTYONE-E ในแปซิฟิกตะวันออก, หรือ TD 03C สำหรับพายุดีเปรสชัน THREE-C ในแปซิฟิกกลาง ซึ่งรหัสเหล่านี้ถูกสร้างไว้เพื่อการออกแถลงการณ์และวัตถุประสงค์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้าการแปรปรวนของลมในเขตร้อนมีความสามารถในการเป็นพายุโซนร้อนหรือพายุเฮอริเคน และจะพัดขึ้นฝั่งภายใน 48 ชั่วโมง จะมีการริเริ่มออกคำแนะนำ และจะถูกจัดความรุนแรงเป็น "ระบบที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อน" (Potential tropical cyclone หรือ PTC)[5] และมีหมายเลข PTC สองหลักด้วย (เช่น PTC-09 หรือ PTC-15E) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหมายเลขของพายุหมุนเขตร้อนข้างต้น หากระบบดังกล่าวทวีกำลังแรงขึ้นและมีลมพัดต่อเนื่องในหนึ่งนาทีที่ 34–63 นอต (63–118 กม./ชม. หรือ 39–73 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะถูกจัดให้เป็นพายุโซนร้อน หรือพายุกึ่งโซนร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง และได้รับการประกาศชื่อพายุ[5] (ซึ่งชื่อนั้นจะถูกนำไปแทนที่หมายเลขพายุหมุนเขตร้อนแบบสะกด ส่วนหมายเลขสองหลักที่เป็นตัวเลขเดิม จะยังคงถูกสงวนไว้เพื่อเหตุผลบางอย่าง เช่น เพื่อใช้ในระบบพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น TS 12 (เคิร์ก))

ถ้าหากพายุโซนร้อนมีกำลังแรงขึ้นและมีลมโดยประมาณหรือที่วัดได้มากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 74 ไมล์/ชม.) มันจะถูกเรียกว่าพายุเฮอริเคน และจะถูกจัดประเภทตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS)[5] โดยการจัดความรุนแรงขั้นต่ำที่สุดตามมาตรามาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน คือ พายุเฮอริเคนระดับ 1 (Category 1 hurricane) ซึ่งพายุมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 64–82 นอต (119–153 กม./ชม. หรือ 74–95 ไมล์/ชม.)[5][7] เมื่อพายุเฮอริเคนทวีกำลังแรงขึ้นอีกโดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 83–95 นอต (154–177 กม./ชม. หรือ 96–110 ไมล์/ชม.) มันจะถูกจัดเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 (Category 2 hurricane)[5][7] และเมื่อพายุเฮอริเคนมีความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 (Category 3 hurricane) พายุจะมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 96–112 นอต (178–208 กม./ชม. หรือ 111–129 ไมล์/ชม.) ซึ่งตั้งแต่ระดับนี้เป็นต้นไป ศูนย์เตือนภัยจะพิจารณาให้พายุเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ (Major hurricane) ด้วย[7] เมื่อพายุเฮอริเคนมีกำลังแรงขึ้นอีกมันจะถูกจัดเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 (Category 4 hurricane) โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 113–136 นอต (209–251 กม./ชม. หรือ 130–156 ไมล์/ชม.) หากพายุเฮอริเคนยังทวีกำลังแรงขึ้นอีก มันจะถูกจัดให้เป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 (Category 5 hurricane) โดยมีความเร็วลมอย่างน้อย 137 นอต (252 กม./ชม. หรือ 157 ไมล์/ชม.)[5][7] ส่วนลักษณะพายุหมุนหลังเขตร้อน หรือ ระบบพายุหมุนเขตร้อนที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่เหลือหรือสลายตัวไปแล้ว คำแนะนำอย่างเป็นทางการที่ออกให้กับพายุมักจะยุติลงในขั้นนี้[5] อย่างไรก็ตาม คำแนะนำอาจจะยังคงมีการประกาศต่อไป ถ้าหากว่าลักษณะพายุหมุนหลังเขตร้อนนั้น จะเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สิน[5] และจะยังคงมีการออกคำแนะนำต่อไปด้วย ถ้าหากหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือนั้น มีโอกาสที่จะมีการฟื้นฟูตัวเองขึ้นใหม่ และผลิตแรงลมระดับพายุโซนร้อนหรือพายุเฮอริเคนเหนือบริเวณแผ่นดินได้ภายใน 48 ชั่วโมง[5]

มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันนั้น แต่เดิมถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้ทั้งความเร็วลมและน้ำขึ้นจากพายุ แต่นับตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมและน้ำขึ้นจากพายุนั้นไม่จำเป็นต้องเกี่ยวเนื่องกัน มาตรานี้จึงถูกเปลี่ยนเป็น "มาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน" (SSHWS) และขึ้นอยู่กับความเร็วลมเพียงอย่างเดียว

แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของการจัดระดับมาตราจะสัมพันธ์กับความแรงของลม แต่การจัดระดับนั้นไม่ใช่กฎที่เป็นจริงเสมอไปในแง่ของผลกระทบ พายุที่ถูกจัดระดับอยู่ในระดับต่ำนั้นก็สามารถสร้างความเสียหายมหาศาลกว่าพายุที่ถูกจัดระดับอยู่ในระดับสูงได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น ภูมิประเทศในท้องถิ่น ความหนาแน่นของประชากร และปริมาณน้ำฝนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น พายุเฮอริเคนระดับ 2 ที่พัดขึ้นฝั่งในเขตชุมชนเมืองจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าพายุเฮอริเคนระดับ 5 ที่พัดขึ้นฝั่งในเขตชนบท ในความเป็นจริงแล้ว ระบบพายุโซนร้อนหรือที่มีความรุนแรงน้อยกว่าพายุเฮอริเคนนั้น ก็สามารถสร้างความเสียหาย, ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุทกภัยและแผ่นดินถล่มอย่างมีนัยสำคัญได้เช่นกัน

ในอดีต คำว่า Great hurricane หรือ พายุเฮอริเคนใหญ่ ถูกใช้อธิบายถึงพายุที่มีความเร็วลมอย่างน้อย 110 นอต (200 กม./ชม. หรือ 125 ไมล์/ชม.) มีรัศมีขนาดใหญ่ (มากกว่า 160 กม. หรือ 100 ไมล์) และสร้างการทำลายล้างมหาศาล โดยคำนี้เลิกใช้ไปหลังจากที่มีการแนะนำมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สันในช่วงต้นยุค ค.ศ. 1970[8]

มีการเปลี่ยนแปลงมาตราดังกล่าวเล็กน้อยก่อนหน้าฤดูพายุเฮอริเคน พ.ศ. 2555 โดยความเร็วลมสำหรับระดับ 3–5 ถูกปรับแต่งเพื่อจำกัดข้อผิดพลาดในการปัดเศษที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลก่อนหน้า เมื่อพายุเฮอริเคนมีความเร็วลม 115 นอต (215 กม./ชม. หรือ 130 ไมล์/ชม.)[9]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

แก้
มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของ
คณะกรรมการไต้ฝุ่นของ ESCAP/WMO
ประเภท ความเร็วลมต่อเนื่อง
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง ≥105 นอต
≥194 กม./ชม.
พายุไต้ฝุ่น
กำลังแรงอย่างมาก
85–104 นอต
157–193 กม./ชม.
พายุไต้ฝุ่น
กำลังแรง
64–84 นอต
118–156 กม./ชม.
พายุโซนร้อน
กำลังแรง
48–63 นอต
89–117 กม./ชม.
พายุโซนร้อน 34–47 นอต
62–88 กม./ชม.
พายุดีเปรสชันเขตร้อน ≤33 นอต
≤61 กม./ชม.

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA, RSMC โตเกียว)[10] ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนจะถูกนิยามเป็น การเริ่มขึ้นของพายุหมุนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศเหนือทะเลเขตร้อน (Non-frontal synoptic scale cyclone originating over tropical waters) หรือกึ่งเขตร้อน (sub-tropical waters) ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน[10] การจัดความรุนแรงขั้นต่ำที่สุดที่ใช้โดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีอย่างน้อย 33 นอต (61 กม./ชม. หรือ 17 ม./ว. หรือ 38 ไมล์/ชม.)[10] ถ้าหากพายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 33–47 นอต (61–87 กม./ชม. หรือ 17–24 ม./ว. หรือ 38–54 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะได้รับการตั้งชื่อและถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน[10] ถ้าหากระบบยังทวีกำลังแรงต่อไปอีก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 25–32 ม./ว. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[10] ส่วนการจัดระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุไต้ฝุ่น โดยพายุจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 33 ม./ว. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[10]

กรมอุตุนิยมวิทยาจีน, หอสังเกตการณ์ฮ่องกง (HKO), สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ต่างแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นเพิ่มเติม เพื่อวัตถุประสงค์ภายในประเทศของตนด้วย[10] โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นออกเป็นสามประเภท ตามความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาที ถ้าต่ำกว่า 84 นอต (156 กม./ชม. หรือ 43 ม./ว. หรือ 97 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดเป็นประเภทพายุไต้ฝุ่น, ถ้าความเร็วลมอยู่ระหว่าง 85–104 นอต (157–193 กม./ชม. หรือ 44–54 ม./ว. หรือ 98–120 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดประเภทเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงมาก และถ้าความเร็วลมมากกว่า 105 นอต (194 กม./ชม. หรือ 54 ม./ว. หรือ 121 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรง[10] ส่วนหอสังเกตการณ์ฮ่องกงและกรมอุตุนิยมวิทยาจีน จะแบ่งประเภทของพายุไต้ฝุ่นออกเป็นสามประเภท โดยทั้งสององค์กรจะจัดให้พายุที่มีความเร็วลม 80 นอต (150 กม./ชม. หรือ 41 ม./ว. หรือ 92 ไมล์/ชม.) เป็นประเภทพายุไต้ฝุ่น และพายุที่มีกำลังแรงกว่าโดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 85–104 นอต (157–193 กม./ชม. หรือ 44–54 ม./ว. หรือ 98–120 ไมล์/ชม.) เป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังแรง ขณะที่พายุที่มีความเร็วลมตั้งแต่ 100 นอต (190 กม./ชม. หรือ 51 ม./ว. หรือ 120 ไมล์/ชม.) จะถูกจัดให้เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[10][11] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ได้เสนอการใช้คำว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และแนะนำให้ใช้กับระบบพายุที่มีความเร็วลมมากว่า 120 นอต (220 กม./ชม. หรือ 62 ม./ว. หรือ 140 ไมล์/ชม.)[12]

นอกเหนือจากหน่วยงานให้บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของแต่ละชาติแล้ว ยังมีศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐ ที่เฝ้าติดตามแอ่งนี้เช่นกัน รวมถึงยังมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญสำหรับรัฐบาลสหรัฐด้วย[13] โดยศูนย์นี้จะกำหนดหมายเลขพายุหมุนเขตร้อนสองหลัก (พร้อมทั้งอักษร "W" ต่อท้าย)[6] การเตือนภัยนี้จะใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที เนื่องจากสามารถเทียบเคียงกับมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันได้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะใช้มาตราของหน่วยงานเอง ในการจัดความรุนแรงภายในแอ่งนี้[14] โดยการจัดความรุนแรงของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้แก่ พายุดีเปรสชันเขตร้อน, พายุโซนร้อน, พายุไต้ฝุ่น และ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[14] อีกทั้งเมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนแล้ว และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะทำการเพิ่มข้อมูลชื่อสากลที่ได้รับนั้น (โดยการใส่วงเล็บเพิ่มลงไป) กับหมายเลขพายุหมุนเขตร้อน[6] (ตัวอย่างเช่น ในฤดูกาล 2561 พายุดีเปรสชันเขตร้อน TWENTY-W หรือย่อว่า TD 20W ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเบบินคา (Bebinca) ทางศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะกล่าวถึงพายุลูกนี้ว่า TS 20W (BEBINCA) ในคำแนะนำพายุของศูนย์ฯ) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดเป็นพายุโซนร้อน โดยปราศจากการปรับของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นด้วย (เนื่องจากความแตกต่างระหว่างมาตราวัดความเร็วลมระหว่างหน่วยงานทั้งสอง) ชื่อในวงเล็บจะถูกใส่เป็นหมายเลขพายุหมุนเขตร้อนแบบสะกดในภาษาอังกฤษแทน เช่น TS 16W (SIXTEEN) จนกว่ากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะปรับพายุลูกนั้นให้เป็นพายุโซนร้อนและประกาศชื่อกับพายุ เมื่อทราบชื่อแล้วทางศูนย์จะนำชื่อในไปใส่ในวงเล็บตามปกติต่อไป[14]

นอกจากนี้สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวันยังมีมาตราพายุหมุนเขตร้อนของสำนักเองในภาษาจีน แต่เมื่อใช้ภาษาอังกฤษจะใช้มาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่นแทน[15]

มหาสมุทรอินเดียเหนือ

แก้
มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อน
กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย
ประเภท ความเร็วลมเฉลี่ย
(เฉลี่ย 3 นาที)
พายุซูเปอร์ไซโคลน >120 นอต
>222 กม./ชม.
พายุไซโคลน
กำลังแรงอย่างมาก
90–119 นอต
166–221 กม./ชม.
พายุไซโคลน
กำลังแรงมาก
64–89 นอต
118–165 กม./ชม.
พายุไซโคลน
กำลังแรง
48–63 นอต
88–117 กม./ชม.
พายุไซโคลน 34–47 นอต
62–87 กม./ชม.
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 28–33 นอต
52–61 กม./ชม.
พายุดีเปรสชัน ≤27 นอต
≤51 กม./ชม.

พายุหมุนเขตร้อนใดที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออกถึงเส้นเมริเดียนที่ 45 องศาตะวันออก จะถูกติดตามโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD, RSMC นิวเดลี)[3] ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามเป็น พายุหมุนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ (Non-frontal synoptic scale cyclone) ที่เริ่มขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน[3] การจัดความรุนแรงอย่างเป็นทางการขั้นต่ำที่สุด ที่ใช้กันภายในมหาสมุทรอินเดียเหนือคือ พายุดีเปรสชัน ซึ่งมีความเร็วลมต่อเนื่องใน 3 นาทีอยู่ระหว่าง 17–27 นอต (31–49 กม./ชม. หรือ 20–31 ไมล์/ชม.)[3] หากพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น มันจะกลายเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ซึ่งมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 28–33 นอต (50–61 กม./ชม. หรือ 32–38 ไมล์/ชม.)[3] หากพายุดีเปรสชันหมุนเร็วมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน มันจะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย โดยจะต้องมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 34–47 นอต (62–88 กม./ชม. หรือ 39–54 ไมล์/ชม.)[3] หากพายุทวีกำลังแรงขึ้นอีกมันจะถูกจัดเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง โดยพายุระดับนี้มีกำลังลมแบบพายุโซนร้อน ซึ่งจะมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) หากพายุยังทวีกำลังแรงขึ้นไปอีก มันจะถูกจัดเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง โดยพายุตั้งแต่ระดับนี้ขึ้นไปจะมีกำลังลมแบบพายุเฮอริเคนหรือพายุไต้ฝุ่น ซึ่งจะมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) หากพายุทวีกำลังแรงขึ้นอีก มันจะถูกจัดเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 64–89 นอต (118–166 กม./ชม. หรือ 73–102 ไมล์/ชม.) ซึ่งหากพายุยังทวีกำลังแรงขึ้นอีก มันจะถูกจัดเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 90–119 นอต (166–221 กม./ชม. หรือ 104–137 ไมล์/ชม.)[3] สำหรับการจัดความรุนแรงขั้นสูงสุดในมหาสมุทรอินเดียเหนือคือ พายุซูเปอร์ไซโคลน โดยมีความเร็วลมมากกว่า 120 นอต (222 กม./ชม. หรือ 138 ไมล์/ชม.)[3]

ตามประวัติศาสตร์แล้ว ระบบจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชัน ถ้าบริเวณของระบบนั้นมีความกดอากาศต่ำเมื่อเทียบกับบริเวณโดยรอบ[16] และในประวัติศาสตร์ยังมีการจัดความรุนแรงแบบอื่นถูกใช้ด้วย คือ พายุไซโคลนที่มีลมไม่เกินกว่าระดับ 10 ตามมาตราโบฟอร์ต และพายุไซโคลนที่มีลมอยู่ในระดับ 11 หรือ 12 ตามมาตราโบฟอร์ต[16] ระหว่างปี พ.ศ. 2467 ถึง 2531 พายุหมุนเขตร้อนในแอ่งนี้ถูกแบ่งการจัดความรุนแรงออกเป็นสี่ประเภทคือ พายุดีเปรสชัน พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว พายุไซโคลน และพายุไซโคลนกำลังแรง[16] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2531 เมื่อมีการนำประเภท "พายุไซโคลนกำลังแรงที่มีแกนของลมพายุเฮอริเคน" มาใช้สำหรับพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[16] ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 มีการนำประเภทใหม่มาใช้เพิ่มเติมคือ "พายุไซโคลนกำลังแรงมาก" และ "พายุซูเปอร์ไซโคลน" ขณะที่ประเภทพายุไซโคลนกำลังแรงที่มีแกนของลมพายุเฮอริเคนนั้น ถูกตัดทิ้งออกไป[16] ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558 มีการแก้ไขอื่น ๆ กับมาตราความรุนแรงอีก โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียมีการเรียกพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องใน 3 นาที ระหว่าง 90–119 นอต (166–221 กม./ชม. หรือ 104–137 ไมล์/ชม.) เป็นประเภทพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก[17]

ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐก็ติดตามในแอ่งนี้เช่นกัน และยังมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญสำหรับรัฐบาลสหรัฐด้วย[13] นอกจากนี้ยังมีการกำหนดหมายเลขพายุหมุนเขตร้อนเช่นเดียวกันกับแอ่งอื่น ๆ ข้างต้นด้วย (แม้ว่าจะเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการสำหรับแอ่งนี้และแอ่งอื่น โดยพายุไซโคลนที่ก่อตัวอยู่ในทะเลอาหรับจะได้รับตัวอักษร "A" ต่อท้าย ขณะที่พายุที่ก่อตัวในอ่าวเบงกอลจะได้รับตัวอักษร "B" ต่อท้าย) การเตือนภัยนี้จะใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที เนื่องจากสามารถเทียบเคียงกับมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีความรุนแรงใด ๆ ในแอ่งนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดประเภทระบบทั้งหมดเป็น พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclones) พร้อมด้วยหมายเลขพายุหมุนเขตร้อน (โดยมีการใส่ชื่อพายุลงในวงเล็บ และใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นในหัวข้อด้านบน)[14]

มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้

แก้
มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้
มาตราความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน
ประเภท ลมเฉลี่ย
พายุไซโคลนรุนแรงมาก >115 นอต
>212 กม./ชม.
พายุไซโคลนรุนแรง 90–115 นอต
166–212 กม./ชม.
พายุไซโคลน 64–89 นอต
118–165 กม./ชม.
พายุโซนร้อนกำลังแรง 48–63 นอต
89–117 กม./ชม.
พายุโซนร้อน
กำลังปานกลาง
34–47 นอต
63–88 กม./ชม.
พายุดีเปรสชันเขตร้อน 28–33 นอต
51–62 กม./ชม.
หย่อมความกดอากาศต่ำ
เขตร้อน
<28 นอต
<50 กม./ชม.

พายุหมุนเขตร้อนใดที่ก่อตัวภายในซีกโลกใต้ ระหว่างทวีปแอฟริกาถึงเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก จะถูกติดตามโดยศูนย์พายุหมุนเขตร้อนเรอูว์นียงของเมเตโอ-ฟร็องส์ (MFR, RSMC เรอูว์นียง)[18] ภายในภูมิภาคนี้การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (Tropical disturbance) จะถูกนิยามเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ (Non-frontal synoptic scale low pressure area) ที่เริ่มขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 27 นอต (50 กม./ชม.)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน เป็นคำเรียกทั่วไปที่เมเตโอ-ฟร็องส์ใช้เรียกหย่อมความกดอากาศต่ำแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ ที่มีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุน[18] ตัวระบบควรจะมีความเร็วลมโดยประมาณน้อยกว่า 28 นอต (50 กม./ชม. หรือ 32 ไมล์/ชม.)[18]

ระบบพายุจะถูกกำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน หรือ พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน เมื่อมันมีความเร็วลมมากกว่า 28 นอต (50 กม./ชม. หรือ 32 ไมล์/ชม.) หากพายุทวีกำลังแรงขึ้นอีก และมีความเร็วลมมากกว่า 35 นอต (65 กม./ชม. หรือ 40 ไมล์/ชม.) มันจะถูกกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และจะได้รับชื่อจากศูนย์ย่อยภูมิภาคในมอริเชียสหรือมาดากัสการ์เพียงศูนย์ใดศูนย์หนึ่ง ส่วนระบบพายุกึ่งเขตร้อนในแอ่งนี้นั้น ไม่ว่าจะมีความรุนแรงเท่าใด มันก็จะถูกกำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนเสมอ[19]

หากพายุที่รับชื่อแล้วนั้นยังทวีกำลังแรงขึ้นไปอีก จนมีความเร็วลมถึง 48 นอต (89 กม./ชม. หรือ 55 ไมล์/ชม.) มันจะถูกกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[19] และจะได้รับการกำหนดให้เป็นพายุไซโคลน เมื่อพายุนั้นมีความเร็วลมถึง 64 นอต (118 กม./ชม. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[18] หากพายุไซโคลนนั้นทวีกำลังแรงขึ้น จนมีความเร็วลมถึง 90 นอต (166 กม./ชม. หรือ 103 ไมล์/ชม.) มันจะถูกกำหนดให้เป็นพายุไซโคลนรุนแรง[18] ส่วนถ้าพายุยังทวีกำลังแรงขึ้นอีก และมีความเร็วลมถึง 115 นอต (212 กม./ชม. หรือ 132 ไมล์/ชม.) มันจะถูกกำหนดให้เป็นพายุไซโคลนรุนแรงมาก ซึ่งเป็นประเภทความรุนแรงสูงที่สุดในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก–ใต้[19]

เมื่อการประชุมคณะกรรมการพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคหนึ่ง (RA I Tropical cyclone committee) ครั้งที่สิบในช่วงปี พ.ศ. 2534 มีการแนะนำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดระดับความรุนแรงสำหรับในฤดูกาล พ.ศ. 2536–2537[20] โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการตัดสินใจให้การจัดความรุนแรงเดิมที่แบ่งพายุดีเปรสชันเขตร้อนออกเป็น พายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน (Weak Tropical Depression), พายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังปานกลาง (Moderate Tropical Depression), พายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังแรง (Severe Tropical Depression) นั้นเปลี่ยนเสียใหม่เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression), พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และพายุโซนร้อนกำลังแรง[20] โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลใช้ในช่วงฤดูกาล พ.ศ. 2536–2537[20]

ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐก็ติดตามในแอ่งนี้เช่นกัน และยังมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญในนามรัฐบาลสหรัฐด้วย[13] ระบบพายุจะถูกกำหนดหมายเลขพายุหมุนเขตร้อนแบบไม่เป็นทางการ พร้อมเติมตัวอักษร "S" ต่อท้าย (ซึ่งครอบคลุมทั้งมหาสมุทรอินเดียใต้ รวมถึงทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ BMKG และ BoM ทางฝั่งตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออกด้วย) การเตือนภัยนี้จะใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที เนื่องจากสามารถเทียบเคียงกับมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีความรุนแรงใด ๆ ในแอ่งนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดประเภทระบบทั้งหมดเป็น พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclones) พร้อมด้วยหมายเลขพายุหมุนเขตร้อน (โดยมีการใส่ชื่อพายุลงในวงเล็บ และใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นและมหาสมุทรอินเดียเหนือในหัวข้อด้านบน)[14]

ออสเตรเลียและฟีจี

แก้
มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย
ระดับ ลมเฉลี่ย ลมกระโชก
ห้า >107 นอต
>200 กม./ชม.
>151 นอต
>279 กม./ชม.
สี่ 86-107 นอต
160-200 กม./ชม.
122-151 นอต
225-279 กม./ชม.
สาม 64-85 นอต
118-159 กม./ชม.
90-121 นอต
165-224 กม./ชม.
สอง 48-63 นอต
89-117 กม./ชม.
68-89 นอต
125-164 กม./ชม.
หนึ่ง 34-47 นอต
63-88 กม./ชม.
49-67 นอต
91-125 กม./ชม.
ความกดอากาศต่ำ
เขตร้อน
<34 นอต
<63 กม./ชม.
<49 นอต
<91 กม./ชม.

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในซีกโลกใต้ นับจากทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งศูนย์หรือมากกว่านั้น[21] ซึ่งศูนย์เหล่านี้ดำเนินงานโดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี, เมทเซอร์วิซของนิวซีแลนด์, กรมอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG), หน่วยงานบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติของปาปัวนิวกีนี และสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BoM)[21] ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามเป็น หย่อมความกดอากาศต่ำในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ (Non-frontal synoptic scale low pressure area) ที่เริ่มขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อน โดยมีการจัดระบบการไหลเวียนลมและมีความเร็วลมต่อเนื่องใน 10 นาทีมากกว่า 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.) ใกล้ศูนย์กลาง[21] เมื่อพายุมีความเร็วลมถึงระดับนี้แล้ว มันจะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน และเริ่มถูกจัดระดับตามมาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมาตราที่แบ่งพายุหมุนเขตร้อนออกเป็นห้าระดับ ขึ้นอยู่กับความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาที[21][22] พายุไซโคลนระดับ 1 จะมีความเร็วลมต่อเนื่องใน 10 นาทีอยู่ที่ 34–47 นอต (36–87 กม./ชม. หรือ 39–54 ไมล์/ชม.) ขณะที่พายุไซโคลนระดับ 2 จะมีความเร็วลมต่อเนื่องใน 10 นาทีอยู่ที่ 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.)[22][23] เมื่อพายุไซโคลนระดับ 2 กลายเป็นพายุไซโคลนระดับ 3 มันจะถูกจัดความรุนแรงใหม่เป็น พายุไซโคลนกำลังแรง โดยมีความเร็วลมอยู่ที่ 64–85 นอต (119–157 กม./ชม. หรือ 74–98 ไมล์/ชม.)[22][23] พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 มีความเร็วลมอยู่ที่ 86–110 นอต (157–200 กม./ชม. หรือ 99–130 ไมล์/ชม.) ขณะที่การจัดความรุนแรงสูงสุดคือ พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 5 ซึ่งมีความเร็วลมอย่างน้อย 108 นอต (200 กม./ชม. หรือ 124 ไมล์/ชม.) ขึ้นไป[22][23]

สำหรับระบบพายุที่มีความรุนแรงต่ำกว่าพายุไซโคลน จะมีคำที่ใช้กับระบบเหล่านี้ต่างกัน ประกอบด้วย การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (Tropical Disturbance), บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (Tropical Low) และ พายุดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression)[21] การแปรปรวนของลมในเขตร้อนนั้นหมายถึง การเริ่มของระบบในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศในเขตร้อน โดยมีการพาความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ/หรือ มีข้อบ่งชี้ถึงการไหลเวียน[21] ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนหรือบริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน คือ การแปรปรวนของลม (Disturbance) ที่มีการไหลเวียนอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถทำการประมาณตำแหน่งของศูนย์กลางได้แล้ว และมีความเร็วลมสูงสุดเฉลี่ยใน 10 นาทีน้อยกว่า 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.) ใกล้ศูนย์กลาง[21] ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีจะมีหมายเลข FMS ให้กับระบบเมื่อมีความเป็นไปได้ว่ามันจะพัฒนาไปเป็นพายุไซโคลน หรือจะมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินภายในพื้นที่รับผิดชอบของตน และจะมีการวิเคราะห์สำหรับ 24 ชั่วโมงก่อนหน้าด้วย[21] มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียนี้ถูกนำเสนอโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย ก่อนหน้าฤดูกาล พ.ศ. 2523–2524

ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐก็ติดตามในแอ่งนี้เช่นกัน และยังมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญในนามรัฐบาลสหรัฐด้วย[13] ระบบพายุจะถูกกำหนดหมายเลขพายุหมุนเขตร้อนแบบไม่เป็นทางการ พร้อมเติมตัวอักษร "S" ต่อท้าย (ถ้าเริ่มต้นทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก และตลอดทั้งมหาสมุทรอินเดียใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของเมเตโอ-ฟร็องส์) หรือ เติมตัวอักษร "P" ต่อท้าย (ถ้าเริ่มทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก และตลอดทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย, หน่วยงานบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติของปาปัวนิวกีนี, กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี และเมทเซอร์วิซของนิวซีแลนด์) การเตือนภัยนี้จะใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที เนื่องจากสามารถเทียบเคียงกับมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีความรุนแรงใด ๆ ในแอ่งนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดประเภทระบบทั้งหมดเป็น พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclones) พร้อมด้วยหมายเลขพายุหมุนเขตร้อน (โดยมีการใส่ชื่อพายุลงในวงเล็บ และใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นและมหาสมุทรอินเดียในหัวข้อด้านบน)[14]

มาตราทางเลือก

แก้

ยังมีมาตราอื่นที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคหรือศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนไม่ใช้อย่างเป็นทางการ ทว่ามีองค์การอื่นใช้ เช่น องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ ตัวอย่างเช่น "ดัชนีพลังงานจลน์เบ็ดเสร็จ" (Integrated Kinetic Energy index) ซึ่งวัดศักย์ทำลายล้างของคลื่นพายุซัดฝั่ง มีระดับตั้งแต่หนึ่งถึงหก โดยหกมีศักยะทำลายล้างสูงสุด[24]

"พลังงานพายุหมุนสะสม" (accumulated cyclone energy; ACE) เป็นมาตราที่องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติและหน่วยงานอื่นใช้เพื่อแสดงกัมมันตภาพของพายุหมุนเขตร้อนลูกหนึ่ง ๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือกำลังพายุหมุนเขตร้อนและฤดูกาลพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมด[25] โดยคำนวณโดยนำความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนกัมมันต์ทุกลูก (ความเร็วลมตั้งแต่ 35 น็อตขึ้นไป) ที่ระยะห่าง 6 ชั่วโมงยกกำลังสอง จำนวนดังกล่าวปกติถูกหารด้วย 10,000 เพื่อให้คำนวณต่อได้ง่ายขึ้น หน่วยของ ACE คือ 104 น็อต2 และสำหรับใช้เป็นดัชนี มีการสันนิษฐานหน่วย[25] นอกจากนี้ อาจคำนวณโดยใช้ความเร็วลมยกกำลังสาม ซึ่งเรียก ดัชนีการสลายกำลัง (Power Dissipation Index หรือ PDI)[26]

"ดัชนีความรุนแรงเฮอริเคน" (Hurricane Severity Index; HSI) เป็นอีกมาตราหนึ่งที่มีการใช้และจัดความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนโดยอาศัยทั้งความรุนแรงและขนาดของสนามลม[27] HSI กำหนดให้มี 0 ถึง 50 แต้ม โดยแบ่งเป็นความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนสูงสุด 25 แต้ม และขนาดสนามลมสูงสุด 25 แต้ม[27] การให้แต้มเป็นแบบอัตราเลื่อน โดยแต้มส่วนใหญ่สงวนไว้สำหรับแรงเฮอริเคนและสนามลมขนาดใหญ่[27]

ตารางเปรียบเทียบ

แก้

ศัพทวิทยาสำหรับพายุหมุนเขตร้อนที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ชื่อย่อภาษาอังกฤษใต้ชื่อแอ่งเป็นชื่อของศูนย์เตือนภัยอย่างเป็นทางการทั่วโลก โดยมีเพียงศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC), ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เท่านั้นที่ใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที และมีเพียงกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) เท่านั้นที่ใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 3 นาที (ไม่ปรากฏในตาราง) นอกนั้นศูนย์เตือนภัยอื่นทั่วโลกจะใช้ความเร็วลมต่อเนื่องใน 10 นาที

ตารางเปรียบเทียบความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน
มาตรา
โบฟอร์ต
ความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาที
(NHC/CPHC/JTWC)
ความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาที
(WMO/JMA/MF/BOM/FMS)
แปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือและ
แอตแลนติกเหนือ
NHC/CPHC
แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ
JTWC
แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ
JMA
มหาสมุทรอินเดียเหนือ
IMD
มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้
MF
ออสเตรเลียและแปซิฟิกใต้
BOM/FMS
0–7 <32 นอต (59 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) <28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุดีเปรสชัน พื้นที่ของอากาศแปรปรวน การแปรปรวนของลมในเขตร้อน
7 33 นอต (61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 28–29 นอต (52–54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว การแปรปรวนของลมในเขตร้อน พายุดีเปรสชันเขตร้อน
8 34–37 นอต (63–69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 30–33 นอต (56–61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุโซนร้อน พายุโซนร้อน พายุดีเปรสชันเขตร้อน บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน
9–10 38–54 นอต (70–100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 34–47 นอต (63–87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุโซนร้อน พายุไซโคลน พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง พายุไซโคลน
ระดับ 1
11 55–63 นอต (102–117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 48–55 นอต (89–102 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุโซนร้อนกำลังแรง พายุไซโคลนกำลังแรง พายุโซนร้อนกำลังแรง พายุไซโคลน
ระดับ 2
12+ 64–71 นอต (119–131 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 56–63 นอต (104–117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุเฮอริเคนระดับ 1 พายุไต้ฝุ่น
72–82 นอต (133–152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 64–72 นอต (119–133 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง พายุไซโคลน
กำลังแรงมาก
พายุไซโคลน พายุไซโคลนกำลังแรง
ระดับ 3
83–95 นอต (154–176 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 73–83 นอต (135–154 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุเฮอริเคนระดับ 2
96–97 นอต (178–180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 84–85 นอต (156–157 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุเฮอริเคน
ขนาดใหญ่ระดับ 3
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง
อย่างมาก
98–112 นอต (181–207 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 86–98 นอต (159–181 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุไซโคลนกำลังแรง
อย่างมาก
พายุไซโคลนรุนแรง พายุไซโคลนกำลังแรง
ระดับ 4
113–122 นอต (209–226 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 99–107 นอต (183–198 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุเฮอริเคน
ขนาดใหญ่ระดับ 4
123–129 นอต (228–239 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 108–113 นอต (200–209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุไต้ฝุ่นรุนแรง พายุไซโคลนกำลังแรง
ระดับ 5
130–136 นอต (241–252 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 114–119 นอต (211–220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุซูเปอร์ไซโคลน พายุไซโคลนรุนแรงมาก
>137 นอต (254 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) >120 นอต (220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พายุเฮอริเคน
ขนาดใหญ่ระดับ 5

อ้างอิง

แก้
  1. Tropical Cyclone Weather Services Program (2006-06-01). "Tropical cyclone definitions" (PDF). National Weather Service. สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  2. Federal Emergency Management Agency (2004). "Hurricane Glossary of Terms". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-14. สืบค้นเมื่อ 2006-03-24.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 WMO/ESCAP Panel on Tropical Cyclones (June 8, 2015). Tropical Cyclone Operational Plan for the Bay of Bengal and the Arabian Sea 2015 (PDF) (Report No. TCP-21). World Meteorological Organization. pp. 11–12. สืบค้นเมื่อ March 29, 2015.
  4. "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & South-east Indian Ocean" (PDF). World Meteorological Organization. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 RA IV Hurricane Committee. Regional Association IV Hurricane Operational Plan 2017 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ June 29, 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 National Hurricane Operations Plan (PDF) (Report). Office of the Federal Coordinator for Meteorological Services and Supporting Research. May 2017. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Saffir–Simpson Hurricane Scale Information". National Hurricane Center. May 24, 2013. สืบค้นเมื่อ November 8, 2015.
  8. Fred Doehring; Iver W. Duedall; John M. Williams (1994). "Florida Hurricanes and Tropical Storms: 1871–1993: An Historical Survey" (PDF). Florida Institute of Technology. pp. 53–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ December 26, 2008.
  9. Tew, Mark (March 1, 2012). "Public Information Statement: Minor Modification of Saffir–Simpson Hurricane Wind Scale Thresholds Effective May 15, 2012". United States National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2015. สืบค้นเมื่อ November 7, 2015.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 10.8 Typhoon Committee (2015). Typhoon Committee Operational Manual 2015 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ November 13, 2015.
  11. "Classifications of Tropical cyclones" (PDF). Hong Kong Observatory. March 18, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  12. Cervantes, Ding (May 16, 2015). "Pagasa bares 5 new storm categories". ABS-CBN. สืบค้นเมื่อ May 20, 2015.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "Products and Services Notice". Pearl Harbour, Hawaii: Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "Frequently Asked Questions". Pearl Harbour, Hawaii: Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  15. 交通部中央氣象局 (February 1, 2008). "特輯". www.cwb.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Best track data of tropical cyclonic disturbances over the north Indian Ocean (PDF) (Report). India Meteorological Department. July 14, 2009. สืบค้นเมื่อ October 31, 2015.
  17. Final report on the Third Joint Session of Panel on Tropical Cyclones & Typhoon Committee February 9–13, 2015 (PDF). Bangkok, Thailand. p. 10. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2015.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 "Tropical Cyclone Operational Plan for the South West Indian Ocean 2006" (PDF). World Meteorological Organization. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Tableau de définition des cyclones" (ภาษาฝรั่งเศส). Météo-France. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ January 14, 2009.
  20. 20.0 20.1 20.2 Le Goff, Guy (บ.ก.). Cyclone Season 1992–1993 (PDF). RSMC La Reunion. Meteo-France. pp. 105–106. สืบค้นเมื่อ November 7, 2015.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 RA V Tropical Cyclone Committee. Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2014 (PDF) (Report). World Meteorological Organization.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Tropical cyclone alerts and warnings summary of procedures within Fiji: 2009–2010 season (PDF) (Report). Fiji Meteorological Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2015.
  23. 23.0 23.1 23.2 "Tropical Cyclone: Frequently Asked Questions". Australian Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ November 7, 2015.
  24. "Integrated Kinetic Energy". Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. National Oceanic and Atmospheric Administration. February 7, 2009. สืบค้นเมื่อ January 18, 2009.
  25. 25.0 25.1 Tropical Cyclone Weather Services Program (June 1, 2009). "Background Information: The North Atlantic Hurricane Season". National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-06-18. สืบค้นเมื่อ January 16, 2008.
  26. Kerry Emanuel (August 4, 2005). "Increasing destructiveness of tropical cyclones over the past 30 years" (PDF). Nature. 436 (7051): 686–8. Bibcode:2005Natur.436..686E. doi:10.1038/nature03906. PMID 16056221. สืบค้นเมื่อ February 15, 2010.
  27. 27.0 27.1 27.2 "Background Information: The North Atlantic Hurricane Season". American Meteorological Society. December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ January 16, 2009.