มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์
มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ หรือ มูลนิธิเกตส์ (อังกฤษ: Bill & Melinda Gates Foundation, Gates Foundation ตัวย่อ BMGF) เป็นมูลนิธิเอกชนหรือส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดตั้งโดยบิล เกตส์ และเมลินดา เกตส์ ในปี พ.ศ. 2543 และกล่าวกันว่าเป็นมูลนิธิส่วนบุคคลที่ดำเนินการอย่างโปร่งใสที่ใหญ่ที่สุดในโลก[4] จุดมุ่งหมายหลักของมูลนิธิก็คือ เพื่อปรับปรุงการบริหารสุขภาพและลดความยากจนทั่วโลก และในสหรัฐ เพื่อขยายโอกาสการศึกษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ มูลนิธิมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน และควบคุมโดยผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน 3 คนคือ บิล กับเมลินดา เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าหน้าที่หลักอื่น ๆ รวมทั้ง ประธานกรรมการร่วม วิลเลียม เอ็ช เกตส์ ซีเนียร์ (บิดาของนายเกตส์) และประธานบริหาร พญ. ซูซาน เดสมอนด์-เฮ็ลแมนน์
อาคารสำนักงานมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ | |
ก่อตั้ง | 2543[1] |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | |
ประเภท | มูลนิธิเอกชนที่ไม่ได้ทำการเอง สถานะการเว้นภาษี: 501(c) (3)[2] |
วัตถุประสงค์ | การศึกษา, การดูแลสุขภาพ, การยุติความยากจน |
สํานักงานใหญ่ | ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
วิธี | การบริจาคและการให้เงินช่วยเหลือ |
บุคลากรหลัก | บิล เกตส์-ผู้ร่วมจัดตั้งและประธานกรรมการร่วม เมลินดา เกตส์-ผู้ร่วมจัดตั้งและประธานกรรมการร่วม วิลเลียม เอ็ช เกตส์ ซีเนียร์-ประธานกรรมการร่วม พญ.ซูซาน เดสมอนด์-เฮ็ลแมนน์-ประธานบริหาร |
เงินบริจาค | 42,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557)[3] |
ลูกจ้าง | 1,223[3] |
เว็บไซต์ | gatesfoundation.org |
ชื่อในอดีต | William H. Gates Foundation (1994-1999) |
มูลนิธิมีกองทุน 42,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 (ประมาณ 1.389 ล้านล้านบาท)[5][3] ทั้งขนาดของมูลนิธิและการดำเนินงานที่ประยุกต์หลักข้อปฏิบัติทางธุรกิจทำให้มูลนิธิเป็นผู้นำในเรื่อง venture philanthropy (การกุศลโดยใช้เทคนิคเหมือนกับบริษัทเสี่ยงลงทุน)[6] และตัวมูลนิธิเองก็ให้ข้อสังเกตว่า การกุศลมีอิทธิพลที่จำกัดต่อการดำเนินงานของมูลนิธิ[7] ในปี 2558 นิตยสาร Business Insider จัดลำดับเกตส์ว่าเป็นผู้ให้เพื่อการกุศลที่ใจกว้างเป็นอันดับหนึ่งในโลก โดยมีวอร์เรน บัฟเฟตต์เป็นอันดับสอง[8] โดยวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 บิล เกตส์ ได้บริจาคทรัพย์ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 832,411 ล้านบาท) ให้กับมูลนิธิ[9]
ประวัติที่น่าสนใจ
แก้- ในปี 2543 มูลนิธิวิลเลียมเอ็ชเกตส์ก็ได้จัดตั้งขึ้น[1][10] ในปีต่อ ๆ มา กองทุนได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 บิลได้ประกาศแผนที่จะค่อย ๆ ลดงานที่ทำทุกวันที่บริษัทไมโครซอฟท์ลง เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2551[11] เพื่อให้เขาสามารถอุทิศเวลาทำงานให้มูลนิธิเพิ่มขึ้น
- นิตยสาร ไทม์ ได้เลือกบิล และเมลินดา เกตส์ พร้อมกับนักดนตรีโบโน ว่าเป็นบุคคลประจำปี 2548 เนื่องจากงานการกุศลของพวกเขา และสำหรับบิล และเมลินดา งานที่กล่าวถึงหมายถึงงานของมูลนิธิ[12]
- ในปี 2553 บิลและเมลินดาได้ช่วยสนับสนุนจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาของผู้ทำงานทางสุขภาพ (Commission on Education of Health Professionals) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ "ปรับปรุงการศึกษาเพื่อเสริมกำลังระบบสาธารณสุขในโลกที่พึ่งพาอาศัยกัน"[13] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 บิลได้รับเชิญให้ไปเยี่ยมและให้ปาฐกถาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่เขาได้ท้าทายนักศึกษาให้แก้ปัญหาที่ยาก ๆ ของโลกในอนาคตของพวกเขา และเกตส์ก็ได้อธิบายหลักปรัชญาและรายละเอียดของงานกุศลของเขาด้วย[14][15]
- งานสำรวจผู้รับบริจาคปี 2554 พบว่า ผู้รับบริจาคจำนวนมากเชื่อว่า มูลนิธิไม่ได้แสดงเป้าหมายและกลยุทธ์ของมูลนิธิให้ชัดเจน และบางครั้งไม่เข้าใจเป้าหมายและกลยุทธ์ของผู้รับบริจาค, กระบวนการตัดสินใจให้เงินบริจาคของมูลนิธิไม่โปร่งใส, และการสื่อสารกับมูลนิธิควรจะทำให้สม่ำเสมอและตอบสนองได้ดีกว่าที่มี มูลนิธิได้ตอบสนองโดยปรับปรุงคำอธิบายของมูลนิธิให้ชัดเจนขึ้น โทรศัพท์ให้ "ปฐมนิเทศ" แก่ผู้รับเมื่ออนุมัติการบริจาค แจ้งผู้รับบริจาคว่าควรจะติดต่อใครเมื่อต้องการสื่อสารกับมูลนิธิ ให้ความเห็นป้อนกลับอย่างทันท่วงทีเมื่อได้รับรายงานจากผู้บริจาค และสร้างวิธีการเพื่อให้ผู้รับบริจาคสามารถให้ความเห็นป้อนกลับทั้งอย่างออกชื่อและอย่างนิรนามแก่มูลนิธิ[16] นอกจากนั้นแล้ว มูลนิธิยังได้เริ่มชุดพอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการสื่อสาร[17]
- ในปี 2556 ฮิลลารี คลินตันได้จัดให้มูลนิธิกับมูลนิธิบิลฮิลลารีและเชลซีคลินตัน (Bill, Hillary & Chelsea Clinton Foundation) ร่วมมือกันเพื่อรวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของหญิงและเด็กหญิงทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่การจัดงานประชุมโลกครั้งที่สี่ว่าด้วยหญิง (Fourth World Conference on Women) ปี 2538 ในนครปักกิ่ง[18][19] เป็นโปรเจ็กต์ที่เรียกว่า "ไร้ขีดสูงสุด โปรเจ็กต์การมีส่วนร่วมอย่างเต็มพิกัด (No Ceilings: The Full Participation Project)"[18][19]
การบริจาคทรัพย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์
แก้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2549 วอร์เรน บัฟเฟตต์ (ซึ่งตอนนั้นเป็นคนที่รวยที่สุดในโลก โดยมีทรัพย์สินประเมินที่ 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยวันที่ 16 เมษายน 2551) สัญญาว่าจะให้หุ้นชั้น B ของบริษัท Berkshire Hathaway เป็นจำนวน 10 ล้านหุ้นแก่มูลนิธิ โดยให้ทุกปีกระจายเป็นหลายปี และบริจาคปีแรกที่จำนวน 500,000 หุ้น ซึ่งมีค่าประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 47,234 ล้านบาท)[20] วอร์เรนได้ตั้งเงื่อนไขโดยที่การบริจาคจะไม่เพียงแค่เพิ่มกองทุนของมูลนิธิ แต่จะดำเนินการเป็นการบริจาคคู่ คือเพิ่มการบริจาคของมูลนิธิแต่ละปีเป็นทวีคูณ นอกจากนั้นแล้ว "การบริจาคของบัฟเฟตต์มากับเงื่อนไข 3 ข้อสำหรับมูลนิธิเกตส์ คือ บิลหรือเมลินดาเกตส์จะต้องมีชีวิตอยู่และมีบทบาทในการดำเนินงาน มูลนิธิต้องผ่านเกณฑ์เป็นองค์กรการกุศล และแต่ละปี มูลนิธิจะต้องบริจาคเงินเท่ากับจำนวนที่ได้จากการบริจาคของ Berkshire บวกกับการบริจาคเพิ่มเป็นจำนวนเท่ากับ 5% ของสินทรัพย์สุทธิของมูลนิธิ โดยที่บัฟเฟตต์ให้เวลามูลนิธิเป็นเวลา 2 ปีที่จะทำตามเงื่อนไขที่ 3"[21][22] มูลนิธิได้รับหุ้น 5% (500,000) จากที่สัญญาในเดือนกรกฎาคม 2549 และจะได้รับส่วนที่เหลือในเดือนกรกฎาคมในปีต่อ ๆ ไป (เป็นจำนวน 475,000 หุ้นในปี 2550, 451,250 ในปี 2551)[23][24] ในเดือนกรกฎาคม 2556 บัฟเฟตต์ประกาศการบริจาคหุ้นชั้น B ของบริษัทอีกส่วนหนึ่งมีค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 62,141 ล้านบาท) ให้กับมูลนิธิ[25]
กิจกรรม
แก้โปรแกรมและฐานข้อมูล
แก้เพื่อจะดำรงสถานะเป็นมูลนิธิการกุศล มูลนิธิจะต้องให้เงินบริจาคเท่ากับ 5% ของสินทรัพย์ที่มีทุกปี[26] โดยเดือนเมษายน 2557 มูลนิธิได้ดำเนินงานแบ่งงานเป็น 4 โปรแกรมภายใต้การดูแลของประธานบริหาร พญ.ซูซาน เดสมอนด์-เฮ็ลแมนน์ ผู้มีหน้าที่ "กำหนดว่าเรื่องอะไรสำคัญ ตรวจตราผลที่ได้ และอำนวยความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนที่เป็นกุญแจสำคัญ"[27] โดยมีโปรแกรมคือ
- แผนกพัฒนาการโลก
- แผนกสุขภาพโลก
- แผนกสหรัฐอเมริกา
- แผนกนโยบายและการสนับสนุน (นโยบาย) โลก[28]
เว็บไซต์ของมูลนิธิมีฐานข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับการบริจาค ซึ่งแสดงชื่อขององค์กรที่ได้รับเงินบริจาค จุดประสงค์ และจำนวนเงิน[29] ซึ่งสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี
นโยบายการให้เข้าถึงแบบเปิด
แก้ในเดือนพฤศจิกายน 2557 มูลนิธิประกาศว่า จะเริ่มใช้นโยบายการเข้าถึงได้แบบเปิด (OA) สำหรับสิ่งตีพิมพ์และข้อมูลวิทยาศาสตร์ "เพื่อให้สามารถเข้าถึงและร่วมใช้งานวิจัยทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่ได้ตีพิมพ์และได้เงินทุนจากมูลนิธิ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นมูลฐานของผลงาน"[30] มีผู้เรียกข้อกำหนดในนโยบายนี้ว่า เข้มงวดกวดขันที่สุดในบรรดานโยบาย OA ที่คล้ายกันในปัจจุบัน[31] โดยวันที่ 1 มกราคม 2558 นโยบายนี้มีผลต่อข้อตกลงการให้บริจาคใหม่ทั้งหมด[32]
การเงิน
แก้มูลนิธิอธิบายบนเว็บไซต์ว่า ผู้จัดการดูแลทรัพย์สินได้จัดระเบียบองค์กรเป็นสองนิติบุคคลคือ มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ และทรัสต์มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation Trust) ส่วนที่เป็นมูลนิธิมีสำนักงานในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน "ที่พุ่งความสนใจไปที่การปรับปรุงสุขภาพและลดความยากจนแบบรุนแรง" โดยมีผู้จัดการดูแลทรัพย์สินสามคนคือ บิล กับเมลินดา เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ ส่วนที่เป็นทรัสต์ทำหน้าที่บริหารจัดการ "สินทรัพย์การลงทุนและการโอนรายได้ไปยังมูลนิธิตามความจำเป็นเพื่อให้ถึงเป้าหมายการกุศล" เป็นส่วนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินเดิมของบิล และเมลินดา เกตส์ โดยมีบิล และเมลินดา เป็นผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน และรับทรัพย์บริจาคของบัฟเฟตต์[33]
มูลนิธิจะโพสต์งบการเงินที่ตรวจสอบแล้ว และฟอร์มภาษีอื่น ๆ บนเว็บไซต์เมื่อมี โดยสิ้นปี 2555 มูลนิธิมีเงินสดรวมกันเป็น 4,998,000 ดอลลาร์สหรัฐ ลดจาก 10,810,000 ดอลลาร์ที่สิ้นปี 2554 ส่วนสินทรัพย์สุทธิที่สิ้นปี 2555 มีมูลค่า 31,950,613,000 ดอลลาร์ และสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 37,176,777,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,216,237 ล้านบาท)[34]
การลงทุนของทรัสต์
แก้ในวันที่ 30 กันยายน 2561 ตามเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ มูลนิธิมีการลงทุนในหุ้นบริษัทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:[35]
บริษัท | จำนวนหุ้น | มูลค่า (หน่วย: พันเหรียญสหรัฐ) |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|
Arcos Dorados Holdings | 3,060,500 | $19,128 | เป็นผู้ถือแฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก |
AutoNation | 1,898,717 | $78,892 | บริษัทแฟรนไชส์ขายรถที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ |
เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ Class B | 62,078,974 | $13,291,729 | หุ้นชั้น B ในบริษัทของวอร์เรน บัฟเฟตต์ |
Canadian National Railway | 17,126,874 | $1,537,993 | บริษัทรถไฟใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา |
Caterpillar Inc. | 11,260,857 | $1,717,168 | บริษัทผลิตอุปกรณ์การก่อสร้างเป็นต้น ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม |
FEMSA | 6,214,719 | $380,589 | บริษัทบรรจุขวดเครื่องดื่ม และร้านขายของสะดวกซื้อ |
Crown Castle | 5,332,900 | $593,712 | บริษัทผลิตอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์มือถือ |
Ecolab | 4,366,426 | $684,568 | |
เฟดเอกซ์ | 3,024,999 | $728,390 | |
Televisa | 16,879,104 | $299,435 | บริษัทสื่อมวลชนในประเทศเม็กซิโก |
Liberty Global Class A | 2,119,515 | $61,318 | บริษัทโทรคมนาคมและสื่อทางโทรทัศน์ |
Liberty Global Class C | 3,639,349 | $102,484 | |
Liberty Global Latin America Class A | 370,424 | $7,720 | |
Liberty Global Latin America Class C | 636,044 | $13,122 | |
ไมโครซอฟท์ | 24,000,000 | $2,744,880 | |
United Parcel Service | 4,525,329 | $528,332 | |
วอลมาร์ต | 11,603,000 | $1,089,638 | บริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก |
Walgreens Boots Alliance | 3,475,398 | $253,357 | |
Waste Management | 18,633,672 | $1,683,739 | บริษัทบริหารจัดการขยะใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในสหรัฐ |
มูลนิธิลงทุนสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้บริจาค เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวคือให้ได้ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ให้มากที่สุด และดังนั้น จึงมีการลงทุนในบริษัทที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่มูลนิธิพยายามจะช่วยลดระดับความยากจน[36][37] รวมทั้งบริษัทที่สร้างมลภาวะอย่างหนัก และบริษัทผลิตยาที่ไม่ขายยาในประเทศกำลังพัฒนา[38] ดังนั้น โดยเป็นการตอบสนองต่อสื่อ มูลนิธิประกาศในปี 2550 ว่าจะทบทวนการลงทุนเพื่อประเมินระดับความรับผิดชอบทางสังคม[39] แล้วต่อมาจึงยกเลิกการทบทวน และยืนหยัดในนโยบายที่จะลงทุนเพื่อให้ได้ผลกำไรมากที่สุด แล้วใช้สิทธิในการโหวตของผู้ถือหุ้นเพื่อโน้มน้าวข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของบริษัทที่ลงทุนด้วย[40][41]
แผนกพัฒนาการโลก
แก้นพ. คริสโตเฟอร์ อีเลียส เป็นหัวหน้าแผนกพัฒนาการโลก (Global development division) ที่ต่อสู้กับความยากจนแบบรุนแรงในโลกโดยให้เงินช่วยเหลือ[42]
ในเดือนมีนาคม 2549 มูลนิธิประกาศให้เงินช่วยเหลือจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 195 ล้านบาท) แก่ International Justice Mission (IJM) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อประโยชน์ในการต่อต้านการค้าทางเพศ (sex trafficking) ซึ่งจะช่วยให้ IJM "สร้างแบบตัวอย่างในการต่อสู้การค้าและความเป็นทาสทางเพศ" โดยปฏิบัติการที่รวมการเปิดสำนักงานในเขตที่มีอัตราการค้าทางเพศสูงตามข้อมูลงานวิจัย โดยสำนักงานจะเปิดเป็นเวลา 3 ปี และมีจุดประสงค์เพื่อ "ทำการสืบสวนแบบลับ ฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยเหลือเหยื่อให้พ้นภัย ช่วยเหลือเหยื่อหลังจากรอดภัย และเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ทำผิด"[43]
IJM ได้ใช้เงินช่วยเหลือก่อตั้งโปรเจ็กต์โคมไฟ (Project Lantern) และตั้งสำนักงานขึ้นที่เมืองเซบู (Cebu) ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2553 IJM ตีพิมพ์ผลงานของโปรเจ็กต์โดยอ้างว่า โปรเจ็กต์ได้ "เพิ่มการตรวจจับคดีการค้าทางเพศ เพิ่มความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้การฝึกผ่านโปรเจ็กต์ในการไขและปิดคดี และเพิ่มบริการ เช่น ที่หลบภัย การให้คำปรึกษา และการฝึกอาชีพ ให้กับผู้รอดชีวิตจากการค้าทางเพศ" ในช่วงที่ตีพิมพ์รายงาน IJM กำลังตรวจสอบโอกาสที่จะลอกแบบปฏิบัติงานเพื่อทำในเขตอื่น ๆ[44]
บริการทางการเงินสำหรับคนจน
แก้- Alliance for Financial Inclusion (AFI) - บริจาค 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,231 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้สร้างบัญชีออมทรัพย์ การประกัน และบริการทางการเงินอื่น ๆ เพื่อคนที่ที่เลี้ยงชีพมีรายได้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ประมาณ 70 บาทต่อวัน)[45]
- Financial Access Initiative (FAI) - บริจาค 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 176 ล้านบาท) เพื่อทำงานวิจัยในสนามและหาคำตอบต่อคำถามสำคัญเกี่ยวกับ การเข้าถึง microfinance (บริการการเงินสำหรับธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถใช้บริการของธนาคารโดยปกติ) และบริการการเงินอื่น ๆ ในประเทศยากจนทั่วโลก[46]
- Pro Mujer - บริจาคเงินช่วยเหลือมูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 109 ล้านบาท) กระจายจ่ายเป็นเวลา 5 ปี ให้กับ Pro Mujer ซึ่งเป็นเครือข่าย microfinance ในลาตินอเมริกาที่รวมการบริการทางการเงินและการดูแลสุขภาพให้กับแม่ค้าที่ยากจน เพื่อค้นหาช่องทางใหม่ ๆ สำหรับกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในตลาด microfinance ในลาตินอเมริกา[47]
- Grameen Foundation - บริจาคเงินจำนวน 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 52.75 ล้านบาท) ให้กับมูลนิธิ Grameen Foundation (ซึ่งเป็นธนาคาร microfinance ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ) เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้าสู่เป้าหมายในการให้เงินกู้ขนาดย่อย (microloan) ต่อครอบครัวอีก 5 ล้านครอบครัว แล้วช่วยครอบครัวเหล่านั้นครึ่งหนึ่งให้พ้นจากความยากจนภายใน 5 ปี[48]
การพัฒนาทางเกษตร
แก้- International Rice Research Institute - ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 และตุลาคม 2553 มูลนิธิได้บริจาคเงิน 19.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 662 ล้านบาท) เพื่อเพิ่มการผลิตข้าว โดยมูลนิธิอ้างว่า "เพื่อที่จะให้ทันความต้องการทางตลาดทั่วโลก การผลิตข้าวต้องเพิ่มขึ้นประมาณ 70% ภายใน 2 ทศวรรษ"[49]
- Alliance for a Green Revolution in Africa - มูลนิธิได้ร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์การเกษตรและผลิตภาพของไร่นาขนาดเล็กในแอฟริกา และต่อยอดปฏิวัติสีเขียว (Green Revolution) ที่มูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ได้ช่วยกระตุ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 จนถึง 1960 โดยมูลนิธิได้บริจาคเงินเบื้องต้นจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,372 ล้านบาท) และมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ได้บริจาค 50 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,686 ล้านบาท) แต่ว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกล่าวหาว่า มูลนิธิชอบใจที่จะให้เงินช่วยเหลือที่ให้ผลประโยชน์กับบริษัทเกษตรข้ามชาติขนาดยักษ์ เช่น มอนซานโต้[50] โดยไม่พิจารณาเห็นความจำเป็นอื่น ๆ ในแอฟริกา[51]
น้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัย
แก้ก่อนปี 2554 มูลนิธิได้สนับสนุนโปรแกรมเกี่ยวกับน้ำ ระบบสุขาภิบาล (sanitation) และอนามัย (hygiene) ในประเทศกำลังพัฒนา แต่ว่าเมื่อกลางปี 2554 มูลนิธิได้เปลี่ยนไปเพ่งความสนใจที่ "ระบบสุขาภิบาล" (โดยสนใจเรื่องน้ำ และอนามัย ลดลง) โดยเฉพาะในเขตแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ เพราะว่า ระบบสุขาภิบาลที่พอใช้ได้ (improved sanitation) มีน้อยที่สุดในเขตเหล่านั้น[52] และจุดเพ่งความสนใจตั้งแต่นั้นมาก็คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบสุขาภิบาล การสร้างต้นแบบที่ใช้ได้มีขนาดจริง และนโยบายและการสนับสนุนนโยบาย[52] ในช่วงกลางปี 2554 มูลนิธิได้แสดงว่า ได้สัญญาเพื่อให้ทุนเป็นจำนวน 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,078 ล้านบาท) สำหรับประเด็นในเรื่องน้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัยภายใน 5 ปีที่ผ่านมา คือเริ่มตั้งแต่ 2549[52] และในช่วงระยะปี 2551 จนถึง 2558 เงินช่วยเหลือที่ให้ในเรื่องน้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัยรวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 21,069 ล้านบาท) ตามข้อมูลจากฐานข้อมูลการบริจาคของมูลนิธิที่เข้าถึงได้อย่างเสรี[29]
ระบบสุขาภิบาลในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นเรื่องจำเป็น แต่ว่าไม่ค่อยมีการให้ความสำคัญตามคำของ UNICEF และ WHO[53] คือ มีคนหนึ่งพันล้านคนในโลกที่ไม่มีส้วมใช้โดยประการทั้งปวง และยังถ่ายหนักลงในร่องน้ำ หลังพุ่มไม้ หรือในแหล่งน้ำ ที่ทั้งไม่งดงามทั้งไม่เป็นส่วนตัว และเสี่ยงต่อสาธารณสุข[54]: 6 ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีคนถ่ายในที่แจ้งมากที่สุดในโลก คือประมาณ 600 ล้านคน[54]: 19 และก็เป็นประเทศที่มูลนิธิได้หันมาสนใจมากที่สุดในเรื่องสุขาภิบาลซึ่งเห็นได้ชัดตั้งแต่งาน "Reinvent the Toilet Fair" ในเดือนมีนาคม 2557 ณ กรุงเดลี[55]
นวัตกรรมสุขาภิบาล
แก้ในปี 2554 มูลนิธิเริ่มโปรแกรมที่เรียกว่า "Reinvent the Toilet Challenge" (ทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่) เพื่อโปรโหมตการพัฒนานวัตกรรมส้วมเพื่อประโยชน์ต่อคน 2,500 ล้านคนที่ไม่มีสุขาภิบาลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล[56][57] ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนให้ความสนใจอย่างสำคัญ[58][59] โดยมีโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า "Grand Challenges Explorations" ที่ให้เงินสนับสนุนในปี 2554–2558 เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,119,000 บาท) แต่ละรายในการแข่งขันรอบแรก[57] แต่การให้เงินทุนในโปรแกรมทั้งสองยกเว้นโปรเจ็กต์ที่พึ่งระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลส่วนกลาง ที่ใช้ไม่ได้ในประเทศกำลังพัฒนา[60]
ตั้งแต่เริ่มตั้งทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่ มีทีมนักวิจัยมากกว่า 12 คน โดยมากที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ยุโรป อินเดีย และแอฟริกาใต้ ที่ได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อพัฒนาการบำบัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นนวัตกรรมเพื่อให้คนยากจนในเมืองได้ใช้ เงินที่ช่วยเหลือจะให้ประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐในระยะการดำเนินงานเบื้องต้น และตามด้วย 1–3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะที่สอง และทีมต่าง ๆ ตรวจสอบการแยกทรัพยากรที่เวียนใช้ได้จากของขับถ่าย หรือเทคโนโลยีการแปลงของเสีย (excreta) หรือเทคโนโลยีการแปลงกากอุจจาระ (จากถังอุจจาระ)[61] โปรแกรมนี้พุ่งความสนใจไปที่การประดิษฐ์ส้วมชักโครกใหม่ เป้าหมายก็คือการสร้างส้วมที่ไม่เพียงแต่กำจัดเชื้อโรคจากของเสียมนุษย์เท่านั้น แต่สามารถแยกเอาพลังงาน หรือน้ำสะอาด และสารอาหารได้ด้วย ซึ่งต้องสามารถใช้ได้โดยไม่เชื่อมกับระบบต่าง ๆ จากเทศบาลเช่นการประปา ระบบระบายสิ่งปฏิกูล หรือกับการไฟฟ้า และต้องมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 0.05 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (น้อยกว่าประมาณ 2 บาท)[60] ส่วนส้วมไฮเทคเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับของเสียมนุษย์ก็กำลังได้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แต่ว่าการเพ่งความสนใจไปที่การแก้ปัญหาโดยเทคโนโลยีมีคนไม่เห็นด้วยมาก[58] แต่ว่า ส้วมแบบโลว์เทคอาจเป็นอะไรที่ใช้ได้ดีในประเทศที่ยากจน และงานวิจัยที่มูลนิธิให้ทุนก็กำลังดำเนินการทำส้วมเช่นนี้[62] ทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่เป็นการวิจัยและพัฒนาการระยะยาวเพื่อจะสร้างส้วมที่ถูกอนามัย และแยกอยู่ได้ต่างหาก ซึ่งเสริมด้วยอีกโปรแกรมหนึ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดอุจจาระจากส้วมหลุม (ที่มูลนิธิเรียกว่า “Omni-Ingestor”)[63]) และกระบวนการแปลงกากตะกอนอุจจาระ (ที่มูลนิธิเรียกว่า Omni-Processor) ซึ่งมีเป้าหมายในการแปลงของเสียมนุษย์ (เช่นกากตะกอนอุจจาระ) ให้กลายเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น พลังงานหรือสารอาหารในดิน โดยมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจและรายได้สำหรับคนในพื้นที่[64]
ตัวอย่าง
แก้- มีโปรเจ็กต์สุขาภิบาลประมาณ 200 โปรเจ็กต์ในประเทศต่าง ๆ ที่มีขนาดต่าง ๆ กัน บางโปรเจ็กต์เพ่งความสนใจไปที่เทคโนโลยี บางโปรเจ็กต์เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาการตลาด หรือนโยบายและการสนับสนุนนโยบายที่ได้รับทุนจากมูลนิธิตั้งแต่ปี 2551[65]
- มหาวิทยาลัย KwaZulu-Natal ในเมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เงินบริจาค 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 52 ล้านบาท) ในปี 2557 เพื่อเป็นศูนย์กลางของนักวิจัยเกี่ยวกับสุขาภิบาลและผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์[36][66]
- ตัวอย่างหนึ่งของ ระบบ Omni-Processor ก็คือการแปลงกากตะกอนอุจจาระที่ใช้ระบบการเผาไหม้เพื่อแปลงเป็นพลังงานและน้ำดื่ม การพัฒนาต้นแบบโดยบริษัทสหรัฐ Janicki Bioenergy ได้ดึงความสนใจจากสื่อให้สนใจในเรื่องวิกฤติการณ์ทางสุขาภิบาลและงานของมูลนิธิ หลังจากที่บิล เกตส์ได้ดื่มน้ำที่แปลงโดยระบบ[67]
- ตัวอย่างของทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ได้รับทุน 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 58.08 ล้านบาท) เพื่อสร้างต้นแบบส้วมที่ใช้ความร้อนพระอาทิตย์ในการแปลงอุจจาระให้เป็นถ่านชีวภาพ (biochar) ที่ใช้ปรับปรุงดินได้[68][69] และมูลนิธิได้ให้เงินสนับสนุนแก่องค์กรไม่หวังผลกำไร RTI International ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อพัฒนาส้วมที่ใช้วิธีการฆ่าเชื้อโดยเคมีไฟฟ้า และการเผาของเสียแบบแข็ง[70][71]
งานริเริ่มพิเศษอื่น ๆ
แก้โครงการริเริ่มพิเศษของมูลนิธิรวมทั้งทุนตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ และทุนเรียนรู้ที่ใช้ทดลองในการบริจาคในเรื่องใหม่ ๆ ตัวอย่างรวมทั้ง
- สำหรับแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 - มูลนิธิได้บริจาคทรัพย์รวมเป็น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 120.96 ล้านบาท) ไปยังองค์กรการกุศลต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ รวมทั้ง CARE international,[72] International Rescue Committee,[73] Mercy Corps,[74] Save the Children,[75] และองค์กรศุภนิมิตสากล (World Vision International)[76]
- สำหรับแผ่นดินไหวในกัศมีร์ปี พ.ศ. 2548 มูลนิธิได้บริจาคเงิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,153,048 ล้านบาท)[77]
- ในปี 2557 มูลนิธิได้บริจาคเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,627 ล้านบาท) ให้กับหน่วยต่าง ๆ ของสหประชาชาติ และองค์กรอื่น ๆ ที่ทำงานสู้กับโรคไวรัสอีโบลาที่ถึงตายได้ในแอฟริกาตะวันตก[78]
แผนกสุขภาพโลก
แก้สำหรับโปรแกรมต้านโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย คือ The Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria มูลนิธิได้บริจาคเงินเกินกว่า 6,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 232,340 ล้านบาท) รวมทั้งกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 45,762 ล้านบาท) โดยปี 2555 สำหรับโรคมาลาเรียเพียงโรคเดียว เป็นการเพิ่มทุนงานวิจัยโรคมาลาเรียอย่างมหาศาล[79][80] ก่อนที่มูลนิธิจะเริ่มงานเกี่ยวกับโรค บริษัทผลิตยาโดยมากได้เลิกล้มความพยายามจะผลิตยาเพื่อโรคไปแล้ว และมูลนิธิเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดเพื่องานวิจัยเกี่ยวกับโรคของคนจน[80] โดยอาศัยโปรแกรมฉีดวัคซีนที่การบริจาคของมูลนิธิมีส่วนช่วย อัตราการตายจากโรคหัดในแอฟริกาได้ลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2543[81] มูลนิธิได้บริจาคเงินเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย แล้วช่วยป้องกันเด็กเป็นล้าน ๆ จากความตายเนื่องจากโรคที่ป้องกันได้[81]
แต่ว่า การสืบสวนปี 2550 ของหนังสือพิมพ์ The Los Angeles Times พบว่า[81] มีผลที่ไม่ได้ตั้งใจจากการบริจาคของมูลนิธิ คือ
- เขตแอฟริกาใต้สะฮารามีปัญหาการขาดแคลนแพทย์โดยทั่วไปอยู่แล้วก่อนที่มูลนิธิจะเริ่มปฏิบัติการในแอฟริกา แต่ว่า "โดยการบริจาคเพื่อต่อสู้โรคนักฆ่าที่รู้จักกันดีเช่นเอดส์ องค์กรที่ได้รับบริจาคจากมูลนิธิ ได้เพิ่มความต้องการต่อแพทย์ผู้รักษาที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษที่มีรายได้สูงกว่า เป็นการดึงบุคลากรไปจากการดูแลรักษาพื้นฐานซึ่งเพิ่มปัญหาการขาดแคลนแพทย์ และดึงบุคลากรอื่น ๆ ไปจากการดูแลรักษาเด็กและคนป่วยโรคที่ถึงตายและสามัญอื่น ๆ"
- "โปรแกรมฉีดวัคซีนที่ได้ทุนจากเกตส์ได้สั่งแพทย์พยาบาลให้ไม่สนใจ แม้แต่ห้ามคนไข้ไม่ให้กล่าวถึง โรคอื่น ๆ ที่การฉีดวัคซีนไม่ได้ช่วย"[81]
มูลนิธิได้โต้ว่า
- รัฐบาลแอฟริกาควรจะใช้งบประมาณในเรื่องสาธารณสุขมากกว่าสงคราม
- มูลนิธิได้บริจาคเงินอย่างน้อย 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,464 ล้านบาท) เพื่อช่วยปรับปรุงระบบอาหารและเกษตรกรรมในแอฟริกา นอกเหนือไปจากโครงการริเริ่มเกี่ยวกับโรค
- มูลนิธิกำลังศึกษาวิธีที่จะปรับปรุงการให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพในแอฟริกา[81]
ผู้ไม่เห็นด้วยทั้งภายในภายนอกมูลนิธิอ้างว่า มีการโอนอ่อนตามความคิดเห็นส่วนตัวของบิล เกตส์มากเกินไป คือไม่มีการอภิปรายสืบสวนภายในมูลนิธิมากพอ และมีปัญหาเกี่ยวกับ "group think" ซึ่งความต้องการความกลมเกลียวกันในกลุ่มมีผลเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดีอย่างแพร่หลาย[80][82] นอกจากนั้นแล้ว คนไม่เห็นด้วยยังบ่นว่า การบริจาคของมูลนิธิมักจะเป็นเพราะความสัมพันธ์ทางสังคมและอุดมคติที่คล้าย ๆ กัน มากกว่ากระบวนการทบทวนโดยบุคคลภายนอกที่ทำอย่างเป็นทางการ หรือว่ามากกว่าความเชี่ยวชาญในประเด็นนั้น ๆ[82] และว่า วิธีการของเกตส์เกี่ยวกับสุขภาพและเกษตรกรรมโลก สนับสนุนผลประโยชน์ของบริษัทผลิตยาหรือบริษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่ (ที่เกตส์เป็นเจ้าของหุ้น) มากกว่าประโยชน์ของคนในประเทศกำลังพัฒนา[83][84][85][86] การบริจาคเป็นจำนวนสำคัญอื่น ๆ ของแผนกนี้ รวมทั้ง
- การกำจัดโรคโปลิโอ - ในปี 2549 มูลนิธิบริจาคทุน 86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,266 ล้านบาท) เพื่อพยายามกำจัดโรคโปลีโอ[87]
- กาวี (GAVI Alliance) - มูลนิธิบริจาคเงิน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 24,439 ล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือเรื่องการฉีดวัคซีนให้เด็กยากจน[88][89] โดยเดือนมกราคม 2556 มูลนิธิได้บริจาคเงินให้องค์กรนี้ประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44,797 ล้านบาท)[90]
- โปรแกรม Children's Vaccine Program - ได้เงินบริจาค 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,075 ล้านบาท) จากมูลนิธิ เพื่อช่วยการฉีดวัคซีนกันโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546[91]
- มหาวิทยาลัยวอชิงตันคณะสุขภาพโลก มูลนิธิได้บริจาคเงินประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,056 ล้านบาท) เพื่อตั้งคณะสุขภาพโลกที่มหาวิทยาลัยในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ซึ่งเป็นการบริจาคที่สนับสนุนเป้าหมาย 3 อย่างของมูลนิธิคือ การศึกษา สุขภาพของคนในเขต Pacific Northwest (ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านเหนือของสหรัฐ) และสุขภาพโลก[92]
- งานวิจัยเรื่องเอชไอวี - มูลนิธิได้บริจาคเงินรวมกัน 287 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,101 ล้านบาท) ให้กับนักวิจัยในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ โดยแบ่งให้กับทีมวิจัย 16 ทีมทั่วโลก โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องแชร์สิ่งที่ค้นพบระหว่างทีม[93]
- Aeras Global TB Vaccine Foundation - มูลนิธิได้ให้เงินกว่า 280 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9,855 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาวัคซีนที่ดีขึ้นเพื่อป้องกันวัณโรคเพื่อให้ใช้ในประเทศที่มีอัตราโรคสูง[94][95]
- การตรวจสอบวัณโรคแบบไฮเทคที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง - ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มูลนิธิร่วมกับโครงการแผนฉุกเฉินเพื่อบรรเทาโรคเอดส์ของประธานาธิบดีสหรัฐ (United States President's Emergency Plan for AIDS Relief), สำนักงานพัฒนาการระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development), และ UNITAID (ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือการซื้อยาของสหประชาชาติ) ประกาศว่า ได้ต่อรองเพื่อลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบวัณโรคแบบไฮเทค (Cepheid's Xpert MTB/RIF ที่ใช้กับระบบ GeneXpert) จาก 16.86 ดอลลาร์สหรัฐ ให้เหลือเพียง 9.98 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 351 บาท)[96] นี่เป็นวิธีการตรวจโรคที่สามารถใช้แทนการส่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เริ่มทำในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 (เกินกว่า 100 ปีก่อน) เพราะว่าการส่องกล้องบ่อยครั้งไม่แสดงการติดโรคในคนไข้ที่มีเชื้อเอชไอวีร่วม เทียบกับระบบ GeneXpert ที่สามารถแสดงการติดวัณโรคแม้ในคนไข้เอชไอวี นอกจากนั้นแล้ว ระบบยังสามารถแสดงว่าสายพันธุ์ของเชื้อ ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ rifampicin หรือไม่ ซึ่งเป็นตัวชี้บอกที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า แสดงการดื้อยาหลายขนานของสายพันธุ์[97][98]
- งานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน (Visceral leishmaniasis ตัวย่อ VL) - มูลนิธิได้ให้เงินทุนกับศูนย์การศึกษาโรคติดต่อเขตร้อนของมหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 171.61 ล้านบาท) ในปี 2552 สำหรับโรคติดเชื้อลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน ซึ่งเป็นโรคปรสิต (จากโพรโทซัว) ที่กำลังแพร่หลายเพิ่มขึ้นในประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งมักจะเกิดสัมพันธ์กับโรคเอดส์ อันเป็นโรคและเหตุการตายที่สำคัญของผู้ใหญ่ โปรเจ็กต์นี้ที่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอาดดิสอาบาบาในเอธิโอเปีย รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนในวงจรการแพร่เชื้อ แล้วหาวิธีควบคุมโรค[99] ในปี 2548 มูลนิธิได้ให้ทุน 30 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,204 ล้านบาท) ต่อ The Institute for OneWorld Health ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนายาโดยไม่หวังผลกำไร เพื่อสนับสนุนงานขององค์กรเกี่ยวกับโรค VL ในชนบทของประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และเนปาล[100] โดยเดือนกันยายน 2549 องค์กรได้รับอนุมัติจากองค์การยาของอินเดีย (Drug-Controller General of India) เพื่อยาฉีดมีชื่อว่า Paromomycin Intramuscular Injection ที่สามารถรักษาโรคได้ภายใน 21 วัน[101] ในปี 2553 ผู้อำนวยการประจำเขตขององค์กรอธิบายว่า มูลนิธิเป็นผู้ให้ทุนโดยมากสำหรับการพัฒนายานี้[102]
- ถุงยางอนามัยรุ่นต่อไป (Next-Generation Condom) มูลนิธิได้ให้เงินทุน 100,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 31,64,921 บาท) แก่ผู้ที่สมัคร 11 รายในเดือนพฤศจิกายน 2556 เพื่อพัฒนาถุงยางอนามัยที่ดีขึ้น คือถุงยางที่ "รักษาหรือเพิ่มความสุขอย่างสำคัญ เพื่อเพิ่มความนิยมและการใช้อย่างเป็นประจำ"[103] และจะมีเงินทุนอีก 1 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 35.2 ล้านบาท) เพื่อให้กับโปรเจ็กต์ที่ประสบผลสำเร็จ[104]
- โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Neglected tropical diseases ตัวย่อ NTD) - พร้อมกับ WHO รัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และธนาคารโลก มูลนิธิได้รับรองปฏิญญาลอนดอนว่าด้วยโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (London Declaration on Neglected Tropical Diseases) ที่จะ "ทำลาย กำจัด และควบคุมอย่างเข้มงวดขึ้นซึ่งโรคจำเพาะ 17 อย่างโดยปี 2558 และ 2563" ที่งานประชุมวันที่ 30 มกราคม 2555 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[105] บิลเองเป็นคนวิ่งเต้นจัดงานประชุมโดยนำหัวหน้าบริษัทขายยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก 13 บริษัทมาประชุมกัน และมูลนิธิก็ได้กำหนดงบประมาณ 363 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 11,318 ล้านบาท) โดยจ่ายเป็นเวลา 5 ปี สำหรับปฏิญญา[106] ในวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่เป็นวันครบรอบ 2 ปีของปฏิญญา บิลได้ไปงานประชุมที่นครปารีส ซึ่งผู้ร่วมงานได้ทบทวนความก้าวหน้าต่อโรคเขตร้อนที่ละเลย 10 อย่าง แล้วมูลนิธิก็สัญญางบประมาณอีก 50 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,624 ล้านบาท) พร้อมกับเงินบริจาคอีก 50 ล้านจากมูลนิธิทุนการลงทุนกับเด็ก และอีก 120 ล้านจากธนาคารโลก[107]
แผนกสหรัฐอเมริกา
แก้มูลนิธิได้ให้เงินบริจาคในหัวข้อดังต่อไปนี้
การยุติการบริจาคเพื่อทำแท้ง
แก้เมลินดา เกตส์ได้กล่าวว่า มูลนิธิ "ได้ตัดสินใจที่จะไม่ให้ทุนในการทำแท้ง"[108] เมื่อถามถึงการตัดสินใจในเรื่องนี้ เมลินดาได้กล่าวในบล็อกเดือนมิถุนายน 2557 ว่า เธอ "ได้ขบคิดหาทางในประเด็นนี้" และว่า "การคุยกันเรื่องการทำแท้งที่มักจะเร้าอารมณ์และเต็มไปด้วยความรู้สึกส่วนตัว ได้เริ่มขัดขวางมติที่มีร่วมกัน (ของผู้ทำงาน) เกี่ยวกับการช่วยชีวิตโดยการวางแผนครอบครัว" [108] คือจนกระทั่งถึงปี 2557 มูลนิธิได้ให้เงินบริจาคแก่ Planned Parenthood ซึ่งเป็นองค์กรทำแท้งหลักของสหรัฐอเมริกา และแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ[109]
ห้องสมุด
แก้ในปี 2540 มูลนิธิได้เริ่มโครงการริเริ่มสำหรับห้องสมุดในสหรัฐอเมริกาที่มีเป้าหมายว่า "ถ้าคุณสามารถไปห้องสมุดได้ คุณก็จะสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้" ตามสถิติแล้ว คนแค่ 35 เปอร์เซ็นต์ในโลกสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้[110] มูลนิธิได้ให้เงินช่วยเหลือ ติดตั้งคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และให้การฝึกและการสนับสนุนทางเทคนิค โดยร่วมมือกับห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศ เพื่อที่จะเพิ่มการเข้าถึงและความรู้[110] ต่อมา มูลนิธิได้บริจาค 12.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 397 ล้านบาท) แก่ Southeastern Library Network เพื่อช่วยเหลือห้องสมุดในรัฐลุยเซียนาและมิสซิสซิปปี เป็นรัฐติดชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเกิดความเสียหายจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาและพายุเฮอร์ริเคนริต้า
การศึกษา
แก้การดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของมูลนิธิในสหรัฐที่สำคัญด้านหนึ่งก็คือ การยกเครื่องนโยบายการศึกษาของประเทศในสถาบันการศึกษาระดับประถม มัธยมและมหาวิทยาลัย รวมทั้งการสนับสนุนการประเมินครู การสนับสนุนโรงเรียน charter (ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐแต่ไม่ได้ดำเนินการโดยรัฐ) และการต่อต้านการเลิกจ้างครูตามความอาวุโสและนโยบายอื่น ๆ ในระบบการศึกษาที่สหภาพครูมักจะสนับสนุน[111] มูลนิธิได้ให้เงินบริจาค 373 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 12,805 ล้านบาท) เกี่ยวกับการศึกษาในปี 2552[111] และยังให้เงินบริจาคกับสหภาพครูที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งในประเทศ[111] มูลนิธิเป็นผู้สนับสนุนเบื้องต้นที่ใหญ่ที่สุดในโครงการ Common Core State Standards Initiative คือการมีมาตรฐานเดียวกันในรัฐต่าง ๆ ว่า นักเรียนที่จบการศึกษาแต่ละชั้นเรียนควรจะรู้อะไร[111]
เป้าหมายของมูลนิธิอย่างหนึ่งก็คือการลดความยากจนโดยเพิ่มจำนวนผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐ และมูลนิธิได้ให้ทุนในโครงการ "จินตนาการใหม่ในการออกแบบและให้ความช่วยเหลือ (Reimagining Aid Design and Delivery)" แก่องค์กรผู้เชี่ยวชาญ (think tank) และองค์กรสนับสนุนนโยบาย เพื่อที่จะสร้างไอเดียเพื่อเปลี่ยนระบบการช่วยเหลือการศึกษาของรัฐบาลกลางแก่นักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราผู้จบการศึกษา[112][113] วิธีการหนึ่งที่มูลนิธิได้พยายามเพิ่มจำนวนผู้จบการศึกษาก็คือให้สามารถเรียนผ่านมหาวิทยาลัยได้เร็วขึ้น แต่ว่า ไอเดียนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรมหาวิทยาลัยต่าง ๆ[114] โดยเป็นส่วนของการสนับสนุนการศึกษา มูลนิธิได้ให้ทุนกับนักข่าว องค์กรผู้เชี่ยวชาญ องค์กรวิ่งเต้นกับรัฐบาล และรัฐบาลต่าง ๆ โดยที่เงินเป็นล้าน ๆ ดอลลาร์ที่ให้แก่สำนักงานข่าว ได้สนับสนุนการออกข่าวการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเงินทุน 1.4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 44 ล้านบาท) ที่ให้แก่สมาคมนักเขียนเกี่ยวกับการศึกษา (Education Writers Association) เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมให้แก่นักข่าวการศึกษา[115]
แม้ว่าผู้ไม่เห็นด้วยจะวิตกกังวลการที่มูลนิธิได้ชี้แนวทางการพูดคุยเรื่องปัญหาการศึกษา หรือการแสดงความคิดเห็นของมูลนิธิผ่านสื่อมวลชน มูลนิธิได้กล่าวว่า องค์กรได้แสดงรายชื่อของผู้ที่ได้รับบริจาคทั้งหมด และไม่ได้มีการบังคับสิ่งที่รายงาน โดยผู้รับบริจาคมีอิสรภาพในการเขียนและในด้านบรรณาธิการ[111][115][116] ส่วนนักปฏิบัติการของสหภาพครูในนครชิคาโกได้กล่าวหาองค์กรที่ได้รับเงินบริจาคจากมูลนิธิ ที่เป็นองค์กรจัดตั้งขึ้นโดยครูใหม่ ๆ และโดยผู้ขัดแย้งนโยบายการเลิกจ้างครูตามอาวุโส ว่าออกบทความปิดบังทุนที่ได้ทำให้เหมือนว่าเป็นบทความแสดงความเห็นในระดับรากหญ้า[111] และก็มีผู้มีอาชีพในด้านการศึกษา ผู้ปกครอง และนักวิจัยบางพวกที่ไม่เห็นด้วยกับโปรแกรมปรับปรุงสถาบันการศึกษาของมูลนิธิ เพราะมีการชี้ทางกระบวนการพูดคุยในประเด็นปัญหา ในระดับที่อาจจะลดความสำคัญของนักวิจัยที่ไม่สนับสนุนแนวคิดเดียวกับมูลนิธิ[112]
นโยบายต่าง ๆ ที่มูลนิธิได้สนับสนุนรวมทั้งโรงเรียนที่เล็ก, charter school, และ การเพิ่มจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงและทำให้เกิดความแตกแยก แต่งานศึกษาบางงานกลับแสดงว่า เป็นนโยบายที่ไม่ช่วยปรับปรุงผลการศึกษาและอาจมีผลลบ[117][118] ส่วนงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายงานที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันพบว่า charter school ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียนเทียบกับโรงเรียนปกติ[119][120]
ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่สนับสนุนโดยมูลนิธิ รวมทั้งการปิดโรงเรียนในพื้นที่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ สนับสนุน charter school ที่ดำเนินการโดยเอกชน แล้วใช้คะแนนที่ได้จากการทดสอบมาตรฐานเพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน ครู และโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนให้ครูขึ้นอยู่กับคะแนนสอบที่นักเรียนของตนได้ ผู้ไม่เห็นด้วยยังเชื่ออีกด้วยว่า มูลนิธิมีอิทธิพลต่อนโยบายการศึกษาของรัฐมากเกินไปโดยที่ไม่ต้องตอบสนองและรับผิดชอบต่อประชาชน[117][121][122] และกล่าวว่า มูลนิธิไม่มองความสัมพันธ์ระหว่างความยากจนกับความสำเร็จทางการศึกษาที่ต่ำ และดูถูกครูเนื่องจากความสำเร็จต่ำของนักเรียนยากจนอย่างไม่ยุติธรรม และกล่าวว่า มูลนิธิควรจะดำเนินการในเรื่องปัญหาความยากจนและรายได้ขั้นต่ำพอที่จะประทังชีวิตได้ แทนการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบและไม่มีหลักฐานทางประสบการณ์ที่สนับสนุน[123] ผู้ไม่เห็นด้วยกล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงที่สนับสนุนโดยมูลนิธิเช่นการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา อาจจะให้ผลประโยชน์ทางการเงินแก่บริษัทไมโครซอฟท์และแก่ครอบครัวของเกตส์[112][124][125][126][127]
งานริเริ่มทางการศึกษาของมูลนิธิรวมทั้ง
- การสนับสนุนโรงเรียนที่เล็กลง - มูลนิธิอ้างว่า นักเรียน 1 ใน 5 ไม่สามารถอ่านและเข้าใจเนื้อความ และนักเรียนแอฟริกันอเมริกันและเชื้อสายลาตินอเมริกาจบจากไฮสกูลโดยมีทักษะเทียบเท่ากับที่นักเรียนมัธยมต้นจะพึงมี[128] มูลนิธิได้ให้ทุนเกินกว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 10,972 ล้านบาท) เพื่อสร้างโรงเรียนขนาดเล็ก ลดอัตรานักเรียนต่อครู และแบ่งไฮสกูลใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วน ๆ เป็นแบบโรงเรียนภายในโรงเรียน[128]
- มหาวิทยาลัยคอร์เนล คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Faculty of Computing and Information Science) ได้รับเงินบริจาค 25 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 880 ล้านบาท) จากมูลนิธิเพื่อสร้างอาคารใหม่ ซึ่งจะได้ชื่อว่า อาคารบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill and Melinda Gates Hall) โดยค่าก่อสร้างคาดว่าน่าจะถึง 60 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2555 และเปิดใช้อาคารเมื่อเดือนมกราคม 2557[129]
- มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน - มูลนิธิบริจาค 20 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 755 ล้านบาท) ให้แก่คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างอาคารใหม่มีชื่อว่า ศูนย์วิทยาการคอมพิวเตอร์เกตส์ (Gates Center for Computer Science)[130] ซึ่งเปิดใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552[131]
- สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ส่วนของอาคารหนึ่ง (Ray and Maria Stata Center) รู้จักกันว่าตึกเกตส์ (Gates Tower) เพื่อให้เกียรติว่าได้รับทุนส่วนหนึ่งจากมูลนิธิ
- ทุนการศึกษา D.C. Achievers Scholarships - มูลนิธิประกาศวันที่ 22 มีนาคม 2550 ว่าจะให้ทุนการศึกษา 122 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,932 ล้านบาท) เพื่อส่งนักเรียนที่ยากจนที่สุดในเขตวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นร้อย ๆ ไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย[132]
- ทุนการศึกษา Gates Cambridge Scholarships มูลนิธิบริจาค 210 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 9,082 ล้านบาท) ในเดือนตุลาคม 2543 เพื่อช่วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสามารถนอกสหราชอาณาจักรเพื่อให้เรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทุกปี มีนักศึกษาที่ได้รับทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 100 คน[133]
- ทุนการศึกษา Gates Millennium Scholars มีมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 52,787 ล้านบาท) ให้สำหรับนักศึกษาชนกลุ่มน้อยที่เก่งทั้งในเรื่องการศึกษาและความเป็นผู้นำ และมีความจำเป็นในการได้รับความช่วยเหลือ[134]
- NewSchools Venture Fund มูลนิธิบริจาคทุน 30 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,056 ล้านบาท) เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบริหาร charter school ได้มากขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าสู่สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยและอาชีพที่มีบุคลากรน้อย
- Strong American Schools - วันที่ 25 เมษายน 2550 มูลนิธิร่วมมือกับ Eli and Edythe Broad Foundation สัญญาเงินทุน 60 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,930 ล้านบาท) ร่วมกันเพื่อจะสร้างโปรเจ็กต์ Strong American Schools เพื่อรณรงค์ให้ผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐปี 2551 รวมการศึกษาเข้าในประเด็นการหาเสียงเลือกตั้งของตน[135]
- Teaching Channel - มูลนิธิประกาศในเดือนกันยายน 2554 การบริจาค 3.5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 107 ล้านบาท) เพื่อเริ่มบริการหลายระบบที่ส่งวิดีโอฝึกอาชีพให้ครูทางอินเทอร์เน็ต ทางโทรทัศน์สื่อมวลชน ทางโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล และทางสื่อดิจิตัลอื่น ๆ[136] ปัจจุบันชุมชนมีสมาชิกประมาณ 840,000 คน เป็นครู ผู้บริหารโรงเรียน ครูฝึกกีฬา และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนอื่น ๆ[137]
- The Texas High School Project - เป็นโปรเจ็กต์มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราการเรียนจบไฮสกูลของนักเรียนในรัฐเท็กซัส โดยมูลนิธิได้กำหนดงบประมาณ 84.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,977 ล้านบาท) เริ่มตั้งแต่ปี 2546 โดยพุ่งความสนใจไปที่โรงเรียนและเขตที่มีความต้องการสูงทั่วทั้งรัฐ โดยเน้นเขตเมืองและเขตชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก[138]
- University Scholars Program - มูลนิธิได้บริจาคเงิน 20 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 827 ล้านบาท) เพื่อตั้งทุนการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเก่าของเมลินดา เกตส์ คือ มหาวิทยาลัยดุ๊ก[139] โปรแกรมนี้ให้ทุนการศึกษาเต็มสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 10 คนต่อปี และนักศึกษาคนหนึ่งในคณะแพทย์ ธุรกิจ นิติศาสตร์ เทววิทยา (divinity) สิ่งแวดล้อม พยาบาล และนโยบายรัฐบาล และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่กำลังเรียนมีจุดหมายในการจบปริญญาเอกในคณะไหนก็ได้ นักศึกษาผู้ได้ทุนชั้นบัณฑิตศึกษาจะทำงานเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งจะได้รับเลือกขึ้นอยู่กับความต้องการทางการเงิน และความสนใจทางวิชาการที่ข้ามสาขา ผู้ได้ทุนจะได้รับเลือกในฤดูใบไม้ผลิจากนักศึกษาใหม่ สำหรับโปรแกรมทั้งปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา และสาขาเกี่ยกับวิชาชีพ โปรแกรมนี้ยังจัดสัมมนาที่ประชุมผู้ได้รับทุนการศึกษาทั้งหมด เพื่อการพูดคุยทางวิชาการข้ามสาขา และจัดประชุมเอกสารัตถ์ในฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย
- Washington State Achievers Scholarship - เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนโรงเรียนในรัฐวอชิงตัน (ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ของเกตส์) ให้สร้างวัฒนธรรมเพื่อให้นักเรียนได้ความสำเร็จทางการศึกษาในระดับสูง ในขณะที่ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนบางคนที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
- William H. Gates Public Service Law Program เป็นโปรแกรมที่ให้ทุนการศึกษาเต็ม 5 ทุนต่อคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้ได้ทุนจะต้องทำงานในตำแหน่งบริการสาธารณะทางกฎหมายที่มีรายได้น้อยเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีหลังจากจบการศึกษา[140]
- มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน ได้ทุน 30 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,057 ล้านบาท) เพื่อสร้างกลุ่มอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์บิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Computer Science Complex)[141]
เขต Pacific Northwest
แก้- Discovery Institute เป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญบ่อยครั้งสัมพันธ์กับพวกเคร่งศาสนาแบบอนุรักษนิยม - มูลนิธิได้บริจาคทุน 1 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 40.2 ล้านบาท) ในปี 2543 และสัญญา 9.35 ล้าน (ประมาณ 389 ล้านบาท) จ่ายกระจายเป็น 10 ปี ในปี 2546 รวมทั้งเงินเดือนของหัวหน้า แต่ตามมูลนิธิ เงินบริจาคจำกัดเฉพาะกับโปรเจ็กต์การขนส่งเพื่อลดปัญหาการจราจรในเขต และไม่อาจใช้เพื่อกิจกรรมอื่น ๆ ของสถาบันรวมทั้งการโปรโหมตวิทยาศาสตร์เทียมเรื่อง intelligent design[142]
- ทุนการศึกษา Rainier Scholars - มูลนิธิบริจาคทุน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ - มูลนิธิบริจาค 15 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 614 ล้านบาท) ในเดือนตุลาคม 2548[143]
ช่วงทำการที่จำกัดของมูลนิธิ
แก้ในเดือนตุลาคม 2549 มูลนิธิแยกออกเป็นนิติบุคคล 2 บุคคล คือ ทรัสต์มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation Trust) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนของมูลนิธิ และตัวมูลนิธิเอง ซึ่ง "ดำเนินการและบริจาคทุนทั้งหมด"[144][145] ซึ่งเป็นเวลาที่มูลนิธิประกาศด้วยว่า จะแจกจ่ายกองทุนที่มีทั้งหมดภายใน 20 ปีหลังจากการถึงแก่กรรมของบิลและเมลินดา[145][146][147][148][149] ซึ่งก็จะเป็นการปิดนิติบุคคลทั้ง 2 โดยปริยาย โดยย้ำด้วยว่าวอร์เรน บัฟเฟตต์ "ได้ตั้งเงื่อนไขไว้ว่า รายได้จากหุ้นของ Berkshire Hathaway ที่เขายังเป็นเจ้าของต้องใช้ทำกุศลภายใน 10 ปีหลังจากที่ทรัพย์สมบัติของเขาได้แจกจ่าย (หลังจากเสียชีวิต) เรียบร้อยแล้ว"[145]
นี่เป็นแผนงานที่ต่างจากมูลนิธิขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่ไม่กำหนดที่สิ้นสุดขององค์กร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารมูลนิธิเทียบกับทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค และเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรจะไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ค่าใช้จ่ายโดยมากจะเป็นเพื่อการบริหาร รวมทั้งเงินเดือนของเจ้าพนักงาน แล้วใช้เงินเพียงแค่นิดหน่อยเพื่อการกุศล[147]
รางวัลที่ได้
แก้- ในปี 2549 ได้รางวัล Prince of Asturias Award เพราะเหตุการร่วมมือระหว่างประเทศ[150]
- ในปี 2550 ประธานาธิบดีอินเดียให้รางวัล Indira Gandhi Prize for Peace, Disarmament and Development ต่อมูลนิธิ[151]
- เพื่อเป็นเกียรติสำหรับงานการกุศลที่ทำในอินเดีย มูลนิธิได้รับรางวัล Padma Bhushan เป็นอันดับสามสูงสุดที่ให้แก่พลเรือน ในปี 2558[152]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Who We Are - History". Bill & Melinda Gates Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18.
- ↑ "Bill & Melinda Gates Foundation". Foundation Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-09. สืบค้นเมื่อ 2009-06-20.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Bill & Melinda Gates Foundation. "Fact Sheet". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-27.
- ↑ Bates, Suzanne (2012). Discover Your CEO Brand. United States: McGrawHill. p. iv. ISBN 9780071762908. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ให้สังเกตว่า บทความใช้อัตราค่าเงินแลกเปลี่ยนที่วันที่ที่กำหนดถ้ามี ไม่เช่นนั้นแล้วใช้ค่าปัจจุบัน เป็นดังนี้ทั้งบทความ
- ↑ "The birth of philanthrocapitalism". The Economist. 2006-02-23.
- ↑ "About the Foundation - Guiding Principles". Gates Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21.
Guiding Principle #2: Philanthropy plays an important but limited role.
- ↑ "The 20 most generous people in the world". Business Insider. 2015-10-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12.
- ↑ "Bill Gates Retakes World's Richest Title From Carlos Slim". Blooomberg. Blooomberg L.P. 2013-05-16.
- ↑ "Gates' historical legacy may focus more on philanthropy than on Microsoft". Computerworld. 2008-06-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23.
- ↑ "Microsoft Announces Plans for July 2008 Transition for Bill Gates". Microsoft PressPass. 2006-06-15.
- ↑ "TIME names Bono, Bill and Melinda Gates Persons of Year". CNN. 2006-12-15.
- ↑ "Health Professionals for the 21st Century". China Medical Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-20.
The Commission was sponsored by the Bill & Melinda Gates Foundation, the Rockefeller Foundation and the China Medical Board.
- ↑ Guo, Jeff; McQueen, Rob (2010-04-23). "Gates asks students to tackle world's problems : Disease and education among biggest challenges". The Tech. Vol. 130 no. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Guo, Jeff (2010-04-23). "In interview, Gates describes philanthropic journey (video & transcript)". The Tech. Vol. 130 no. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
After he spoke at Kresge Auditorium, Bill Gates sat down with The Tech to talk more about his college tour, his philanthropy, and the philosophy behind it.
- ↑ "Improving our Work with You: A Progress Report - Bill & Melinda Gates Foundation". Gatesfoundation.org. 2012-09-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-07.
- ↑ "Gates Foundation's Spotlight page on SoundCloud - Hear the world's sounds". Soundcloud.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-18.
- ↑ 18.0 18.1 "Hillary Clinton launches global data project on women and girls". Washington Post.
- ↑ 19.0 19.1 Foundation Center. "Wyss, Clinton Foundations Partner on Full Participation by Women and Girls". Philanthropy News Digest (PND).
- ↑ Loomis, Carol J. (2008-03-05). "Warren Buffett gives away his fortune". Fortune. Time Warner via CNNMoney.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-28. สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
- ↑ "Buffett Makes $30.7 Bln Donation to Gates Foundation (Update8)". Bloomberg News. 2006-06-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-11.
- ↑ Chris Noon (2006-06-26). "Buffett Will Double Gates Foundation's Spending". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Loomis, Carol J. (2006-06-25). "How Buffett's giveaway will work". CNN. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
- ↑ Buffett, Warren (2006-06-26). "(Letter from Warren Buffett to Bill & Melinda Gates )" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2016-04-18.
- ↑ "Warren Buffett Makes Huge Charity Stock Donation To Gates Foundation, Other Charities". The Huffington Post. 2013-07-08.
- ↑ "Private Family Foundations". SaveWealth. SaveWealth. 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Susan Desmond-Hellmann". Bill and Melinda Gates Foundation. Bill and Melinda Gates Foundation. 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
- ↑ "What We Do". Bill and Melinda Gates Foundation. Bill and Melinda Gates Foundation. 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-14. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ 29.0 29.1 "How We Work - Grantmaking". Bill & Melinda Gates Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Knowledge is Power: Sharing Information Can Accelerate Global Health Impact". Impatient Optimists. Bill and Melinda Gates Foundation. 2014-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-12-30.
- ↑ "Gates Foundation announces world's strongest policy on open access research". News blog Nature.com. 2014-11-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-23.
- ↑ "Bill & Melinda Gates Foundation Open Access Policy". Bill & Melinda Gates Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-08. สืบค้นเมื่อ 2015-04-07.
- ↑ "Who We Are - Financials". Bill and Melinda Gates Foundation. Bill and Melinda Gates Foundation. 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "BILL & MELINDA GATES FOUNDATION Consolidated Financial Statements" (PDF). BILL & MELINDA GATES FOUNDATION Consolidated Financial Statements. KPMG. 2012-12-31. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "BILL & MELINDA GATES FOUNDATION TRUST FORM 13F INFORMATION TABLE". U.S. Securities and Exchange Commission.
- ↑ 36.0 36.1 "Residents blame Durban oil refineries for health problems". The Guardian. 2015-05-26.
- ↑ "Report: Gates Foundation Causing Harm With the Same Money It Uses To Do Good". Democracy Now!. 2007-01-09.
- ↑ "Dark cloud over good works of Gates Foundation". Los Angeles Times. 2007-01-07.
- ↑ "Gates Foundation to review investments". The Seattle Times. 2007-01-10.
- ↑ "Gates Foundation to keep its investment approach". Los Angeles Times. 2007-11-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ "How the Gates Foundation's Investments Are Undermining Its Own Good Works". The Nation.
- ↑ "Who We Are - Leadership CHRISTOPHER ELIAS PRESIDENT". Bill & Melinda Gates Foundation. Bill & Melinda Gates Foundation. 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Gates Foundation Awards $5 Million to Fight Sex Trafficking". Philanthropy News Digest. Foundation Center. 2006-03-21. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Project Lantern: Game-Changing Results in the Fight Against Trafficking". IJM. IJM. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Cave, Andrew. "Banking For The Poor: Will This Be Bill Gates' Greatest Philanthropic Achievement?". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
- ↑ "Financial Access Initiative | NYU Wagner". wagner.nyu.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
- ↑ "Gates Foundation Awards Pro Mujer $3.1 Million To Develop Innovative Microcredit Products" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
- ↑ "Gates Foundation Awards $1.5 Million to Grameen Foundation" (Press release). Grameen Foundation. 2006-08-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-26.
- ↑ "Growing Better Rice for a Hungry World". GOOD Worldwide Inc. 2011-05-23. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
- ↑ Raj Patel; Eric Holt-Gimenez; Annie Shattuck (2009-09-21). "Ending Africa's Hunger". The Nation. The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
- ↑ "Community Alliance for Global Justice". AGRA Watch. Community Alliance for Global Justice. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-13. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 "Water, Sanitation & Hygiene Strategy Overview". Bill & Melinda Gates Foundation. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-03.
- ↑ "Data and estimates". JMP - WHO/UNICEF Joint Monitoring Programme (JMP) for Water Supply and Sanitation. WHO/UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
- ↑ 54.0 54.1 Progress on drinking water and sanitation, 2014 Update (PDF). WHO/UNICEF Joint Monitoring Programme for Water Supply and Sanitation (JMP). 2014. ISBN 978 92 4 150724 0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ "Reinvent the Toilet Challenge, Delhi, India - Program and Technical Guides". Bill & Melinda Gates Foundation. 2014.
- ↑ "What we do - Reinvent the Toilet Challenge - Strategy Overview". Bill & Melinda Gates Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ 57.0 57.1 "Reinvent the Toilet Challenge (RTTC, Round 1 and 2), Grand Challenges Explorations (Round 6 and 7) - Request for proposals, grant conditions, Seattle exhibition fair program and exhibitor guide". Bill & Melinda Gates Foundation. 2012.
- ↑ 58.0 58.1 Kass, Jason (2013-11-18). "Bill Gates Can't Build a Toilet". New York Times Opinion Pages. New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
- ↑ Doughton, Sandy (2014-12-21). "After 10 years, few payoffs from Gates' 'Grand Challenges'". The Seattle Times, Local News. The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
- ↑ 60.0 60.1 Radke, N; Spuhler, D (2013). "Brief overview of conditions for water, sanitation and hygiene grants by the Bill & Melinda Gates Foundation" (PDF). BMGF.
- ↑ von Muench, Elisabeth; Spuhler, Dorothee; Surridge, Trevor; Ekane, Nelson; Andersson, Kim; Fidan, Emine Goekce; Rosemarin, Arno (2013). "Sustainable Sanitation Alliance members take a closer look at the Bill & Melinda Gates Foundation's sanitation grants" (PDF). Sustainable Sanitation Practice Journal (17): 4–10.
- ↑ Humphreys, Gary (2014). Reinventing the toilet for 2.5 billion in need. Bull World Health Organ 2014. pp. 470–471. doi:10.2471/BLT.14.020714.
- ↑ Frederick, R; Gurski, T (2012). "Synapse Dewatering Investigation Report - Omni-Ingestor Phase 2, Milestone 1". Consultancy report by Synapse (USA) commissioned by Bill & Melinda Gates Foundation. Synapse USA.
- ↑ Kuchenrither, RD; Stone, L; Haug, RT (2012). "Consultancy report by WERF (Water Environment Research Foundation), commissioned by Bill & Melinda Gates Foundation, Seattle, USA". Synapse USA.
- ↑ "Projects, filtered by funding source Bill & Melinda Gates Foundation". Sustainable Sanitation Alliance Website. Synapse USA. 2015-03-24. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
- ↑ "How we work, grant database (grant for UKZN)". Bill and Melinda Gates Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
- ↑ "From poop to portable, This Ingenious Machine Turns Feces Into Drinking Water". gatesnotes, The Blog of Bill Gates. 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-13.
- ↑ "World's First Solar Powered Toilet to be unveiled in India this month". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 2014-03-14.
- ↑ "How we work, grant database (grant for Uni Colorado Boulder)". Bill and Melinda Gates Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
- ↑ "Our Technology". A Better Toilet For A Cleaner World. RTI International. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
- ↑ "How we work, grant database (grants for RTI)". Bill and Melinda Gates Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
- ↑ "CARE". Bill & Melinda Gates Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 11, 2017.
- ↑ "International Rescue Committee". Bill & Melinda Gates Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 11, 2017.
- ↑ "Mercy Corps". Bill & Melinda Gates Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 11, 2017.
- ↑ "Save the Children Federation". Bill & Melinda Gates Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 11, 2017.
- ↑ "World Vision". Bill & Melinda Gates Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 11, 2017.
- ↑ "Pakistan Earthquake Homeless Number May Surpass Tsunami". Mercy Corps. Mercy Corps. 2005-10-13. สืบค้นเมื่อ 2014-03-17.
- ↑ Dreaper, Jane (2014-09-10). "New money added to emergency response to Ebola outbreak". BBC News - Health. BBC, UK. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
- ↑ "The Challenge of Global Health". Foreign Affairs. 2007-01-01.
- ↑ 80.0 80.1 80.2 "Gates Foundation's Influence Criticized". N.Y. Times. 2008-02-16.
- ↑ 81.0 81.1 81.2 81.3 81.4 Piller, Charles; Smith, Doug (2007-12-16). "Unintended victims of Gates Foundation generosity". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ 82.0 82.1 Andy Beckett (2010-07-12). "Andy Beckett, Inside the Bill and Melinda Gates Foundation". The Guardian.
- ↑ "The Gates Foundation" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2016-04-18.
- ↑ Andrew Bowman (2012-04-01). "The flip side to Bill Gates' charity billions". New Internationalist.
- ↑ "Gates Foundation's agriculture aid a hard sell" (PDF). 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-19.
- ↑ Guest (October 2014). "Critics say Gates Foundation's agriculture program won't help poor farmers". Humanosphere. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ "Donor Contributions to the Global Polio Eradication Initiative, 1985-2008" (PDF). Polio Eradication Inititiative. 2006-05-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-06-24.
- ↑ "Gates Foundation, Norway Contribute $1 Billion to Increase Child Immunization in Developing Countries" (Press release). GAVI Alliance. 2005-01-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ Thomson, Iain (2005-01-25). "Bill Gates gives $750m to help African children". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-02. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ "Foundation Fact Sheet - Bill & Melinda Gates Foundation". Gates Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27.
- ↑ "Children's Vaccine Program Receives Grant From Bill & Melinda Gates Foundation to Combat Japanese Encephalitis" (Press release). Program for Appropriate Technology in Health. 2003-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ Sandi Doughton; Kristi Heim (2006-11-26). "Seattle moves to forefront in global fight to save lives". The Seattle Times. Local News. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
- ↑ "Gates gives $287m to HIV research". BBC News. 2006-07-20. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ Bill and Melinda Gates Foundation Announcement (2004-02-12). "Gates Foundation Commits $82.9 Million to Develop New Tuberculosis Vaccines". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-10. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Nightingale, Katherine (2007-09-19). "Gates foundation gives US$280 million to fight TB".
- ↑ "Negotiated prices for Xpert® MTB/RIF and FIND country list". FIND Diagnostics. FIND. October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Public-Private Partnership Announces Immediate 40 Percent Cost Reduction for Rapid TB Test" (PDF). World Health Organization. United Nations. 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Published evidence and commentary on the Xpert MTB/RIF assay" (PDF). Stop TB Partnership. World Health Organization. 2014-03-12. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "$5 m for disease control in Ethiopia". Israel21C. 2009-12-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "Institute for OneWorld Health receives multimillion dollar grant". EurekAlert!. AAAS and EurekAlert!. 2005-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "New Cure for Deadly Visceral Leishmaniasis (Kala-Azar) Approved by Government of India, Institute for OneWorld Health and Gland Pharma Limited Achieve Critical Paromomycin Milestone". Business Wire India. Business Wire India. 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Kyle Funk (September–October 2010). "Q & A: Institute for OneWorld Health" (PDF). Access Granted Rita. Landes Bioscience. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "TOPIC: Develop the Next Generation of Condom". Grand Challenges in Global Health. Grand Challenges in Global Health. March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Nick Lieber (2013-12-05). "Innovation: Next-Gen Condoms". Bloomberg Businessweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ "WHO roadmap inspires unprecedented support to defeat neglected tropical diseases". World Health Organization. WHO. 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Sarah Boseley (2012-01-30). "Drug companies join forces to combat deadliest tropical diseases". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Sarah Boseley (2014-04-04). "Bill Gates: world must step up fight against neglected tropical diseases". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ 108.0 108.1 Melinda Gates (2014-06-02). "Reflections on My Recent Travels". Bill & Melinda Gates Foundation. สืบค้นเมื่อ 2014-06-15.
- ↑ "Bill and Melinda Gates Foundation says it will no longer fund abortion". Breitbart. 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
- ↑ 110.0 110.1 "What We Do: Global Libraries Strategy Overview". Bill & Melinda Gates Foundation. 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23.
- ↑ 111.0 111.1 111.2 111.3 111.4 111.5 "Behind Grass-Roots School Advocacy, Bill Gates". The New York Times. 2011-05-21.
- ↑ 112.0 112.1 112.2 Parry, Marc; Field, Kelly; Supiano, Beckie (2014-07-13). "The Gates Effect". The Chronicle of Higher Education.
- ↑ Libby A. Nelson (2013-03-24). "Reimagining Financial Aid". Inside Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ Mangan, Katherine (2013-07-14). "How Gates Shapes State Higher-Education Policy". The Chronicle of Higher Education.
- ↑ 115.0 115.1 Ruark, Jennifer (2013-07-14). "To Shape the National Conversation, Gates and Lumina Support Journalism". The Chronicle of Higher Education.
- ↑ "Storytelling Matters: A Look at the Gates Foundation's Media Grantmaking". Bill & Melinda Gates Foundation. 2012-02-21. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ 117.0 117.1 Barkan, Joanne (Winter 2011). "Got Dough? How Billionaires Rule Our Schools". Dissent Magazine.
- ↑ Strauss, Valerie (2014-10-08). "An educator challenges the Gates Foundation". The Washington Post.
- ↑ "Stanford CREDO Study". Stanford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Strauss, Valerie (2013-09-24). "The bottom line on charter school studies". The Washington Post.
- ↑ Ravitch, Diane (2010). The Death and Life of the Great American School System. Basic Books.
- ↑ Kovacs, Philip E (2011). The Gates Foundation and the Future of U.S. "Public" Schools. Routledge.
- ↑ Strauss, Valerie (2014-04-21). "How Bill Gates and fellow billionaires can actually help public education,". Washington Post.
- ↑ Layton, Lyndsey (2014-06-07). "How Bill Gates pulled off the swift Common Core revolution". Washington Post.
- ↑ Walsh, Mark (2014-06-08). "The Washington Post's 'Tense' Talk With Bill Gates on Common Core". The Washington Post.
- ↑ Mott, Nathaniel; Sirota, David (2014-06-05). "REVEALED: Gates Foundation financed PBS education programming which promoted Microsoft's interests". PandoDaily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Piette, Betsey (2014-06-17). "For-profit tech corporations gain from Common Core testing". Workers World Party.
- ↑ 128.0 128.1 Ark, Tom Vander. "The Case for Smaller Schools". Educational Leadership. 59 (5): 55–59.
- ↑ "Cornell's new Gates Hall is not what it seems". Cornell Chronicle. January 2014.
- ↑ "University Unveils Plans for New Gates Center for Computer Science". CMU News Extra. 2006-04-21.
- ↑ "The Move". SCS Complex Information and Blog. 2009-09-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-19.
- ↑ "Bill Gates Gives $122M for D.C. Scholarships". Newsmax. 2007-03-23.
- ↑ "Gates Cambridge Scholarships". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ "The Gates Millennium Scholars Program". Gates Millennium Scholars Program.
- ↑ "Billionaires Start $60 Million Schools Effort". The New York Times. 2007-04-25.
- ↑ "Gates Foundation Announces Grant To Teaching Channel". 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-07.
- ↑ "Teaching Channel Community". Teaching Channel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
- ↑ "Educate Texas". Educate Texas.
- ↑ "University Scholars Program". มหาวิทยาลัยดุ๊ก. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
- ↑ "Gates Public Service Law - UW School of Law - Public Service". มหาวิทยาลัยวอชิงตัน. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
- ↑ "New Computer Science Complex at The University of Texas at Austin Receives $30 Million Challenge Grant from Bill & Melinda Gates Foundation". Computer Science Department The University of Texas at Austin. 2009-04-17.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Institute Hails $9.3 Million Grant from Gates Foundation". Discovery Institute.
- ↑ "Gates cheers on computer museum". BBC News. 2005-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ "Gates Foundation Announces That It Doesn't Plan to Operate Forever". philanthropy.com. 2006-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ 145.0 145.1 145.2 "About the Bill & Melinda Gates Foundation Trust". Gates Foundation. 2006-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-22.
- ↑ "Interview with Bill Gates September 21, 2013 (Video 33:52)". YouTube.
- ↑ 147.0 147.1 "Gates Foundation Announces That It Doesn't Plan to Operate Forever". The Chronicle of Philanthropy. 2006-11-29.
- ↑ "Gates foundation to spend all assets within 50 years of trustees' deaths". The Raw Story. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
- ↑ Sally Beatty (2006-12-01). "Gates Foundation Sets Its Lifespan". WSJ.
- ↑ "Bill and Melinda Gates Foundation". Prince of Asturias Foundation. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10.
- ↑ "Gates Foundation to get Indira Gandhi peace prize". The Indian Express.
- ↑ PTI. "Advani, Bachchan, Dilip Kumar get Padma Vibhushan". The Hindu.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- The Foundation Center: Top 100 US Foundations by asset size เก็บถาวร 2015-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gates Foundation ranked number one.
- New York Times Updated news on the Foundation.