รัฐยาน

(เปลี่ยนทางจาก รัฐเอียน)

ยาน (จีน: ; พินอิน: Yān; การสะกดตามภาษาจีนเก่า: *ʔˤe[n]) เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว (周)[1][2] ตั้งเมืองหลวงที่จี้ (薊) ซึ่งภายหลังเรียกว่า ยานจิง (燕京) ปัจจุบันคือ เป่ย์จิง (北京)[3] บางคราวในยุคจั้นกั๋ว (战国) มีการย้ายราชสำนักไปเซี่ยตู (下都) ด้วย[4]

รัฐยาน

ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช–222 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานะอาณาจักร/รัฐ
เมืองหลวงจี้
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์โจว
• ก่อตั้ง
ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช
• ถูกพิชิตโดยรัฐฉิน
222 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สกุลเงินเงินมีด
เงินจอบ
เหรียญจีนโบราณแบบอื่น ๆ
ถัดไป
ราชวงศ์ฉิน
รัฐยาน
"ยาน" ในอักษรตราประทับโบราณ (บน) และอักษรจีนสมัยใหม่ (ล่าง)
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินYān

ประวัติศาสตร์ของรัฐยานเริ่มในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周) ซึ่งตรงกับช่วงต้นของ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์โจวเสื่อมถอยในยุคชุนชิว (春秋) ราว 800 ปีก่อนคริสตกาลนั้น รัฐยานอยู่รอดมาจนได้เป็นหนึ่งในรัฐที่แข็งแกร่งที่สุดในแผ่นดินจีน ต่อมาในยุคจั้นกั๋วซึ่งตรงกับราว 500–300 ปีก่อนคริสตกาล รัฐยานเป็นรัฐสุดท้ายที่ถูกกองทัพของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) พิชิตได้ เป็นเหตุให้รัฐยานสิ้นสุดลงเมื่อ 222 ปีก่อนคริสตกาล อันเป็นเวลา 1 ปีก่อนที่ฉินฉื่อหฺวังตี้จะประกาศรวมแผ่นดินทั้งหมดเข้าเป็นจักรวรรดิอันหนึ่งอันเดียวภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฉิน (秦朝) แต่หลังจากราชวงศ์ฉินล่มสลายเมื่อ 207 ปีก่อนคริสตกาล รัฐยานกลับตั้งเป็นอิสระได้ช่วงสั้น ๆ ก่อนจะถูกราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西漢) ผนวกเข้ากับตนโดยบริบูรณ์

อาณาเขตของรัฐยานนั้นทอดยาวจากแม่น้ำหวง (黃河) ไปถึงแม่น้ำยาลู่ (鴨綠江) และจากเทือกเขาในมณฑลชานซี (山西) ไปถึงคาบสมุทรเหลียวตง (遼東半島) และเนื่องจากรัฐยานตั้งอยู่เหนือสุดในบรรดารัฐต่าง ๆ รัฐยานจึงถูกชนเผ่าเร่รอนทุ่งราบ (steppe nomads) รุกรานบ่อยครั้ง จนต้องสร้างกำแพงกั้น ซึ่งภายหลังรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน

อ้างอิง

แก้
  1. "The History of Yanshan". Yanshan Central Information Office (ภาษาจีน). Beijing Municipal Government. October 18, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ July 26, 2011.
  2. Chen Zhi (กันยายน 30, 2010). 從王國維. 学灯 (ภาษาจีน). Confucius 2000 (16). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 26, 2011. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 26, 2011.
  3. "Ji, the Capital of the State of Yan". Beijing Municipal Administration of Cultural Heritage. มิถุนายน 16, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 7, 2011. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 26, 2011.
  4. "Site of the Second Capital of State of Yan". The People's Government of Hebei Province. China Daily. December 29, 2009. สืบค้นเมื่อ July 26, 2011.