รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา
รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ถึง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | เนวิน ชิดชอบ อดิศร เพียงเกษ |
ถัดไป | สมพัฒน์ แก้วพิจิตร ธีระชัย แสนแก้ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ |
เสียชีวิต | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (83 ปี)[1] กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ชัชสรัญ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ประวัติ
แก้รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของพระยารามราชภักดี กับคุณหญิงชื่นแช่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2508 ระดับปริญญาโทสาขาเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต และระดับปริญญาเอก ด้านการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต เช่นเดียวกัน
ด้านครอบครัวสมรสกับชัชสรัญ อิศรางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: เจริญศิริ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนาง ปิยนิตย์ ขวัญพูลศรี และ นาย กฤตินาท อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)
ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา และกำหนดพระราชทานพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 3 วัน ณ ศาลาตึกพระครูประจักษ์ศิลป์ วัดธาตุทอง
ต่อมาทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ วัดธาตุทอง
การทำงาน
แก้รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองโครงการเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2530 และดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2542 จากนั้นจึงได้รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านสินเชื่อเกษตรและชนบท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[2] จนถึงปี พ.ศ. 2549
รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3][4] ในรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งข่าวอนิจกรรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-17.
- ↑ ธนาคารกรุงเทพ จัดงานสัมมนา เรื่อง “เครื่องจักรพื้นฐาน : สร้างรากฐานอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี”
- ↑ อาถรรพ์ "ห้องทำงานปีกขวา" แห่งกระทรวงเกษตรฯ และ รมต.ที่โดนเด้ง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ประวัติรัฐมนตรี (นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา)
- ↑ ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550 เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 5 ธันวาคม 2550
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2544" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (8 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)